โรคไขมันในเลือดสูง โรคร้ายที่เป็นได้ไม่ทันตั้งตัว ต้นเหตุของหลายโรคร้าย!

โรคไขมันในเลือดสูง แม้ไม่ได้ส่งผลอันตรายโดยตรงต่อร่างกาย แต่ก็ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน และโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมา ป้องกันเอาไว้ก่อน ดีกว่าแก้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือด ไขมันในเส้นเลือด ใครที่ชอบรับประทาน อาหารมัน อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ต้องมาทางนี้! เพราะภัยร้ายที่กำลังรอคุณอยู่ ก็คือ โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคนี้ ไม่ได้เป็นได้แค่เฉพาะคนอ้วนเท่านั้น อย่าเข้าใจผิดกันล่ะ เราไปทำความรู้จักกับเจ้า โรคไขมันในเลือดสูง กัน ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีดูแลตนเอง พร้อมป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร

 

ไขมันในเลือดสูง คืออะไร?

ไขมันในเลือดสูง ไขมันในเส้นเลือด เป็นสภาวะที่ร่างกายของเรา มีไขมันอยู่ในเลือดมากเกินกว่าปกติ  ไขมันที่สูงอาจเป็น คอเลสเตอรอล หรือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยใจ ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด และเส้นเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ชนิดของไขมันในเลือด

  • คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

ไขมันในเส้นเลือด เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่น อาหารมัน อาหารหวาน เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเล และอาหารที่มีรสเค็ม เป็นต้น โดยในผู้ป่วยบางราย อาจมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูง จากกรรมพันธุ์ ได้เช่นกัน 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

ไขมันไตรกลีเซอไรด์ อาจมีระดับที่สูงขึ้นจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น และอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ได้เช่นกัน

 

โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากอะไร?

สาเหตุของ โรคไขมันในเลือดสูง อาจมาจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พฤติกรรมการรับประทาน

การรับประทานอาหาร ที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว หรือ คาร์โบไฮเดรต ที่สูงเกิดไป เช่น อาหารทอด ชีส เนื้อ ขนม วิปครีม ไอศกรีม เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ไขมันสะสมในเส้นเลือด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ก็มีส่วนในการเกิด โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เช่น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่จัด ก็เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

  • อายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ก็มีโอกาสที่จะสูงขึ้นตามอายุไปด้วยเช่นกัน

  • กรรมพันธุ์

โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันในเส้นเลือด  สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ ในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดแข็ง หรือ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ ต่อให้ผู้ป่วยจะมีอายุยังไม่มากก็ตาม

  • โรคประจำตัว

การมีโรคประจำตัว หรือ ปัญหาสุขภาพ มีผลทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคไต เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยาบางชนิด ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

 

เกณฑ์การวินิจฉัยไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง ในระยะแรกจะไม่มีอาการแสดงออกมา การวินิจฉัยจึงใช้การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาไขมันในเลือด ซึ่งก่อนจะเข้ารับการเก็บตัวอย่างเลือด ผู้ตรวจต้องงดอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเกณฑ์มีดังนี้

ค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (DHL)
ระดับต่ำ น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
ระดับปกติ น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับใกล้เคียงปกติ 100-129 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 130-159 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงมาก มากกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าไตรกลีเซอไรด์
ระดับปกติ น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 150-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง 200-499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงมาก มากกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) 
ระดับปกติ น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูงเล็กน้อย 200-239 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับสูง มากกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

การรักษาไขมันในเลือดสูง

การรักษาไขมันในเลือด จะต้องทำเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลลง ซึ่งอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิต หรือ อาจต้องใช้ยาควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรม

การรักษาไขมันในเลือด ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาโรค เพราะปัจจัยหลัก ปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค คือ พฤติกรรมผิด ๆ ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยา ในการลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์สูง เช่น ของทอด เนื้อแดง อาหารแปรรูปต่าง ๆ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยผู้ป่วยควรขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อเป็นการปรับการรักษาร่วมกัน
  • เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงาน
  • ลดน้ำหนัก และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

 

2. การใช้ยา

แพทย์จะทำการจ่ายยา เพื่อช่วยในการลดระดับการผลิตคอเลสเตอรอล หากแพทย์ทำการสั่งจ่ายยา ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เป็นประจำอย่างเคร่งครัดตามคำสั่งของแพทย์ เพื่อรักษาระดับไขมัน ให้อยู่ในระดับปกติ การลดหรือปรับเปลี่ยนยา จำเป็นต้องรอแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันในเลือดสูง

ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง จะทำให้ไขมัน ไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือดแดง จนเกิดเป็นโรคหลอดเลือดแดงขึ้น ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดงได้น้อยลง และทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ดังนี้

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะหลอดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดดี ไปเลี้ยงร่างกาย ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอก และก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  2. หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เมื่อไขมันที่สะสมอยู่ เกิดการแตกออก เกิดเป็นลิ่มเลือดปิดกั้นการไหลเวียน นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  3. โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ จากการมีลิ่มเลือดไปอุดตันการไหลเวียนของเลือด ในสมอง

 

โรคไขมันในเลือดสูงป้องกันได้

เพียงแค่เราหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และใส่ใจการใช้ชีวิตมากขึ้น ก็สามารถหลีกเลี่ยงโอกาสการเป็น โรคไขมันในเลือดสูง ได้ ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยลดความเสี่ยงทั้งต่อโรค และต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรค โดยสามารถทำได้ ด้วยการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อย่างผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เป็นต้น พร้อมทั้งลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของมัน ของทอด และไขมันจากสัตว์ เป็นต้น

 

โรคไขมันในเลือดสูง อาจไม่ได้ส่งผลอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มีความอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น เราควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ในทุก ๆ ปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคต่าง ๆ นั่นเอง

 

ที่มาข้อมูล: vibharam.com www.pobpad.com

บทความที่น่าสนใจ :

โรคไทรอยด์ ใครว่าไทรอยด์ไม่น่ากลัว อันตรายกว่าที่คิด รู้ไว้ปลอดภัยกว่า

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?

อาการของโรคไต เป็นแบบไหน โรคไต สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอย่างไร?

บทความโดย

Waristha Chaithongdee