ทารกว่ายน้ำได้ตอนกี่เดือน พาลูกลงสระเร็วแล้วจะได้อะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงประโยชน์จากการว่ายน้ำที่ทารกน้อยนั้นจะได้รับ แต่คุณแม่ก็มักจะมีคำถามตามมาว่าควรให้ ทารกว่ายน้ำได้ตอนกี่เดือน ถึงจะดีและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย วันนี้เรามาไขคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้ได้เลย

 

ทารกว่ายน้ำได้ตอนกี่เดือน ให้ลูกลงสระตอนกี่ขวบถึงจะดี

เจ้าตัวน้อยที่ลอยอยู่ในน้ำคร่ำในท้องแม่มาเป็นเวลานานนั้น ทำให้เรียนรู้ที่จะลอยตัวในน้ำได้เร็ว และคุ้นเคยกับน้ำได้ดี ส่งผลต่อการอาบน้ำทารกในอ่างอาบน้ำก็ทำให้ลูกได้รู้สึกสนุกสนาน ได้ออกกำลังกาย และเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ดังนั้นการเริ่มต้นพาลูกไปลงสระว่ายน้ำสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน โดยช่วง 2-6 เดือนให้ใช้เวลาอยู่ในน้ำประมาณ 15 นาที แต่ถ้าอายุ 6 เดือนถึง 1 ขวบก็ใช้เวลาอยู่ในน้ำมากขึ้นประมาณ 30 นาที การให้เจ้าตัวน้อยได้เล่นน้ำ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย และระบบประสาทของลูกน้อย รวมทั้งยังเป็นการฝึกให้ลูกควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อทุกส่วนได้ ช่วยทำให้ร่างกายและปอดแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่จะเป็นหอบหืดเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ EQ และ IQ สูงขึ้น ส่งผลทำให้ลูกมีความสุข อารมณ์ดี รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี และเรียนรู้กับสัญชาตญาณการเอาตัวรอดในน้ำ รวมถึงมีส่วนในการกระตุ้น growth hormone ที่ทำให้ร่างกายมีพัฒนาการเจริญเติบโตสมวัย การที่ลูกมีสุขภาพดีจากการออกกำลังกายก็จะทำให้ไม่เจ็บป่วยง่ายอีกด้วย

 

 

เพื่อความพร้อมในการเริ่มว่ายน้ำ คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือ ให้ลูกคุ้นเคยกับการเล่นน้ำ ได้ตั้งแต่ก่อนพาไปลงสระ โดยการพาลูกไปเล่นในอ่างอาบน้ำ หรือเปิดฝักบัวพรมน้ำตามใบหน้า และตามตัวลูกรักอย่างโอนโยน โดยต้องมั่นใจว่า น้ำที่ใช้นั้นอุ่นกำลังดี ไม่เย็นให้จนลูกหนาว หรือร้อนจนเกิดอันตราย เราแนะนำว่า ใช้น้ำอุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียสคือกำลังดี ซึ่งแน่นอนว่า การพาลูกลงสระตั้งแต่ยังเล็ก ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญ ดังนั้น เราขอแนะนำให้คุณแม่ พาลูกน้อยไปลงสระโดยการเข้าเรียนวิชาว่ายน้ำ กับสถาบันสอนว่ายน้ำสำหรับเด็กที่ไว้ใจได้อย่าง Bangkok Dolphins สถาบันสอนว่ายน้ำเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2540 และสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ

บทความเพิ่มเติม : 7 ผ้าอ้อมว่ายน้ำ ที่ดีที่สุดสำหรับเบบี๋ แบรนด์ไหนดี ใช้แล้วลูกไม่แพ้ ปี 2023

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่สำคัญ สระว่ายน้ำของ Bangkok Dolphins นั้นคุณแม่สามารถมั่นใจในเรื่องความสะอาดได้อย่างดี เพราะสระที่นี่ เป็นสระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นระบบสระว่ายน้ำที่สะอาดและปลอดภัย อ่อนโยนต่อผิว มีค่า Ph ที่สมดุล และมีการตรวจสมดุลเคมีของสระอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่าการเรียนว่ายน้ำของเจ้าตัวน้อยจะปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเขา ในส่วนของการเรียนการสอนนั้น คุณพ่อคุณแม่จะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของลูกด้วย โดยในเด็กเล็กอายุ 3 เดือน บทเรียนแรกที่จะสอนนั้น คือการสอนคุณพ่อคุณแม่พาลูกลงสระอย่างปลอดภัย ดังนั้นการเรียนการสอนที่นี่ จึงไม่ใช่แค่สอนเด็กว่ายน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่พ่อแม่ลูกจะได้กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น และมีความสุขยิ่งขึ้นค่ะ โดยไม่ต้องกลัวว่าตัวคุณแม่เองจะจมน้ำ เพราะสระว่ายน้ำของที่นี่ มีความสูงเพียง 1.1 เมตรเท่านั้น เพื่อให้ปลอดภัยต่อทั้งตัวเด็ก และผู้ปกครองนั่นเอง

