ลูกจะรู้สึกยังไง หากคุณแม่ร้องไห้ตอนท้อง

อาหารที่กิน เครื่องดื่มที่ดื่ม เครื่องสำอางค์ที่ใช้ ยาที่กินเข้าไป ล้วนมีผลต่อลูกในครรภ์ทั้งสิ้น แต่รู้ไหมคะว่า อารมณ์ของคุณแม่ ก็ส่งผลต่อลูกในครรภ์เช่นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกจะรู้สึกยังไง หากคุณแม่ร้องไห้ตอนท้อง

ลูกจะรู้สึกยังไง หากคุณแม่ร้องไห้ตอนท้อง จากงานวิจัยของ Psychological Science พบว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 6 ลูกในครรภ์จะสามารถรับรู้อารมณ์ของคุณแม่ได้ และผลกระทบนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นด้วยนะคะ เพราะอารมณ์ที่คุณแม่รู้สึกนั้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดทัศนคติของลูกด้วยละค่ะ

ถ้าคุณแม่เครียด ลูกจะ…

คุณแม่หรือแม้แต่คุณพ่อทุกคน ต้องเคยมีเรื่องที่ต้องคิดต้องเครียดบ้างในชีวิต ซึ่งนั่นไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค่ะ แต่การวิตกกังวล ความเครียด รวมถึงอารมณ์เศร้า ที่คุณแม่มีเรื้อรังยาวนานนั้น ส่งผลกระทบต่อลูกเต็มๆ ค่ะ

เมื่อคุณแม่เครียด ร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา แม้ว่าอารมณ์ของคุณแม่จะส่งผ่านถุงน้ำคร่ำไปหาลูกไม่ได้ แต่ฮอร์โมนของคุณแม่สามารถทำได้ เครียดเป็นครั้งคราวลูกได้รับฮอร์โมนเป็นครั้งคราว ไม่เป็นไรค่ะ แต่ถ้าลูกได้รับฮอร์โมนนี้บ่อยๆ เข้า ลูกก็จะมีอาการเครียดเรื้อรัง แถมยังทำให้ลูกมีอาการโคลิคเมื่อคลอดออกมาแล้วด้วยนะคะ

Tips ฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือ คอร์ติซอล (cortisol) ถ้าร่างกายได้รับบ่อยๆ หรือได้รับมากไป นอกจากจะทำให้เป็นโรคอ้วนแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองอีกด้วยค่ะ ทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ ความจำต่างๆ ทำงานลดลงอีกด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าคุณแม่ซึมเศร้า ลูกจะ…

แม้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่จะเป็นเรื่องปกติ และมีคุณแม่เพียง 10% เท่านั้นที่จะต้องเผชิญกับภาวะนี้ แต่ลูกที่เกิดขึ้นมาจากคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้านั้นจะโตขึ้นไป (อายุประมาณ 18 ปี) มีปัญหาด้านอารมณ์มากกว่าเด็กทั่วไปถึง 1.5 เท่า อาการที่แสดงออกก็อย่างเช่น มีความเกรี้ยวกราดมากกว่าเป็นต้นค่ะ

แต่รู้ไหมคะว่าพัฒนาการของลูกก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของคุณแม่เช่นกัน กล่าวคือ

  • ถ้าคุณแม่ซึมเศร้าขณะท้องและหลังคลอด พัฒนาการของลูกจะเป็นปกติ
  • ถ้าคุณแม่ไม่ได้ซึมเศร้าขณะท้องและหลังคลอด พัฒนาการของลูกจะเป็นปกติ
  • แต่ถ้าคุณแม่ซึมเศร้าขณะท้องแต่ไม่ได้ซึมเศร้าหลังคลอด หรือกลับกัน ถ้าคุณแม่ไม่ได้ซึมเศร้าขณะท้อง แต่ซึมเศร้าหลังคลอด ลูกก็จะมีพัฒนาการที่ช้าค่ะ

ถ้าคุณแม่มีเรื่องไม่พอใจ ลูกจะ…

อาการหงุดหงิด ไม่พอใจในบางเรื่องคือเรื่องปกติของมนุษย์ค่ะ แต่สำหรับคนเป็นแม่นั้นอารมณ์นี้จะทำให้หลายๆ สิ่งเลวร้ายลงไปอีกค่ะ เนื่องจากมีงานวิจัยที่บอกว่า คุณแม่ที่ไม่รู้สึกผูกพันธ์กับลูกในท้อง จะทำให้เด็กๆ มีปัญหาทางอารมณ์ได้นะคะ

ถ้าคุณแม่ที่ขี้แงในบางวัน ลูกจะ…

ความอ่อนไหวในเรื่องที่ไม่น่าจะต้องอ่อนไหวขณะที่ตั้งครรภ์ คุณแม่แทบทุกคนต้องเคยเจอกับอารมณ์อ่อนไหวเนื่องจากฮอร์โมน ข่าวหรือภาพยนต์ที่เข้ามากระทบจิตใจ แน่นอนว่าอารมณ์แบบนี้ไม่ทำให้ลูกหวั่นไหวไปหรอกค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่ได้ร้องไห้ทุกวัน หรือเจอเรื่องไม่พอใจทุกวันที่ตั้งครรภ์น่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกำจัดกับความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้าในระยะยาวคือหัวข้อที่คุณแม่ต้องพูดคุยกับทั้งคุณหมอที่ฝากครรภ์ และคุณหมอด้านจิตวิทยา เพื่อหาทางออกในระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับลูกค่ะ

