ลูก 1 เดือน ก็เล่นด้วยได้แล้วนะ วิธีเล่นกับลูกวัย 1 เดือน เล่นแบบไหนได้บ้าง

มาเล่นกันเถอะ มาเล่นกันเถอะ พักเดี๋ยวนึงสิคร๊าบบบบบบบบ! ลูก 1 เดือนก็เล่นด้วยได้แล้วนะ วิธีเล่นกับลูกวัย 1 เดือนมาเล่นกับลูกกันเถอะ เล่นง่าย ๆ ได้โดยไม่ต้องมีของเล่นด้วยซ้ำ แถมยังกระตุ้นพัฒนาการของลูกอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหม ว่าแม้ลูกจะอายุแค่เพียง 1 เดือน แต่เราก็สามารถเล่นกับลูก ๆ ได้แล้วนะ วันนี้ theAsianparent Thailand จะชวนคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับวิธีเล่นกับลูก ๆ อายุ 1 เดือนอย่างเหมาะสม เล่นกับลูกอย่างไร ให้ปลอดภัย และดีต่อพัฒนาการเด็ก ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันค่ะ

 

เล่นกับลูกอายุ 1 เดือน ยังไงดี

เด็กเล็กส่วนใหญ่ มีนิสัยขี้เล่น และชอบให้คนมาเล่นด้วย แม้ว่าเขาจะอายุเพียงแค่ 1 เดือน และยังปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ไม่เก่งนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถกระตุ้นเด็กด้วยเสียงและการเคลื่อนไหวได้ ในช่วงนี้ เด็ก ๆ อาจจะยังมองเห็นอะไรไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ แต่เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป เขาก็จะค่อย ๆ มองเห็นและจำหน้าพ่อแม่ได้ ทารกในวัยนี้จึงสนใจใบหน้าของพ่อและแม่มากที่สุด เพราะเป็นสิ่งแรกที่เขาเห็น

 

หลังจากที่เจ้าตัวน้อยเรียนรู้ที่จะจดจำเสียง หน้า และสัมผัสของคุณพ่อคุณแม่แล้ว เขาก็จะเริ่มมีการตอบสนองที่มากขึ้น เด็กในวัยนี้ มักตื่นตาตื่นใจ และสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ได้ยินเสียงนิด ๆ หน่อย ๆ ก็มักจะมองตาม หากลูก ๆ อายุได้เพียง 1 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่อยากเล่น อยากหยอกล้อกับลูก อาจทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้ค่ะ

 

1. พูดคุยกับลูก

วิธีนี้ จะช่วยกระตุ้นเด็ก ๆ ให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงมากขึ้น ให้คุณแม่ลองสังเกตลูกดู ว่าเมื่อตัวเองพูดในโทนเสียงที่ต่างกันลูกจะมีปฏิกิริยายังไงบ้าง ทั้งนี้ การพูดกับลูกบ่อย ๆ จะช่วยทำให้ลูกจำเสียงของเราได้ดียิ่งขึ้นด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. แสดงสีหน้าต่าง ๆ ขณะที่พูดกับลูก

ในช่วง 1-2 เดือนแรกคลอด เด็ก ๆ จะเริ่มมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการแสดงออกทางสีหน้า และท่าทาง และพูดเสียงอ้อแอ้ ดังนั้น แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยและแสดงสีหน้ากับน้อง ๆ บ่อย ๆ เพราะเด็ก ๆ จะจ้องสีหน้าและฟังเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ จนเมื่อเขาอายุได้ 2 เดือน เขาก็จะเริ่มยิ้มตอบ ซึ่งพอเริ่มเข้าเดือนที่ 3 หรือเดือนที่ 4 เด็กทารกส่วนใหญ่ จะสามารถส่งเสียงร้องเมื่อดีใจ หรือหัวเราะเมื่อมีความสุขได้แล้ว

 

3. ชวนลูกกำและแบมือ

ลองให้เด็ก ๆ ถือของเล่นที่ไม่เป็นอันตรายสักชิ้น เพื่อที่เขาจะได้หัดกำและแบมือ โดยอาจจะใช้ของเล่นที่มีเสียงด้วยก็ได้ เพื่อให้เด็กได้หัดสังเกต ว่าตัวเขาเองเป็นคนที่ทำให้เกิดเสียงกรุ๊งกริ๊งนั้นขึ้น

 

