ลูกพูดติดอ่าง แก้ไขอย่างไร ทำอย่างไรดีเมื่อลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง แก้ไขอย่างไร ลองอ่านเรื่องที่เกิดขึ้นจริงนี้ดูว่า คุณแม่คนหนึ่งรับมือกับอุปสรรคทางการพูดของลูกชายอย่างไร เธอมีเคล็ดลับ 5 ข้อเพื่อช่วยเหลือลูกเมื่อลูกพูดติดอ่างมาฝากค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกพูดติดอ่าง แก้ไขอย่างไร

ลูกพูดติดอ่าง “มะ…มะ…มะ…แม่ ผะ…ผะ…ผม…อยากกินขะะ…ขะ…ขะ…ขนม!” ลูกฉันงอแง เขาหงุดหงิดที่ฉันมัวแต่ยุ่ง และไม่รีบไปดูแลเขาทันที ฉันเอาขนมให้เขา และเขากลับมาอารมณ์ดีเป็นปกติอีกครั้ง แต่ฉันก็ยังไม่เลิกกังวลเรื่องการพูดของเขา ลูกชายฉันพูดตะกุกตะกัก และพูดติดอ่างมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ทีแรกฉันกับสามีคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็ก ๆ จะพูดติด ๆ ขัด ๆ บ้าง โดยเฉพาะเวลาตื่นเต้น แต่น้องนิลติดอ่างแม้ในยามที่เขาพูดในเวลาปกติ เหตุการณ์เป็นไปเช่นนี้กว่าหนึ่งปี กระทั่งเราขอคำปรึกษาจากคุณหมอ

หลังเข้ารับบำบัดการพูดหลายครั้งในช่วงกว่าหนึ่งปี การพูดของนิลดีขึ้นอย่างยิ่ง เขายังพูดตะกุกตะกักอยู่เล็กน้อยเวลาตื่นเต้นแต่ก็เรียกได้ว่าดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากจริง ๆ

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับซึ่งนำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยเหลือลูกเมื่อลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง แก้ไขอย่างไร

1. ใช้การย้ำเตือนทางบวกเพื่อแก้ไขการพูด

การย้ำเตือนทางบวก ย่อมดีกว่าการตำหนิติเตียนทางลบ ยกตัวอย่างคำพูดทางลบเช่น “ทำไมถึงพูดแบบนั้น” หรือ “พูดดี ๆ ไม่เป็นหรือไง” คำพูดในแง่ลบทำนองนี้จะทำลายความเคารพตัวเองของลูก และยิ่งทำให้ลูกหวาดกลัวการพูดติดอ่างของตัวเอง เวลาที่ลูกพูดอะไรสักอย่าง เช่น “ตะ…ตะ…แต่หนะ…หนะ…หนูอยากดะ…ดะ…ดะ…ดูทะ…ทะ…ทะ…ทีวี” คุณควรพูดกับลูกอย่างอ่อนโยนว่า “หนูอยากดูทีวีหรือลูก หนูพูดตามแม่ได้ไหม” จากนั้นให้พูดแต่ละคำช้า ๆ ชัด ๆ และชวนให้ลูกพูดตาม ชมเชยลูกทุกครั้งที่ลูกพูดตามอย่างถูกต้อง วิธีย้ำเตือนทางบวกนี้อาศัยความอดทนสูง แต่เป็นวิธีที่คุ้มค่ายิ่งในท้ายที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ลดการดูโทรทัศน์

การดูโทรทัศน์มักเป็นอุปสรรคต่อการมีปฏิสัมพันธ์ตามปกติ ครอบครัวส่วนใหญ่เปิดโทรทัศน์ระหว่างทานอาหารเย็น และพูดคุยกันไปด้วยโดยมีเสียงโทรทัศน์เป็นฉากหลัง ลูกของคุณจะวอกแวก และไม่มีสมาธิกับสิ่งที่คุณพูด ลองปิดโทรทัศน์ และคุยกับลูกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น ๆ ดู เมื่อไม่มีสิ่งเร้า และเสียงอื่น ๆ เข้ามาสมทบ ลูกจะได้ยินคุณพูดอย่างถูกต้องได้ง่ายขึ้น และจะเรียนรู้การพูดอย่างถูกวิธีได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

