ปวดหลังตอนท้อง เป็นอาการที่แม่ท้องส่วนใหญ่ต้องเผชิญซึ่งการ ปวดหลังตอนท้อง นั้นจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอายุครรภ์ อายุของคุณแม่ สุขภาพของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ รวมถึงนิสัยส่วนตัวด้วย โดยอาการปวดหลังตอนท้องนั้นเป็นปัญหาที่กวนใจคุณแม่ท้องอยู่ไม่น้อยและเป็นอาการที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
อะไรเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังตอนท้อง
ท้องปวดหลัง อาการปวดหลังตอนท้องนั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการปวดหลังอยู่ก่อนแล้ว อาการปวดอาจจะยิ่งรุนแรงขึ้นระหว่างที่คุณกำลังตั้งครรภ์ได้
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้แม่ท้องเกิดอาการปวดหลังมีดังนี้
- ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ฮอร์โมนรีแลกซินเป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้ข้อต่อกระดูกและเส้นเอ็นมีความอ่อนตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้ช่วงหลังและสะโพกของแม่ท้องต้องรับความกดมากขึ้น
- ตำแหน่งของลูกในท้องอีกทั้งการดิ้นของลูกในบางครั้งจะส่งผลต่อระบบประสาทของคุณแม่ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดได้
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการที่ลูกน้อยโตขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เพราะกระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น อีกทั้งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อระบบประสาทและหลอดเลือดอีกด้วย
วิธีบรรเทาอาการปวดหลังของแม่ท้อง
อาการปวดหลังเป็นอาการที่แม่ท้องส่วนใหญ่มักจะเป็นกันมาก เรามาดูวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของแม่ท้องกัน
- กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดได้อีกด้วยนะ แต่แม่ท้องไม่ควรออกกำลังกายหักโหมจนเกินไปเพราะจะเป็นอันตรายต่อทั้งคุณและลูกในท้องได้
- อาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
- การประคบร้อนด้วยขวดน้ำอุ่นหรือขวดน้ำร้อนและการประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็งช่วยลดอาการปวดหลังได้
- นอนตะแคงโดยใช้หมอนรองระหว่างหัวเข่าเพื่อช่วยรับน้ำหนัก
- ไม่ควรนั่งหลังงอ คุณอาจหาหมอนมารองหลังตอนนั่ง เพราะการรองหลังด้วยหมอนนั้นสามารถลดอาการปวดหลังได้
- เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง
- ไม่ควรยกของหนัก
- พักผ่อนให้เพียงพอ
อาการปวดหลังตอนท้องนั้นมักจะหายไปหลังจากคลอดลูกแล้ว แต่หากแม่ท้องมีอาการปวดหลังรุนแรงและต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวด ต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในท้องนะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ที่นอนคนท้อง ควรเป็นแบบไหน? คนท้องนอนยังไงให้ห่างไกลอาการปวดหลัง
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ทำหน้าที่อย่างไร ?
ฮอร์โมนการตั้งครรภ์เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนที่ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และช่วยปรับเปลี่ยนสรีระร่างกายของคุณแม่ให้เหมาะสมต่อการอุ้มท้อง
นอกจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์จะมีหน้าที่ควบคุมกลไกของร่างกายและควบคุมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว ยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการต่าง ๆ ได้ เช่น อาการแพ้ท้อง แสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน เป็นต้น เนื่องจากระดับของฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ซึ่งอาจส่งผลต่ออารมณ์และความเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล มีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมทางร่างกายหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น
ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ?
ในกระบวนการตั้งครรภ์ ร่างกายผู้หญิงจะผลิต ฮอร์โมนคนท้องไม่เหมือนเดิม สำคัญซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) เป็นฮอร์โมนที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่พบในรก หรือช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจะพบในเลือดและปัสสาวะของคุณแม่ ฮอร์โมนดังกล่าวถูกนำมาใช้ตรวจการตั้งครรภ์ ทั้งการทดสอบด้วยตัวเองและการตรวจโดยวิธีทางการแพทย์ นอกจากนี้ ฮอร์โมนชนิดนี้ยังก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีมีครรภ์ได้ด้วย
- ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human Placental Lactogen: HPL) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นภายในรก มีหน้าที่ส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์และกระตุ้นต่อมน้ำนมภายในเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมลูก
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งทำหน้าที่พัฒนาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยส่วนใหญ่ผลิตจากรังไข่ แต่เมื่อตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้จะถูกผลิตออกมาจากรกอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ให้เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ และช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และรกในระหว่างตั้งครรภ์ มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อให้ไข่ที่ถูกผสมจนเกิดการปฏิสนธิฝังตัวและเติบโตเป็นทารกได้
- ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวมากขึ้น ซึ่งช่วยในการคลอดบุตร
- ฮอร์โมนโปรแลคติน ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม โดยเมื่อตั้งครรภ์ ฮอร์โมนดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนขึ้น 10-20 เท่าจากปกติ
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร ?
