นมแม่เป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน แต่สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องการให้นมลูกเอง นมผงก็เป็นทางเลือกที่เข้ามาตอบโจทย์เรื่องโภชนาการของลูก ดังนั้นวิธีการเลือกนมผงและวิธีการชงนมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากชงไม่ถูกต้องก็อาจส่งผลเรื่องสุขภาพของลูกได้เช่นกันค่ะ ฉะนั้น วิธีชงนมที่ถูกต้อง ใส่นมหรือน้ำก่อน กันแน่? ความถูกต้องและวิธีการนั้นจึงสำคัญมาก บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจวิธีการเลือกนมผงและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการชงนมที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะได้รับนมที่มีคุณภาพและปลอดภัย
นมผง เลือกยังไงดี ?
ข้อควรคำนึงถึงการเลือกนมผงให้เหมาะกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาดังนี้
- เลือกสูตรนมให้ตรงกับอายุวัยของลูกน้อย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย โดยทั่วไปนมผงที่วางขายตามท้องตลาดจะระบุสูตรนมในแต่ละช่วงวัยของเด็กไว้ดังนี้
- สูตร 1 สำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ
- สูตร 2 สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 3 ขวบ
- สูตร 3 สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป และทุกคนในครอบครัว
- เลือกนมผงให้เหมาะกับลูกน้อย เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน เช่น หากลูกน้อยมีปัญหาท้องผูก ควรเลือกนมผงที่มีโปรตีนย่อยง่าย หรือถ้ามีอาการท้องอืดบ่อยๆ อาจลองเปลี่ยนเป็นนมสูตรไม่มีแลคโตส นอกจากนี้ หากสงสัยว่าลูกน้อยแพ้นมวัวหรือนมถั่วเหลือง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกนมสูตรพิเศษที่เหมาะสมค่ะ
- เลือกจากสารอาหาร นอกจากสารอาหารพื้นฐาน อย่างเช่น DHA โปรตีน ไขมัน แล้ว คุณแม่ยังสามารถเลือกนมผงที่มีการเพิ่มเติมสารอาหารชนิดอื่นๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรอ่านฉลากข้างกล่องอย่างละเอียด และหลีกเลี่ยงนมผงที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง เช่น ซูโครส ฟรุกโตส หรือกลูโคส เนื่องจากน้ำตาลเหล่านี้หากได้รับในปริมาณมาก อาจทำให้ลูกน้อยติดหวาน เสี่ยงต่อปัญหาฟันผุ และอาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนในเด็กได้
วิธีชงนมที่ถูกต้อง ใส่นมหรือน้ำก่อน ?
คำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามนี้คือ ต้องใส่น้ำก่อนแล้วค่อยใส่นมผงตาม สาเหตุเพราะ
- ปริมาณนมที่ได้ เวลาชงนมให้ลูกน้อย ควรใส่น้ำลงไปในขวดก่อน แล้วค่อยใส่นมผงตามนะคะ เพราะถ้าใส่นมผงลงไปก่อน นมผงจะเหมือนฟองน้ำ ดูดซับน้ำ ทำให้นมข้นเกินไป ลูกน้อยจะย่อยยากและอาจท้องผูกได้ค่ะ แต่ถ้าใส่น้ำก่อน นมผงจะละลายผสมกับน้ำได้ดี ปริมาณน้ำนมที่ได้จะได้สัดส่วนที่เหมาะสมมีความเข้มข้นพอดี และสารอาหารครบถ้วนค่ะ
- การละลายของนมผง เมื่อใส่น้ำลงไปในภาชนะหรือขวดนมก่อนแล้วค่อยใส่นมผงตามลงไป นมผงจะค่อยๆ ละลายและกระจายตัวในน้ำได้ดีขึ้น ทำให้ได้นมที่มีความเข้มข้นสม่ำเสมอ และลดโอกาสที่นมผงจะจับตัวเป็นก้อน
- ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน หากใส่นมผงก่อน แล้วค่อยใส่น้ำตามลงไป นมผงอาจจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย นมผงอาจจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณก้นขวด อาจทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนเพราะไม่นมผงละลายไม่หมด
- ง่ายต่อการทำความสะอาดขวดนม การที่นมผงละลายไม่หมด จะมีคราบนมผงที่ตกค้างอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราได้ การทำความสะอาดขวดนมให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา
ทำไมวิธีการชงนมถึงสำคัญ ?