แต่ถ้านานๆ ทีมีเรื่องที่ต้องเครียด เรื่องรบกวนจิตใจ เข้ามากวนอารมณ์บ้าง การหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและมีความสุขทำบ่อยๆ นั้น คือสิ่งที่ดีเลยนะคะ เพราะอย่าลืมนะคะว่า วันข้างหน้าที่ลูกจะต้องมีเรื่องพวกนี้เข้ามาในชีวิต คุณแม่ต้องเป็นที่ปรึกษาให้ลูกด้วยค่ะ

ฮอร์โมนคนท้อง อะไรบ้างที่ส่งผลต่ออารมณ์แม่ และลูกในท้อง

บทความ : ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าฮอร์โมนต่ำ มีผลกับลูกในท้องอย่างไร

ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง มารู้จัก ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีฮอร์โมนต่ำ จะมีผลกับลูกในท้องอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3 ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง มีอะไรบ้าง

ฮอร์โมนหรือสารเคมีที่ร่างกายสร้างไว้แล้วส่งไปตามกระแสเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ ฮอร์โมนจะช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกายให้ทำงานปกติ เมื่อแม่ตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายของแม่ท้องจึงเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์นี้ จะ เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ ตั้งท้อง จนถึงช่วงหลังคลอด

ฮอร์โมนคนท้องที่สำคัญ มีอะไรบ้าง

  • ฮอร์โมนคนท้อง hCG

ฮอร์โมนตัวแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงคือ hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกสร้างตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ จากเซลล์ในไข่ที่ถูกผสมและมาฝังตัวอยู่ที่มดลูก เพื่อที่จะกลายเป็นรกต่อไป ในช่วงแรกที่ไข่เริ่มผสมและรกยังเจริญไม่เต็มที่ ฮอร์โมน hCG จึงมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่น ๆ และเมื่อรกเจริญเต็มที่แล้ว รกก็จะทำหน้าที่เป็นผู้สร้างฮอร์โมนตัวอื่นแทนรังไข่ ฮอร์โมน hCG ที่ถูกสร้างมาเพื่อกระตุ้นรังไข่ก็จะลดน้อยลงไป

คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในช่วงไตรมาสแรกเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน hCG ในร่างกายนี่เอง แม่ท้องบางรายที่มีอาการแพ้ท้องมาก ๆ อาจเป็นเพราะว่ามีฮอร์โมน hCG สูง ซึ่งต้องทำการตรวจเพิ่มว่าทีสิ่งผิดปกติหรือเปล่า เช่น การตั้งครรภ์แฝด หรือรกเจริญผิดปกติ

  • ฮอร์โมนคนท้อง เอสโตรเจน (Estrogen)

เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกกระตุ้นจากฮอร์โมน hCG เพื่อมาช่วยเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ให้อ่อนนุ่มขึ้น ยืดขยายได้ดีขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ดี และมีหน้าที่อื่น ๆ เช่น

    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น รับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ไข่ที่ผสมแล้วมาฝังตัวทำให้มดลูกของคุณแม่ขยายขนาดขึ้น ผนังมดลูกหนาขึ้น เสริมสร้างเนื้อเยื่อเซลล์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ในตอนท้องมดลูกจึงขยายใหญ่เป็นร้อย ๆ เท่าหรือเมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนดมดลูกจะขายจนมีความจุถึง 3-5 ลิตร จากก่อนตั้งครรภ์ที่มีความจุเพียง 10 มิลลิลิตร และมีส่วนทำให้ผนังช่องคลอดหนาตัวและยืดขยายได้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ในส่วนของช่องคลอด
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนเปลี่ยนเนื้อเยื่อให้ยืดขยายได้ จะไปทำให้เอ็น ข้อต่อหลวม โดยเฉพาะที่เชิงกราน เพื่อจะได้เหมาะแก่การคลอด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกปวดเมื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยังช่วยกระตุ้นให้เลือดในร่างกายของแม่ท้องมีการไหลเวียนมากขึ้น ไปหล่อเลี้ยงที่มดลูกเพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปให้แก่ลูกน้อยในครรภ์ และเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้ทารกในครรภ์มีการพัฒนา มีการสร้าง และการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆอีกด้วย
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยังทำให้ผนังหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่ขึ้น ทำให้พวกสารน้ำต่าง ๆ ในระบบไหลเวียนเลือดมีการซึมออกมาที่เนื้อเยื่อข้างนอกได้ง่าย เป็นสาเหตุให้คุณแม่มีอาการบวมได้ง่ายเมื่อต้องเดินมาก ๆ หรือยืนนาน ๆ
    • ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยังทำให้เนื้อเยื่อของมดลูก ปากมดลูกนุ่มยืดขยายได้ง่ายขึ้น พร้อมที่จะหดรัดตัวได้ดีเมื่อคุณแม่เจ็บท้องคลอด และยังทำให้ภายในช่องคลอดของคุณแม่มีภาวะเป็นกรดมากขึ้น ช่วยทำให้ติดเชื้อต่างๆได้ยากขึ้นอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ เปลี่ยนไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะสังเกตเห็นว่าผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรือเต้านมจะมีสีเข้มขึ้น บางคนอาจมีผื่นแดง ๆ ขึ้นได้ง่าย และมีผลทำให้ท้องอืดง่ายเนื่องจากส่วผลต่อระบบย่อยอาหารด้วย

นอกจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงตั้งครรภ์แล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้อารมณ์แม่ท้องแปรปรวนไม่คงที่ได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอดคือ ทำให้เต้านมขยายใหญ่ขึ้นทั้งมีการสร้างและขยายขนาดของท่อน้ำนมอีกด้วย

  • ฮอร์โมนคนท้องโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนอกจากจะมีหน้าที่แบบเดี่ยว ๆ แล้ว ยังทำงานร่วมกันหรือประสานงานเป็นทีมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ช่วยกันสนับสนุนหรือไปยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวอื่นเพื่อไม่ให้ออกฤทธิ์ในช่วงที่ไม่จำเป็น เช่น

    • ช่วยลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในกรณีเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปทำให้มดลูกขยายและพร้อมจะมีการหดรัดตัว แต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะไปยับยั้งอาการทำให้มดลูกยังไม่มีการหดรัดตัวมากเพื่อให้ทารกมาฝังตัวที่มดลูกได้ไม่แท้งออกไปและจะลดต่ำลงเมื่อใกล้คลอดเพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัว และคลอดทารกออกมาได้
    • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในการปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมแก่การฝังตัวด้วยคือทำให้หนาขึ้น มีเส้นเลือดมาเลี้ยงดีขึ้น ฯลฯ และยังทำให้แม่ท้องมีการสะสมไขมันมากขึ้นสำหรับใช้เป็นพลังงาน เป็นแหล่งของสารอาหารให้กับทารกในช่วงตั้งครรภ์
    • ถึงแม้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยทำการยับยั้งเพื่อไม่ให้เกิดการสร้างน้ำนมของเต้านมในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ แต่ก็ได้ร่วมมือกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมให้ลูกหลังคลอด ช่วยขยายต่อมน้ำนมให้โตขึ้นและท่อน้ำนมให้มากขึ้น มีเซลล์ที่ช่วยสร้างน้ำนมได้เยอะขึ้นและให้ลูกกินได้ทันทีเมื่อแรกคลอด
    • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังมีส่วนที่ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อยืดขยาย เป็นสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องปวดเมื่อยได้ง่าย ไม่ค่อยมีแรง ผลจากการกระตุ้นให้ร่างกายปรับตัวและหายใจเร็วขึ้นเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดเยอะ ๆ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนบ่อย ๆ ก็จะทำให้แม่ท้องเหนื่อยง่ายด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อหลังคลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง เพราะว่าฮอร์โมนทั้งคู่นี้สร้างจากรก หลังคลอดเมื่อรกหลุดออกไปฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ก็เลยหายไปด้วย

ถ้าฮอร์โมนคนท้องต่ำ จะกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่

ปกติแล้วหน้าที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือการทำให้เยื่อบุมดลูกพร้อมในการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว หรือกล่าวคือเป็นฮอร์โมนที่ทำให้คุณแม่พร้อมต่อการมีลูก ทั้งยังทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มการสะสมไกลโคเจน (Glycogen คือน้ำตาลที่อยู่ในกล้ามเนื้อและตับ มีหน้าที่ให้พลังงานแค่ร่างกายเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง) อีกทั้งยังทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้มดลูกหดรัดตัวระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมอีกด้วยค่ะ

เมื่อฮอร์โมนคนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ

ถ้าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีปริมาณต่ำ ก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และถ้าคุณแม่มีปริมาณฮอร์โปรเจสเตอโรนต่ำระหว่างตั้งครรภ์ นั่นก็แสดงว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้อาจจะล้มเหลวได้ เป็นการแท้งโดยธรรมชาตินั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วจะแก้ไขได้โดยการรับประทานฮอร์โมนที่สั่งโดยคุณหมอ อาจจะเปลี่ยนเป็นการฉีดหรือเหน็บยาได้ โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีที่จะทำให้รู้ว่าคุณแม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำลง สังเกตได้ง่าย ๆ จากการที่อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่ต่ำลงตัวเย็นขึ้นนั่นเอง เพื่อความปลอดภัย หากแม่ท้องสังเกตว่าตัวเองมีความผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

ที่มา: familyshare

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการแม่ท้องแบบไหนเสี่ยงให้ลูกเกิดภาวะเครียดในครรภ์

ความเจ็บปวด 8 เรื่องของแม่ที่อยากแชร์ให้โลกรู้

อุ้มลูกอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ ใบเตย อาร์สยาม มีอาการ เบบี้บลู หลังคลอดน้องเวทย์มน