สำหรับเรื่องที่น่ากังวลอย่างปัญหา COVID19 นั้น ทาง Bangkok Dolphins ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางสถาบันมีมาตรการรับมือที่หนาแน่น และสอดคล้องต่อหลัก Social Distancing ทำให้ทุกคนมั่นใจและสนุกกับการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ พิเศษสำหรับคุณแม่ที่สนใจอยากพาเจ้าตัวน้อยมาเริ่มเรียนว่ายน้ำกับ Bangkok Dolphins สามารถพาลูกรักมาทดลองเรียนได้ฟรี ลงทะเบียนที่นี่

ฝึกให้เด็กว่ายน้ำเป็นตอนไหน และควรเริ่มอย่างไรดี ?

การว่ายน้ำเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่เด็ก ๆ ควรมีติดตัวไว้ เพราะการจมน้ำถือเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย นอกจากนั้น การว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายด้าน ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกว่ายน้ำเป็นอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเองในวันข้างหน้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความเพิ่มเติม : สอนลูกทำอาหาร ได้พัฒนาการมากกว่าความอร่อย

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการว่ายน้ำ

  • เสริมสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้ การเคลื่อนไหวแขนและขาสลับซ้ายขวาระหว่างว่ายน้ำช่วยสร้างเซลล์ประสาทในสมอง โดยเฉพาะในส่วนคอร์ปัสแคลโลซัม (Corpus Callosum) หรือมัดเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อสมองซีกซ้ายกับซีกขวา ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างทักษะทางวิชาการ การอ่าน การสื่อสาร และการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว นอกจากนั้น การว่ายน้ำยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ซึ่งช่วยเพิ่มพลังสมองได้ด้วย โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปีที่ว่ายน้ำเป็นประจำนั้น มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะทักษะการออกเสียง การคำนวณ การอ่านและการเขียน ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ว่ายน้ำ
  • เสริมสร้างความมั่นใจ การเล่นน้ำ การร้องเพลง และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ครูสอนว่ายน้ำ หรือเพื่อนในชั้นเรียนว่ายน้ำ อาจช่วยเสริมทักษะด้านต่าง ๆ รวมถึงเสริมสร้างความมั่นใจแก่เด็กได้ โดยมีการศึกษาพบว่าเด็กที่เรียนว่ายน้ำตั้งแต่อายุยังน้อย อาจมีทักษะในการเข้าสังคม มีความทะเยอทะยาน และเห็นคุณค่าในตนเองมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำ
  • ลดความเสี่ยงในการจมน้ำ การจมน้ำจัดเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เด็กและทารกเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในสระน้ำหรืออ่างน้ำบริเวณบ้าน ดังนั้น เด็กหรือทารกจึงควรมีทักษะพื้นฐานในการว่ายน้ำหรือลอยตัวบนผิวน้ำติดตัวไว้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีงานค้นคว้าพบว่าการเรียนว่ายน้ำช่วยให้เด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไปมีโอกาสจมน้ำลดลง แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอว่าการเรียนว่ายน้ำนั้นช่วยลดโอกาสการจมน้ำในเด็กอายุ 1-4 ปีได้ ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีที่เรียนว่ายน้ำนั้น พบว่ามีความเสี่ยงจมน้ำไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำ พ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปีอยู่ในแหล่งน้ำตามลำพัง แม้เด็กจะเคยเรียนว่ายน้ำมาแล้วก็ตาม

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ควรให้เด็กเริ่มเรียนว่ายน้ำตอนไหนดี ?

คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปเรียนว่ายน้ำได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด แต่แพทย์มักแนะนำให้ทารกมีอายุครบ 6 สัปดาห์ก่อน เพราะทารกที่มีอายุน้อยกว่านี้อาจเสี่ยงติดเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ พ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกเรียนว่ายน้ำก่อนมีอายุครบ 6 เดือน ควรเลือกใช้บริการสระน้ำอุ่นหรือสระว่ายน้ำที่ควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ 32 องศาเซลเซียสและไม่มีสารคลอรีน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่แข็งแรง และอุณหภูมิน้ำในสระว่ายน้ำทั่วไปนั้นเย็นเกินไปสำหรับทารก

 