วิธีการชงนมที่ถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อปริมาณสารอาหารที่ลูกน้อยได้รับ การละลายของนมผง และความสะอาดของนม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อย ดังนั้นหากคุณแม่ทราบ วิธีชงนมที่ถูกต้อง ใส่นมหรือน้ำก่อน การทำความเข้าใจในขั้นตอนการชงนมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ
เทคนิค ขั้นตอนการชงนมที่ถูกต้อง ป้องกันลูกไม่สบายท้องได้
เพราะ วิธีชงนมที่ถูกต้อง ใส่นมหรือน้ำก่อน ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน ยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย ได้อีกด้วย
- ล้างมือให้สะอาด ก่อนเริ่มชงนมทุกครั้ง ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อน
- เตรียมอุปกรณ์ เตรียมขวดนมที่สะอาดและฆ่าเชื้อ ที่ตากทิ้งไว้จนแห้งแล้วให้พร้อม
- เตรียมต้มน้ำสุก นำน้ำสะอาดไปต้มให้เดือดจัด จากนั้นปล่อยให้เย็นลงจนอุ่นพอดีที่อุณหภูมิห้อง หรือหากจะใช้น้ำร้อนชงควรผสมกับน้ำต้มสุก ในอัตรา 1:3 (น้ำร้อน 1 ส่วน น้ำต้มสุก 3 ส่วน) ไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมให้ลูก เพราะความร้อนสูงจะไปทำลายสารอาหารในนมผงค่ะ
- ใส่น้ำลงในขวดนม ใส่น้ำที่เตรียมไว้ลงในขวดนมตามปริมาณที่สัดส่วนข้างกล่องนมระบุไว้
- ใส่นมผง ตวงนมผงตามปริมาณที่ระบุไว้ข้างกล่องนมลงไปในขวดนมที่เตรียมไว้
- ปิดฝาและเขย่า ปิดฝาขวดนมให้สนิทแล้วเขย่าเบาๆ หรือแกว่งขวดนมไปทางซ้ายและขวาจนกว่านมผงจะละลายหมด
- ตรวจสอบอุณหภูมิ ให้หยดนมเล็กน้อยลงบนข้อมือเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิ หากอุ่นพอดีก็สามารถให้นมลูกน้อยได้
- หากนมมีฟองมาก ให้ตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนให้ลูกกิน เพราะหากป้อนขณะมีฟอง ลูกจะดูดฟองนี้เข้าไปทำให้ท้องอืดได้
- ไล่ลมให้ลูกหลังมื้อนม ทุกครั้งที่ให้ลูกกินนม ควรไล่ลมหรือจับลูกให้เรอ จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดค่ะ
นมผงที่ชงแล้ว อยู่ได้นานไหม ?
เมื่อนมผงถูกชงเรียบร้อยแล้วจะเสียง่าย ดังนั้นจึงควรรู้ถึงการเก็บนมผงที่ชงแล้วด้วย
- นมผงที่ชงและกินแล้ว นมที่ให้ลูกได้กินแล้ว ควรให้ลูกกินให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง หากเกินจากนั้นควรทิ้งและชงนมใหม่
- นมผงที่ชงแล้วแต่ยังไม่ได้กินทันที หากชงนมแล้วยังไม่กินทันที ให้นำไปแช่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส ไม่แนะนำให้แช่นมในช่องแช่แข็งเพราะอาจทำให้คุณภาพของนมลดลงได้ และไม่ควรเก็บนมที่ชงแล้วเกิน 24 ชั่วโมง
- นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและไม่ได้นำไปแช่เย็น นมชงอาจอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ดังนั้นหากวางทิ้งเกิน 2 ชั่วโมง ไม่ควรนำมาให้ลูกกินค่ะ
ข้อควรระวังในการชงนม
- อย่าชงนมทิ้งไว้ นมที่ชงแล้วควรให้นมลูกน้อยดื่มทันที หากเหลือควรทิ้งไป ไม่ควรเก็บไว้
- อย่าเจือจางนม การเจือจางนมจะทำให้นมขาดสารอาหาร
- อย่าใช้น้ำร้อนชงนม เพราะการใช้น้ำร้อนชงนมจะไปทำลายสารอาหารบางอย่างในนม เช่น โปรตีนและวิตามินอย่างวิตามินซี ที่จะไม่ทนความร้อน
- ไม่ควรเปลี่ยนนมผงบ่อยครั้ง การเปลี่ยนสูตรนมหรือยี่ห้อนมที่ให้ลูกกินบ่อยๆ อาจส่งผลทำให้ลูกน้อยท้องผูกหรือท้องเสียได้ ดังนั้นหากลูกกินนมได้ปกติ มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ก็ควรให้ลูกกินต่อเนื่องได้เลยค่ะ
- ไม่ควรเขย่าขวดนมแรง การเขย่าขวดนมแรงๆ ทำให้เกิดฟองอากาศจำนวนมากอยู่ในนม เมื่อลูกน้อยกินนมเข้าไป ก็จะดูดอากาศเหล่านั้นเข้าไปในท้องด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้องได้ค่ะ
- ไม่ควรใช้ขวดนมที่ยังแห้งไม่สนิทมาชงนม เพราะอาจทำให้ลูกน้อยไม่สบาย ป่วยจากการกินนมที่ไม่สะอาดได้
- เลือกขวดนมที่ระบุว่าไม่มีสาร BPA แม้ว่าการชงนมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องจะไม่ต้องกังวลเรื่องขวดนม แต่ความจริงแล้ว วัสดุที่ใช้ทำขวดนมสามารถปล่อยสารเคมีออกมาปนเปื้อนในนมได้เสมอ เพื่อความปลอดภัย วัสดุที่ใช้ผลิตขวดนมจะต้องผ่านการรับรองว่าปลอดภัยต่อการสัมผัสกับอาหารค่ะ
- สังเกตอาการแพ้ หากลูกน้อยมีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ท้องอืด ท้องเสีย ควรหยุดให้นมชนิดนั้นทันทีและปรึกษาแพทย์
จะรู้ได้อย่างไรว่านมที่ชงแล้วเสียหรือยัง ?