4. เล่นกับมือและนิ้วของลูก

เด็กวัยนี้จะเริ่มสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยการจับและสัมผัส ดังนั้น จึงไม่แปลกหากลูก ๆ จะชอบหยิบจับอะไรเข้าปาก เพราะเขากำลังเรียนรู้ว่าสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวมีอะไรบ้างนั่นเอง คุณแม่อาจจะลองให้เด็ก ๆ จับนิ้วมือของตัวเอง หรือจะลองให้เด็กจับของเล่น เพื่อให้เด็กได้สำรวจรูปร่าง ขนาด และสีของเล่นก็ได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ คุณแม่ก็อย่าลืมทำความสะอาดของเล่นที่จะให้เด็ก ๆ เล่นนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : เด็กพลังเยอะ เคยสงสัยกันไหม ทำไมเด็กๆ ถึงเล่นได้ทั้งวันไม่รู้จักเหนื่อย

 

ลูก 1 เดือนก็เล่นด้วยได้แล้วนะ วิธีเล่นกับลูกวัย 1 เดือนมาเล่นกับลูกกันเถอะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. อ่านนิทานให้ลูกฟัง

ถ้าไม่รู้ว่าจะคุยอะไรกับลูกดี หรือไม่รู้จะชวนลูกทำอะไรดี ให้ลองอ่านนิทานให้เขาฟังได้ค่ะ เพราะเด็ก ๆ วัยนี้เริ่มเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้แล้ว แม้ว่าเขาจะยังสื่อสารเป็นคำ ๆ ไม่ได้ แต่สมองของเขาก็เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

 

6. พาเจ้าตัวเล็กออกกำลังกาย

ใครว่าเด็กแรกเกิดออกกำลังกายไม่เป็นกันล่ะ คุณแม่สามารถชวนน้อง ๆ ออกกำลังกายได้ด้วยการให้เด็กพยายามเอื้อมจับสิ่งของต่าง ๆ อาจจะเป็นนิ้วมือของคุณแม่ หรือของเล่นบางชิ้นก็ได้ นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถจับขาของลูกขึ้นมา เพื่อทำท่าปั่นจักรยานได้ด้วยเหมือนกัน

 

7. จับลูกปรบมือ

วิธีนี้ ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดียิ่งขึ้น ให้คุณแม่ประคองมือเด็ก ๆ ขึ้นแล้วประกบเข้าออกเป็นจังหวะ ทำไปเรื่อย ๆ หรือจะจับมือของเด็กโยกไปโยกมาด้วยก็ได้ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุก

 

เล่นกับเด็ก1 เดือน ลองพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ให้เขาจำเสียงเราได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. จับลูกนอนคว่ำ

หลังจากที่ลูกเพิ่งตื่นนอน ให้ลองจับลูกนอนคว่ำบ้าง เพื่อให้ลูกได้ออกกำลังบริเวณคอและไหล่ จะช่วยทำให้คอเด็กแข็งเร็วขึ้น แต่อย่าเพิ่งให้ลูกนอนคว่ำ เด็กในวัยนี้จะปลอดภัยที่สุดในท่านอนหงายค่ะ

 

9. สอนให้ลูกมองตาม

ลองใช้ของเล่นที่ลูกชอบ แกว่งไปมา หรือใช้มือของคุณพ่อคุณแม่ เคลื่อนไหวไปตามทิศทางต่าง ๆ ให้ลูกมองตาม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งได้นานยิ่งขึ้น

 

ข้อควรระวังเมื่อต้องเล่นกับลูก

แม้ว่าเราจะเริ่มเล่นกับลูก ๆ ได้แล้ว แต่ก็ไม่ควรเล่นกับเขามากจนเกินไป เนื่องจากเด็กอาจรู้สึกเหนื่อยและงอแงได้ หากมีกิจกรรมไหน ที่คุณแม่รู้สึกว่ายังไม่ได้ผล หรือกระตุ้นเด็กได้ไม่ดีพอ สามารถเข้าปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำได้ทุกเมื่อ และหากรู้สึกว่าลูกมีพัฒนาการช้า ไม่รับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งที่พ่อแม่ทำ ควรนำลูกไปตรวจเช็คร่างกายกับคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

 

ที่มา : kidshealth , parents

บทความที่น่าสนใจ :
เล่นกับลูกอย่างไร เพื่อให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
พ่อแม่มือใหม่ควรอ่าน!! ฟลอร์ไทม์คืออะไร เล่นกับลูกด้วยวิธีนี้ดียังไง ช่วยอะไรลูกได้?
อ่านเถอะ! หากรู้สึกเบื่อที่จะเล่นกับลูก