เตรียมความพร้อม รับมือเมื่อ น้ำท่วม ควรทำอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด หากลูกจมน้ำขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร ? วันนี้เรามีเคล็ดลับ การเอาตัวรอดเมื่อเกิดน้ำท่วม หรือน้ำป่าไหลหลากมาฝาก ไปดูกันเลย
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนน้ำมา
หากคุณทราบว่าพื้นที่ของคุณ หรือบริเวณใกล้เคียงของคุณ กำลังเกิดเหตุน้ำท่วม หรือมีรายงานว่า เริ่มมีน้ำท่วมเข้ามาบ้างแล้ว ให้คุณเตรียมตัวไว้ทันที ดังนี้
- ตรวจสอบข้อมูลเรื่องน้ำท่วมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อม
- วางแผน และตรวจสอบสถานที่ สำหรับการอพยพ
- เตรียมอุปกรณ์สื่อสาร แบตเตอรี่สำรอง ไฟฉายพร้อมถ่าน
- จัดหาวัสดุสำหรับการอุดปิด ป้องกันบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน ให้พร้อม
- ขนย้าย หรือนำยานพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ ที่น้ำไม่สามารถท่วมถึงได้
- ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงทันที หากเป็นของใช้ที่มีขนาดใหญ่ ควรหาอิฐ หรือไม้หนุนให้สูงจากพื้น
- บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อฉุกเฉิน
- เตรียมถุงยางชีพให้พร้อม บรรจุของใช้ที่จำเป็นพร้อมสะเบียงอาหาร ยาประจำตัว ควรเตรียมไปเผื่อไว้สำหรับ 3 วัน ในกรณีที่ต้องอพยพจากพื้นที่เดิม
- เก็บของมีค่าในที่ที่ปลอดภัย ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- ให้คำแนะนำแก่คนในครอบครัว ลูกหลาน เช่น ไม่แตะเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากอาจทำให้เกิดการช็อต หรือไฟฟ้ารัดวงจรได้ และแจ้งสถานที่ที่ต้องการนัดพบ เมื่อเกิดการพลัดหลงกัน
ข้อควรปฏิบัติเมื่อน้ำท่วม
หากอยู่ในบ้าน
- ติดตามข่าวสาร คำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช็คข่าวสาร
- ทำร่างกายให้อุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองเจ็บป่วย
- ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท ตัดระบบไฟฟ้าทุกอย่าง ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้านทันที และห้ามสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้
- ระวังเชื้อโรคที่มากับน้ำ สัตว์มีพิษ ไม่ควรลงไปเล่นน้ำเมื่อน้ำท่วม เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อโรคที่มากับน้ำได้ และยังมีสัตว์ดุร้าย มีพิษอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น งู ตะขาบ แมงป่อง อย่างเปิดประตูหน้าต่าง เพราะสัตว์พวกนี้จะเข้ามา
- เดินอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีเศษวัสดุที่ลอยมากับน้ำ
- ห้ามกินทุกอย่างที่สัมผัสกับน้ำเด็ดขาด เพราะอาจติดเชื้อได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกว่ายน้ำได้ตอนไหน? มาดูกันเถอะว่าจะพาลูกไปว่ายน้ำเสริมทักษะได้ตอนไหน?
หากอยู่นอกบ้าน
- ห้ามเดินทางไปเส้นทางที่มีน้ำท่วม หรือน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากกระแสน้ำแรง อาจพัดไปได้ หากจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ใช้ไม้จุ่ม เพื่อวัดระดับของน้ำก่อนทุกครั้ง
- ห้ามขับรถไปในพื้นที่เกิดน้ำท่วม เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ที่จะจมน้ำ นอกจากทำให้รถเสียหายแล้ว อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า เนื่องจากตามจุดพวกนี้ อาจมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ทำให้เกิดไฟดูดได้
หากสถานการณ์น้ำท่วมดีขึ้นควรทำอย่างไร ?
