ทำไมให้นมลูก แล้วมัก เจ็บหัวนม อาการเจ็บหัวนม เกิดจากสาเหตุอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณหมอ Christina J. Valentine แห่งโรงพยาบาลโคลัมบัส ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า “ทำไมให้นมลูก แล้วมัก เจ็บหัวนม อาการนี้รักษาได้” อาการเจ็บนมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นตอนเริ่มให้นมลูก คุณแม่บางคนอาจมีอาการเจ็บหัวนมไปตลอดระยะเวลาของการให้นมลูก คุณหมอ Jack Newman ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านจากคลินิกให้นมแม่คลีแมนกล่าวเสริมว่า “อย่ารอให้มีอาการเป็นเดือนก่อนแล้วค่อยมาหาหมอ ยิ่งรีบมาเร็วเท่าไร อาการก็จะทุเลาเร็วเท่านั้น”

 

5 สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คุณแม่เจ็บหัวนม

ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บที่หัวนมขณะที่ให้นมลูก เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งเราจะยกปัจจัยหลักที่พบได้บ่อยทั้ง 5 ข้อ ได้แก่ ให้น้ำนมผิดท่า, ลิ้นติด, โรคเชื้อรา, การตีบตัวของหัวนม และสัญญาณการตั้งครรภ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

1.ให้น้ำนมผิดท่า

สาเหตุหลัก ๆ ของความสงสัยว่า ทำไมให้นมลูก แล้วมัก เจ็บหัวนม ตอนให้นมลูกนั้นส่วนมากจะมาจากการให้น้ำนมผิดท่า ซึ่งตอนที่คุณแม่ให้นมลูกนั้น คุณแม่ควรอุ้มลูกให้หัวของลูกอยู่ในระดับเดียวกับหน้าอกของคุณแม่ เพราะหากลูกน้อยอยู่ในท่าที่หัวอยู่ต่ำกว่าหน้าอก ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมจากการที่ลูกต้องดูดหัวนมแล้วดึงลงมาด้านล่างนั่นเอง

คุณแม่สามารถหาหมอนมาหนุนรองเพื่อให้ลูกอยู่ในระดับที่สามารถดูดนมได้ถนัด อีกทั้งคุณแม่ยังสามารถใช้นิ้วกดคางของลูกลงมาเบา ๆ เพื่อที่จะให้เค้าอ้าปากดูดนมได้กว้างขึ้นและควรให้ลูกงับถึงลานนม เพราะนอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

 

2.ลิ้นติด

เด็กที่มีปัญหาลิ้นติดจะมีปัญหาในการดูดนม เช่นดูดนมได้ไม่ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด จนเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมหรืออาจทำให้หัวนมเป็นแผลได้

ลิ้นติดเป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวอย่างปกติของลิ้นที่เคยเคลื่อนโดยอิสระถูกจำกัด สาเหตุจากการมีพังผืดใต้ลิ้น และเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากที่หนา และรัดแน่นผิดปกติ คุณแม่สามารถสังเกตง่าย ๆ ว่าลูกมีอาการลิ้นติดหรือไม่โดยอาจลองเอานิ้วสอดไปบริเวณใต้ลิ้นดูว่ามีพังผืดติดหรือไม่ หรือดูลักษณะของปลายลิ้น หากปลายลิ้นเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกจะมีอาการลิ้นติด หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการลิ้นติดหรือสงสัยว่าจะมีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และทำการรักษาอย่างถูกวิธีครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลิ้นติด สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยมีปัญหากับการดูดนมจากเต้า

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

3.โรคเชื้อรา

โรคเชื้อราอาจเกิดขึ้นบริเวณหัวนมหรือในเต้านมจากการติดเชื้อ candidiasis เนื่องจากเชื้อสามารถเจริญเติบโตในน้ำนม โดยปกติเชื้อนี้สามารถพบได้ในร่างกายคนปกติโดยจะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายโดยแบคทีเรียตามธรรมชาติที่อยู่ในร่างกาย  แต่ถ้าความสมดุลของแบคทีเรียตามธรรมชาติเปลี่ยนไปcandida สามารถเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเชื้อราอาจเป็นเพราะผิวหนังมีความชื้นมากไป หรือหัวนมปวดหรือแตก ระหว่างนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการถูสบู่บริเวณหัวนมที่ติดเชื้อรา และควรเช็ดให้แห่งหรือใช้ไดร์เป่าผมเป่าลมเย็นโดยถือไดร์ให้ห่างจากหน้าอกประมาณ 10 นิ้ว เพื่อให้บริเวณหัวนมนั้นแห้ง และไม่อับชื้นก่อนจะใส่เสื้อใน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4.การตีบตัวของหัวนม