การสังเกตว่านมที่ชงแล้วเสียหรือยังนั้นสำคัญมาก หากเผลอให้ลูกได้กินเข้าไป มีความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกน้อยป่วยได้ ซึ่งมีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ
- กลิ่น นมที่เสียจะมีกลิ่นเปรี้ยวหรือผิดปกติ ไม่หอมเหมือนนมสดใหม่
- รสชาติ เมื่อชิมจะรู้สึกว่ามีรสเปรี้ยวหรือขม
- ลักษณะ นมอาจมีลักษณะข้นเหนียวผิดปกติ หรือมีก้อนจับตัว
- สี น้ำนมอาจเปลี่ยนสีจากสีขาวขุ่นเป็นสีเหลืองหรือสีอื่นๆ
วิธีป้องกันนมไม่ให้เสีย
- ชงนมในปริมาณที่เหมาะสม ชงนมแต่ละครั้งให้พอดีกับปริมาณที่ลูกน้อยกินในแต่ละมื้อ เพื่อป้องกันการเหลือทิ้ง เพราะไม่สามารถเก็บไว้กินในมื้อถัดไปได้ นมที่ชงแล้วทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย ส่งผลให้นมเสีย และอาจทำให้ลูกน้อยป่วยได้
- เก็บขวดนมให้สะอาด หลังจากให้นมลูกน้อยเสร็จแล้ว ควรล้างขวดนม จุกนม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการชงนมด้วยน้ำร้อนและสบู่ทันที ขวดนมที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งอาจปนเปื้อนลงไปในนมและทำให้ลูกน้อยป่วยได้
- เก็บนมผงในที่แห้งและเย็น ก่อนซื้อควรตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุของนมผง หลังจากเปิดถุงใช้งานแล้ว ควรปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน เก็บนมผงในที่แห้ง ไม่มีความชื้น และอย่าเก็บนมผงไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง
วิธีการเปลี่ยนนมที่ถูกต้อง
การเปลี่ยนนมสำหรับลูกน้อยเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนกังวลพอๆ กับวิธีการชงนมเลยค่ะ เพราะกลัวว่าลูกจะท้องผูกหรือป่วย แต่จริงๆ แล้วการเปลี่ยนนมอาจทำให้ลูกมีอาการปรับตัวเล็กน้อย เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียได้บ้าง เพื่อให้ ลูกค่อย ๆ ปรับตัวกับการย่อยและรสชาติใหม่ เรามีวิธีการเปลี่ยนนมที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
- วันที่ 1-3 ใช้นมใหม่ แทน นมเดิม 1-2 ช้อน
- วันที่ 4-6 ใช้นมใหม่ แทน นมเดิม 2-3 ช้อน
- วันที่ 7-9 ใช้นมใหม่ แทน นมเดิม 3-4 ช้อน
แต่ถ้าอัตราส่วนการชงนมสูตรใหม่และเก่าไม่เท่ากัน แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนเป็นการสลับขวดนมให้ลูกกิน โดยใช้สัดส่วนในการชงตามที่ข้างกล่องระบุไว้ และใช้วิธีการชงนมเหมือนเดิม เช่น
- วันที่ 1-3 ใช้นมใหม่ 1 ขวด แทน นมเดิมในทุกวัน (ลดจำนวนขวดเก่าลง)
- วันที่ 4-6 ใช้นมใหม่ 2 ขวด แทน นมเดิมในทุกวัน (ลดจำนวนขวดเก่าลง)
- วันที่ 7-9 ใช้นมใหม่ 3 ขวด แทน นมเดิมในทุกวัน (ลดจำนวนขวดเก่าลง)
ให้คุณแม่ทำเช่นนี้ จนลูกทานนมใหม่ได้ทั้งหมดค่ะ
การเลือกนมผงและวิธีชงที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแพ้อาหาร การขับถ่าย หรือการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่านมผงจะมีสารอาหารครบถ้วน แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับคุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ ดังนั้น การให้นมแม่ควบคู่ไปกับนมผงจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยค่ะ
ที่มา : BAEBA
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
กินนมแล้วท้องเสีย อย่าปล่อยไว้นาน อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการลูกน้อย
ลูกไม่ยอมกินนมผง ทำไงดี? 6 วิธีทำให้ลูกยอมกินนมผง
นมผงเด็กแรกเกิด มีสูตรอะไรบ้าง เลือกยังไง ? ให้ลูกน้อยแข็งแรง