เมื่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เกิดความเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา โดยมีฮอร์โมนหลายชนิดที่จะส่งผลต่อร่างกายเมื่อมีระดับสูง เช่น
ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าก่อนตั้งครรภ์ ส่งผลให้มดลูกและรกพัฒนาให้เหมาะกับการตั้งครรภ์ เช่น
- เสริมสร้างเส้นเลือดบริเวณรกและมดลูก
- ช่วยในการขนส่งสารอาหารต่าง ๆ ไปยังทารก
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปกติอย่างมากในระหว่างตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลให้เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการคลายตัวมากขึ้น รวมทั้งทำให้โครงสร้างภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับทารกในครรภ์และการคลอดบุตรที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า โดยมีผลต่อร่างกายคุณแม่ ดังนี้
- ทำให้มดลูกขยายตัวและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของคุณแม่
- กระตุ้นให้เยื่อบุมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่
- ช่วยให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น เพื่อป้องกันอสุจิตัวอื่นมาผสมกับไข่
- ช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
- ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
- ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อกระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม
- ป้องกันการหดตัวของมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์
นอกจากนี้ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ยังอาจส่งผลให้คุณแม่มีลักษณะท่าทางที่เปลี่ยนแปลงไป มีหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น ท้องโตขึ้น บริเวณหลังมีส่วนโค้งเว้าและทำให้การทรงตัวของคุณแม่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้นด้วย คุณแม่จึงควรระมัดระวังตัวและการเคลื่อนไหวมากเป็นพิเศษในระหว่างที่ตั้งครรภ์
เมื่อหน้าท้องของคุณแม่เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ยิ่งทำให้การใช้ชีวิตประวัติของคุณแม่นั้นลำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวช่วยที่จะคอยยกกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยจนทำให้ทำอะไรก็ไม่สะดวกสบายเหมือนก่อน ดังนั้นเราขอเสนอ Pregnancy Belt – Beige / Black เข็มขัดพยุงครรภ์ที่จะมาเป็นตัวช่วยทำให้คุณแม่ โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ผลิตจากผ้าโพลีเอสเตอร์ 70% และสแปนเดกซ์ 30% ยืดหยุ่นและกระชับ พร้อมมีโครงช่วยพยุงด้านหลัง ให้หลังคุณแม่ตั้งตรง บุคลิกดี ยืนได้นานขึ้น เดินได้ไกลขึ้น แต่ไม่ต้องทนกับความเจ็บปวด
- ปรับขนาดและระดับความแน่นกระชับของเข็มขัดด้วยเวลโครเทป สามารถใช้ได้ยาว ๆ จนถึงคลอดเจ้าตัวเล็กเลยค่ะ
- สามารถสวมใส่ได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป หรือหากคุณแม่เริ่มรู้สึกปวดหลัง หน่วงท้องก่อนหน้านั้น ก็สามารถเริ่มใส่ได้เลยค่ะ
- เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อน ไม่อับชื้น และนุ่มสบาย ไม่ระคายเคืองผิว สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน เมื่อใส่เสื้อผ้าปิดทับแล้วแนบเนียน ไม่เห็นรอยเข็มขัด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
6 เข็มขัดพยุงครรภ์ เลคกิ้งคนท้อง เข็มขัดหลังคลอด น่าใช้งานมากที่สุด
ท่าออกกําลังกายคนท้องแก้ปวดหลัง มาออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลังกัน
คนท้องปวดหลังมาก อันตรายไหม? บริหารร่างกายแก้ปวดหลังอย่างไรดี
ที่มา : paolohospital