- เดินสำรวจบริเวณตัวบ้าน และรอบบ้าน เช็กสายไฟฟ้า ถังแก๊ส หากเกิดการรั่วไหล ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
- ตรวจสอบความเสียหายของบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
- พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สร้างความอบอุ่น และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะครอบครัวเป็นยาที่ช่วยเยียวยารักษาได้ดี
- พูดคุยเกี่ยวกับปัญหา เพื่อน ครอบครัว เพื่อเป็นที่ระบาย และช่วยผ่อนคลายได้ดี
- ดูแลเด็ก ๆ ให้ดี และเอาใจใส่เด็ก เนื่องจากเด็กก็จะมีความกลัวไม่แพ้กัน อย่าดุด่า หรือต่อว่า หากเด็กทำพฤติกรรมแปลก ๆ หลังจากน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป่ง เกาะติดผู้ใหญ่ตลอดเวลา ดูดนิ้ว เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่หวาดกลัว และเด็กเพิ่งเคยเจอเหตุการณ์รุนแรงเป็นครั้งแรก
- ระวังเรื่องสุขอนามัย และโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า แมลงสัตว์กัดต่อย หรือท้องร่วง
เบอร์โทรฉุกเฉินเมื่อน้ำท่วม
- ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โทร 1784
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หรือ 0-2591-9769
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 0-2398-9830
วิธีป้องกันลูกจมน้ำ จากเหตุการณ์น้ำท่วม
คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบาย หรือบอกลูก ดังนี้
- ไม่ลงไปเล่นน้ำ บริเวณที่มีน้ำขัง หรือแม้แต่ในกะละมัง เนื่องจากจะมีเชื้อโรคทำให้ป่วยแล้ว อาจจมน้ำและเสียชีวิตได้
- ดูแลเด็ก ๆ อย่าใกล้ชิด เฝ้าระวังความพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ติดป้าย หรือสัญลักษณ์ให้ชัดเจน
- สำรวจและเฝ้าระวังพื้นที่บริเวณบ้านรอบบ้าน
- คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะไม่ได้สติ
- และหากผู้ปกครองคนไหนทำอาชีพทางน้ำ หากปลา ควรเตรียมความพร้อมของร่างกาย ดังนี้
- ไม่เดินทางไปคนเดียว
- ไม่ไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
- เตรียมอุปกรณ์ลอยน้ำได้ติดตัวไปด้วย
- ตื่นตัวตลอดเวลา เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ
- ไม่ควรลงเล่นน้ำที่เชี่ยว
- หากพาเด็กไปด้วย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำ หรือปล่อยให้เด็กหาปลากันเองตามลำพัง
- พกยาจำเป็น หรือยาประจำตัวติดตัวไว้ด้วยเสมอ
หากเด็กจมน้ำควรทำอย่างไร ?
- ตั้งสติ หลีกเลี่ยงการลงน้ำไปช่วย
- หาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อยึดเหนี่ยวในการช่วยเหลือ และควรใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
- หากไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ ควรคำนึงว่า สามารถลงไปช่วยเหลือได้ตัวเองหรือไม่ หากไม่ได้ต้องรีบร้องขอความช่วยเหลือ
- หากต้องลงไปช่วย ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับการช่วยลงไปด้วย
- เมื่อช่วยขึ้นมาได้แล้ว ห้ามจับคนจมน้ำพาดบ่าเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้
- ตะโกนขอความช่วยเหลือ และวางคนที่จมน้ำนอนราบ ตะแคงหน้าเอาน้ำออกจากปาก ช่วยให้หายใจโดยวิธีการผายปอด เป่าลมเข้าทางปากติดต่อกันหลายครั้ง และถ้าหัวใจหยุดเต้นกดหน้าอกทันที
- กดบริเวณหน้าอกประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว 100 ครั้ง/นาที กด 30 ครั้ง/รอบ สลับกับการเป่าปากให้ครบ 5 รอบ
- แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรแจ้ง 1669 ทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง : ประสบการณ์ลูกจมน้ำ วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ แบบไหนที่ห้ามทำเด็ดขาด
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
หน้าฝน น้ำท่วม น้ำขัง ต้องระวัง! 3 โรคร้ายทำร้ายลูก
ให้ลูก เรียนว่ายน้ำ ที่ไหนดี รวมโรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก ราคาไม่แพง
เด็กจมน้ำ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้จมน้ำ และขั้นตอนการช่วยเหลือ
ที่มา : sites.google.com , thiancd.com