3. การใช้ภาพเข้าช่วย

นี่เป็นเครื่องมือที่ฉันพบว่ามีประโยชน์ต่อนิลมาก เราทำบัตรภาพเล็ก ๆ ขึ้นสองใบ ใบหนึ่งมีรูปเส้นตรง 1 เส้น อีกใบเป็นรูปเส้นหยึกหยัก นิลสร้างสรรค์ต่อด้วยการติดสติ๊กเกอร์รูปรถยนต์ลงไปบนเส้นทั้งสองนี้ เมื่อใดก็ตามที่เขาพูดติดอ่าง เราจะเอาบัตรภาพให้เขาดูและติงเขาอย่างอ่อนโยนว่า เขากำลังพูดเหมือนถนนขรุขระและเมื่อเขาพูดโดยไม่ติดอ่างเลย เราจะชมเชยเขา ดีใจกับเขาที่เขาพูดได้เหมือนกำลังขับรถอยู่บนถนนเรียบ ๆ

นิลไม่ได้รู้สึกแย่ที่เราใช้วิธีนี้ ความจริงแล้วเขาชอบมาก และดูภูมิใจทุกครั้งที่เราเอาบัตรภาพถนนเรียบให้เขา เขาทำบัตรภาพแบบเดียวกันนี้เพิ่มอีกสองสามใบด้วยตัวเองด้วยซ้ำ บางครั้งเวลาที่ฉันเหนื่อยและลังเลเล็กน้อยตอนพูด เขาจะรีบบอกอย่างร่าเริงว่า “แม่ แม่พูดเหมือนถนนขรุขระเลย!” และเอาบัตรภาพนั้นให้ฉันดู

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการนี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ด้วยการเขียนคำที่ลูกออกเสียงลำบากหรือเขียนประโยคสั้น ๆ บนบัตรและสอนวิธีออกเสียงที่ถูกต้องให้ลูกฟัง

4. ร้องเพลง!

เปิดเพลงโปรดของลูก และร้องคลอไปด้วย เรื่องน่าพิศวงก็คือเมื่อเด็กร้องเพลง เราจะไม่ได้ยินอาการติดอ่างเลย ทำให้การร้องเพลงเป็นเวลาสนุกสนานของครอบครัว และสร้างสายสัมพันธ์กับลูกด้วยการร้องเพลงเพราะ ๆ ไปกับลูกด้วย ลูกจะมีความสุขและคุณจะรู้สึกสงบมากขึ้นด้วย อย่าจำกัดให้ลูกฟังเฉพาะเพลงไทย เพลงภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ที่คนในครอบครัวพูดก็ใช้ได้เช่นกัน

5. ทำใจให้สบาย

ฉันเครียดมากเวลากังวลเรื่องการพูดของนิล เขารู้สึกได้และจะเกร็ง ๆ เมื่อต้องพูด ซึ่งรังแต่จะทำให้ยิ่งพูดติดอ่างมากขึ้นอีก ฉันไม่ได้จะบอกว่าปัญหาทางการพูดในเด็กไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่อยากเน้นว่าความเครียดไม่ได้ช่วยคุณหรือลูกเลย พยายามทำใจให้สบาย มองในด้านบวก และชมลูกทุกครั้งที่พูดได้อย่างถูกต้อง

ท้ายที่สุดแล้ว ฉันก็เป็นเพียงแม่คนหนึ่งที่ห่วงลูกและไม่อยากให้พ่อแม่ท่านอื่น ๆ คิดว่าการปฏิบัติตามเคล็ดลับทั้ง 5 ข้อนี้แล้ว อาการพูดติดอ่างของลูกคุณจะดีขึ้นเนื่อง 100 % เนื่องจากลูกของคุณอาจมีปัญหาทางการพูดที่ต่างจากของนิล สิ่งสำคัญที่สุดในทุกกรณีคือขอให้คุณรับคำปรึกษาจากหมอหรือผู้เชี่ยวชาญค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอสเพอร์เกอร์

ช่วยด้วย! ลูกไม่ชอบไปโรงเรียน

พัฒนาการเด็ก 3-5 ปี

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team