การตีบตัว (Vasospasm) ของหัวนม มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดบริเวณลานนมหดตัว และขยายตัวอย่างรุนแรง โดยคุณแม่จะมีอาการเจ็บปวดมาก บางครั้งหัวนมจะมีสีซีดลงหลังจากการให้นม มีอาการแสบร้อนหัวนม มักเกิดหลังการให้นมลูกหรือหลังปั๊มนม โดยปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ถ้าเป็นแล้วควรรักษาอย่างถูกวิธี ระวังอย่าให้หัวนมโดนอากาศเย็น งดบุหรี่ คาเฟอีน และพยายามเอาน้ำนมออกให้เกลี้ยงเต้า อย่าให้เหลือค้างในเต้า เช่น การบีบด้วยมือ ร่วมกับการกระตุ้นจี๊ดที่หัวนม หลังจากลูกกินเสร็จ หรือ ปั๊มนมด้วยเครื่อง ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องครับ

 

5.สัญญาณการตั้งครรภ์

อาการเจ็บหัวนมเรื้อรังนั้นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังตั้งครรภ์อีกครั้งก็ได้นะครับ โดยหากคุณมีอาการเจ็บหัวนมทั้ง ๆ ที่ลูกอยู่ในท่าดูดนมที่ถูกต้อง อีกทั้งไม่มีอาการอื่น ๆ คุณก็อาจลองตรวจสอบอาการตั้งครรภ์ดูก็ได้นะครับ

ในขณะที่คุณแม่หลายท่านอาจมีความกังวลว่าการเจ็บหัวนมอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งเต้านม แต่จริง ๆ แล้วการที่คุณแม่เจ็บหัวนมนั้นมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นสัญญาณของการเป็นมะเร็งเต้านม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณหมอนิวแมนกล่าวไว้ว่า “อาการเจ็บหัวนม นั้นเป็นสัญญาณสุดท้ายที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งเต้านม โดยอาการเจ็บเต้านมนั้นอาจมาจากการอักเสบทั่วไปก็ได้” แต่หากว่าคุณแม่มีความกังวลก็อาจไปหาคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ครีมทาหัวนม ยี่ห้อไหนดีและปลอดภัยกับคุณแม่และคุณลูกที่สุด มาดูกัน!

 

 

เคล็ดไม่ลับที่จะมาช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม

  • ยกทรง : เรื่องแรกที่คุณแม่ควรตรวจสอบก็คือ ยกทรงค่ะ ลองเช็กดูสิว่า ยกทรงที่กำลังที่ใส่อยู่นั้น เบาสบาย เนื้อผ้านุ่ม และเก็บเต้าของคุณแม่ได้ทั้งหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ แนะนำให้มองหาซื้อยกทรงที่ดี และเหมาะสมจะดีกว่า อย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาอาการได้ในระดับนึงเลยละค่ะ
  •  มองหาตัวช่วย : คุณแม่ที่กำลังท้อง อาจจะรู้จัก “แผ่นซับน้ำนม” กันมาบ้างแล้ว หากคุณแม่ท้องเป็นคนหนึ่งที่มีอาการเจ็บคัดหัวนมละก็ แนะนำให้ลองใช้ตัวช่วยนี้เลยค่ะ ด้วยความที่เขามีเนื้อที่เบาและนุ่ม เขาจะช่วยพยุง และประคองรวมถึงกันกระแทกได้เป็นอย่างดีเลยละค่ะ
  • วารีบำบัด : “น้ำ” เปรียบเสมือนสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาให้สิ่งมีชีวิตบนโลก นอกจากจะมีไว้ดื่ม ไว้ใช้แล้ว ยังเป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย คุณแม่ท้องหลาย ๆ ท่านอาจจะรู้จักกับวารีบำบัดกันมาบ้างแล้ว ดังนั้น การเปิดฝักบัวและให้น้ำอุ่นไหลผ่านมายังหน้าอกของคุณแม่ ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการตึงได้เป็นอย่างดี ไม่เชื่อลองทำดูสิคะ

 

นอกจากน้ำจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้แล้ว ยังช่วยไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำในระหว่างตั้งครรภ์ และช่วยป้องกันไม่ให้ริมฝีปากแห้ง ปัสสาวะมีสีเข้ม และป้องกันไม่ให้ผิวท้องของคุณแม่แตกลายอีกด้วยละคะ

 

มาถึงจุดนี้แล้ว คุณแม่คงพอเข้าใจ และรู้สาเหตุของอาการเจ็บเต้านมแล้ว และน่าจะรู้วิธีการบรรเทาอาการเจ็บได้ แต่หากอาการเจ็บไม่บรรเทา หรือเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ตามมา คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และรักษาตามสาเหตุจะดีที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัวนมแตก ต้องหยุดให้นมลูกหรือไม่ ? แล้วควรทำอย่างไรดี

หัวนมบอด หรือหัวนมบุ๋ม ให้นมลูกได้หรือไม่ ทำอย่างไรเมื่อให้นมลูก

แผ่นป้องกันหัวนม คืออะไร ควรใช้หรือไม่ระหว่างให้นมลูก ?

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

บทความโดย

P.Veerasedtakul