เต้านมคัด หลังคลอด เต้านมเป็นก้อน เกิดจากอะไร มีวิธีไหนช่วยลดปวดเต้านมได้

อาการ คัดเต้า หลังคลอด ของแม่ให้นม เกิดจากอะไร ทำไมถึงรู้สึกเจ็บปวดทรมาน ตอนนี้ลูกหย่านมแล้วแต่ยังคัดเต้าอยู่ ควรทำอย่างไรเพื่อลดปวดคัดเต้าดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการ เต้านมคัด หลังคลอด อาการคัดเต้า ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3 หรือ 4 ของการคลอดลูก เนื่องจากน้ำนมของคุณแม่เริ่มมาแล้ว สาเหตุที่ทำให้คุณแม่คัดเต้านมก็มาจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองซึ่งมาเลี้ยงที่เต้านมเพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกแข็งและเจ็บ บางครั้งเต้านมจะร้อน นอกจากนี้ยังทำให้ลูกดูดนมได้ยากมากขึ้นด้วย

 

ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่มี เต้านมคัด อาการคัดเต้า เต้านมคัดตึง

  1. ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ หรือบีบนมออกด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊มนม
  2. ในบางครั้งถ้าปวดมากให้ทานยาพาราเซตามอลแก้ปวดได้
  3. การประคบเต้านมด้วยน้ำเย็นสลับน้ำอุ่น  แล้วนวดเต้านม
  4. ใช้กระหล่ำปลีประคบ แบบภูมิปัญญาไทย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ผักเพิ่มนม

 

คัดเต้า หลังคลอด อาการคัดเต้า เต้า นม คัด ทำอย่างไรดี? อาการคัดเต้า

 

วิธีบีบนมออกจากเต้าด้วยมือ แก้อาการเต้านมคัด เต้านมคัด เต้านมคัดตึง

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. เตรียมขวดนมที่สะอาดผ่านการนึ่งทำความสะอาดมาแล้ว
  3. คุณแม่พยายามหาท่านั่งที่สบาย โดยที่ไม่ต้องก้ม เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมประมาณ 3 – 5 นาที ก่อนที่จะเริ่มบีบ
  5. วางหัวแม่มือไว้ที่ลานหัวนม และนิ้วมืออีก 4 นิ้ว วางใต้เต้านม
  6. กดนิ้วเข้าหากระดูกทรวงอก แล้วบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่เข้าหากัน โดยเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือมาทางด้านหน้าเล็กน้อย แต่ไม่เลยขอบลานหัวนม
  7. บีบเป็นจังหวะ และย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือรอบๆ หัวนมเพื่อบีบน้ำนมออกให้หมดทุกแห่ง และใช้ขวดที่สะอาดรองรับน้ำนมที่บีบออก
  8. เปลี่ยนการบีบ หรือสลับอีกเต้าทุก 5 นาที หรือเมื่อน้ำนมไหลช้า
  9. เมื่อบีบเต้านมเสร็จ ให้หยดน้ำนมลงบนหัวนม 2 – 3 หยด แล้วปล่อยให้แห้งเพื่อป้องกันหัวนมแตก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นม คัด ทำ ไง อาการ เต้านมคัด รูปจาก: New Health Guide

วิธีใช้กระหล่ำปลีแก้ อาการคัดเต้า นมหลังคลอด

อาการคัดเต้า จากงานวิจัยเรื่อง “กะหล่ำปลีมีคุณค่า ลดอาการปวด แก้อาการคัดนมหลังคลอด” ของ นางสาวปัณฑิตา ศรีจันทร์ดร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2555 ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน พบว่า การประคบเต้านมด้วยใบกะหล่ำปลีสด สามารถลดอาการอักเสบ ลดอาการคัดตึงเต้านมระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงได้ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทั้งเป็นยาป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการระคายเคือง ทั้งนี้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของกะหล่ำปลี ระบุว่ากะหล่ำปลีมี สารไฟโตเอสโตเจน (Phytoestogen) ที่ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ อาการคัดเต้า

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ผักที่มีประโยชน์ต่อคนท้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ อาการคัดเต้า  ยังพบว่าความเย็นจากใบกะหล่ำปลีทำให้เส้นเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้อาการบวมลดลง และความเย็นทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดของใยประสาทขนาดเล็กมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้การนำกระแสประสาทรับความเจ็บปวดลดลง โดยการแพทย์แผนไทยจัดให้กะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรชนิดเย็น มีฤทธิ์ดูดซับความร้อน ช่วยลดการคั่งของสารน้ำในเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม ทำให้อาการปวดคัดตึงเต้านมลดลง แต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และควรหยุดใช้เมื่อมีผื่นขึ้นหรือมีอาการแพ้

คัดเต้าหลังคลอด เต้า นม คัด อาการคัดเต้า

วิธีการประคบเต้านมโดยใช้กระหล่ำปลี อาการคัดเต้า เต้านมคัด

  1. ให้คุณแม่เลือกใช้ใบกะหล่ำปลีสีเขียว ตัดขั้วแข็งออกก่อน แล้วแกะใบกะหล่ำปลีออก เลือกใบที่มีขนาดใกล้เคียงกับเต้านม
  2. นำกระหล่ำปลีไปล้างด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วแช่ด้วยน้ำส้มสายชูเพื่อล้างสารพิษ
  3. นำใบกะหล่ำปลีแช่เย็นที่ช่องแช่แข็ง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
  4. หยิบใบกะหล่ำปลีมาขยุ้มด้วยมือเบาๆ แกะเอาเส้นใยที่แข็งออก แล้วใช้มีดบากหรือใช้เข็มแทงตามใบกะหล่ำปลีเพื่อให้เส้นใยแตก
  5. นำไปหุ้มเต้านมทั้งเต้าและอาจถึงบริเวณใต้รักแร้ถ้ามีก้อนบวมขึ้นใต้รักแร้
  6. สวมเสื้อชั้นในปิดทับ หรือใช้ผ้าพันทับไว้ประคบเวลาประมาณ 20 นาที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันไม่ให้เต้านมคัด หรือมีอาการคัดเต้า

  1. ให้ลูกน้อยดูดนมอย่างถูกวิธี ให้นมบ่อยๆ ทุก 1 – 3 ชั่วโมง ในช่วงสองสามวันแรก
  2. ให้ดูดจนหมดเต้าก่อนที่จะย้ายไปดูดอีกเต้า

 

ที่มา: bnhhospitalthairath

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: 

อาหารบำรุงน้ำนม รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้

ผลไม้เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย ไม่ต้องกลัวน้ำนมไม่พอ

ควรให้นมลูกถึงเมื่อไหร่ ควรเปลี่ยนจากขวดเป็นแก้วตอนไหน ควรเสริมอาหารเสริมเมื่อไหร่

บทความโดย

Khunsiri