เคล็ดลับในการสอนเด็กว่ายน้ำ

  • เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเรียน พ่อแม่ควรพาเด็กมาถึงสระก่อนชั่วโมงเรียนว่ายน้ำเริ่ม 15 นาที เพื่อให้เด็กคุ้นชินกับสถานที่ รวมถึงมีเวลาปรับตัวและทำสมาธิก่อนลงน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนว่ายน้ำ พ่อแม่ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารก่อนว่ายน้ำ หากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จ ควรให้เด็กนั่งพักและรอประมาณ 1 ชั่วโมงจึงค่อยลงว่ายน้ำ
  • ไม่บังคับให้เด็กลงน้ำ เด็กบางรายอาจลังเลหรือยังไม่พร้อมว่ายน้ำ ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกน้อยทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เพราะการบังคับฝืนใจอาจส่งผลให้เด็กเกิดทัศนคติด้านลบต่อการว่ายน้ำ หากเด็กเริ่มร้องไห้โยเยหรือแสดงอาการไม่พอใจเมื่ออยู่ในน้ำ ให้นำเด็กขึ้นจากสระทันที
  • เริ่มต้นด้วยการแช่น้ำในอ่าง ในช่วงแรกเริ่ม พ่อแม่ควรลงไปแช่น้ำในอ่างกับลูกน้อยด้วย เพื่อทำให้เด็กคุ้นเคยกับน้ำ รู้สึกปลอดภัย และสนุกสนาน โดยอาจเทน้ำจากขันรดบนศีรษะและใบหน้าของเด็กทีละน้อย
  • เลือกสระน้ำอุ่น เด็กและทารกยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิร่างกายได้ดีเท่าผู้ใหญ่ การว่ายน้ำในสระที่มีอุณหภูมิน้ำเย็นเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ พ่อแม่จึงควรนำลูกลงว่ายน้ำในสระน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส แต่หากจำเป็นต้องลงว่ายน้ำในสระปกติ ให้นำเด็กขึ้นจากสระทุก ๆ 10 นาทีเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น ทั้งนี้ พ่อแม่จำเป็นต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กในระหว่างที่แช่น้ำอยู่เสมอ หากริมฝีปาก นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วง ให้นำเด็กขึ้นจากสระน้ำทันที
  • สร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน พ่อแม่ควรลงไปว่ายน้ำกับเด็กและสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไปด้วย อย่างการร้องเพลงหรือเล่นเกม และมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มอยู่เสมอ เพื่อทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและคิดว่าการว่ายน้ำเป็นเรื่องสนุก
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว การใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัวอย่างห่วงยางหรือปลอกแขนว่ายน้ำ อาจทำให้เด็กรู้สึกว่าการว่ายน้ำนั้นไม่ปลอดภัย นอกจากนั้น การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยังบังคับให้เด็กว่ายน้ำโดยจัดร่างกายให้ตั้งฉากกับน้ำ แต่จริง ๆ แล้วท่าว่ายน้ำที่เหมาะสม คือ จัดร่างกายให้ขนานกับน้ำ
  • อุ้มเด็กด้วยท่าที่เหมาะสม วิธีอุ้มเด็กในน้ำนั้นมีหลายวิธี ซึ่งควรเลือกท่าที่ผู้อุ้มและเด็กรู้สึกสบายที่สุด อย่างการอุ้มโดยใช้มือประคองด้านหลังศีรษะและก้นของเด็ก หรือการอุ้มโดยใช้มือทั้ง 2 ข้างประคองใต้รักแร้จากทางด้านหน้าหรือด้านหลัง รวมทั้งผู้อุ้มควรพาเด็กเดินวนรอบสระ เพื่อให้เด็กรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของน้ำ หากเป็นสระเด็กหรือสระที่มีน้ำไม่ลึกมากนัก ให้ผู้อุ้มย่อตัวลงและใช้มือทั้ง 2 ข้างประคองใต้รักแร้ของเด็ก เพื่อให้ตนเองอยู่ในระดับเดียวกันกับเด็ก
  • คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก พ่อแม่หรือผู้ดูแลที่ลงไปในสระน้ำกับเด็กต้องอุ้มเด็กด้วยวิธีที่ถูกต้องอยู่เสมอ สำหรับเด็กที่ว่ายน้ำเป็นแล้วอาจปล่อยให้เด็กว่ายน้ำเองได้ แต่จำเป็นต้องเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา และพร้อมเข้าช่วยเหลือทันทีหากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกกลัวน้ำ ว่ายน้ำไม่ได้ จะเสี่ยงจมน้ำไหม แก้ไขยังไงดี

เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง “ลูกฟันกร่อน”

ชุดว่ายน้ำสำหรับเด็ก เลือกชุดว่ายน้ำให้ลูกแบบไหน ใส่สบายและปลอดภัย

ที่มา : Pobpad

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R