เต้านมตอนท้อง เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร นมเล็กจะมีน้ำนมให้ลูกไหม?

ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะฮอร์โมนที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงร่างกายรวมไปถึงเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเพื่อเตรียมไว้สำหรับทารกน้อยเมื่อคลอด มาดูกันว่า เต้านมเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เต้านมตอนท้อง มีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ซึ่งอาการคัดเต้า เต้านมขยาย เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกเราว่า กำลังจะเป็นว่าที่คุณแม่ ทั้งนี้เต้านมจะมีการขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอดจนถึงวันคลอด แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสรีระและสุขภาพต่างของของคุณแม่อีกด้วย ที่สำคัญ คุณแม่บางท่านยังกังวลว่า เต้านมใหญ่ขึ้นก็จริง แต่เมื่อคลอดแล้ว ผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กๆ จะมีน้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อยหรือไม่ ไปหาคำตอบกันค่ะ

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: รับมือ 4 อาการผิดปกติของเต้านมที่ต้องเจอระหว่างให้นมลูก

 

เต้านมตอนท้อง มีลักษณะอย่างไร

ความรู้สึกของเต้านมตอนท้อง เชื่อว่าคุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความคัดเต้า รัดรึง ผิวหนังเริ่มตึงขึ้น คล้ายๆ กับตอนที่ผู้หญิงมีประจำเดือน แต่ความรู้สึกนี้จะแบกไปจนถึงวันคลอดเลยทีเดียว แต่ไม่มีผลกับสุขภาพ เพราะส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งครรภ์จะให้ความห่วงใยกับหน้าท้องที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า ดังนั้น เรามาดุกันว่า แต่ละช่วงอายุครรภ์ เต้านมตอนท้อง จะเปลี่ยนไปอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. หน้าอกเริ่มขยายขึ้นเมื่อไร

จริงๆ แล้วเพียงแค่ เดือนแรกเราก็รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของเต้านมแล้วค่ะ แต่จะเริ่มขยายอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 6-8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เต้านมจะใหญ่ขึ้นๆเพราะเนื้อเยื่อและไขมันที่อยู่ในเต้านมมีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น เพื่อสร้างระบบการทำงานของต่อมและท่อน้ำนม ตอนนี้คุณแม่อาจจะต้องมองหน้าเสื้อชั้นในหรือบราที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (แล้วแต่บุคคล) ต้องไปวัดให้พอดีหรือหลวมนิดหน่อย ห้ามใส่รัดๆ เด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังที่ขยายนั้นไปเสียดสีกับเต้านมจนรู้สึกคัน แล้วคุณแม่ก็จะไปเกาจนนมแตกลายได้ค่ะ

 

2. หัวนมใหญ่ ไวต่อความรู้สึก

นอกจากเต้านมจะใหญ่ขึ้นแล้ว หัวนมของคุณแม่จะเป่งมากขึ้น ปานหัวนมกวางมากขึ้น ตรงนี้ระวังอย่าไปเกา เพราะจะทำให้ปานหัวนมดำและขยายมากขึ้นไปอีก ที่สำคัญ หัวนมคุณแม่จะไวต่อความรู้สึก เจ็บๆ เสียวๆ มากขึ้นค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. น้ำนมไหลออกมานิดหน่อย

คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ หากมีน้ำนมไหลจางๆ ซึ่งน้ำนมนี้จะมีสีเหลืองจางออกมาจากหัวนม ตั้งแต่ไตรมาสแรกนิดหน่อย และมีการไหลในช่วงไตรมาสที่2-3 ด้วย ซึ่งน้ำนมที่ไหลออกมานั้นมีประโยชน์เรียกว่า โคลอสทรัม (Colostrum) ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกน้อย แต่หากบางคนไม่มีก็ไม่ต้องตกใจนะคะ น้ำนมที่ไหลออกมาเล็กน้อยนี้จะมีบางคนเท่านั้น

 

 

4. เส้นเลือดปูดนิดหน่อย

เมื่อมีเส้นเลือดปูดขึ้น ไม่ถึงกับอันตรายแต่อย่างใด และถ้าหากเห็นเส้นเลือดเกิดขึ้นบริเวณเต้านมร่วมด้วยนั้น มีสาเหตุมาจาก มีการไหลเวียนของเส้นเลือดดำมากขึ้น ซึ่งเลือดและไขมันในเต้านม จะไปช่วยหล่อเลี้ยงต่อมและท่อน้ำนม อีกทั้ง เต้านมตอนท้อง ที่ผิวหนังแผ่ขยายจึงทำให้เห็นเส้นเลือดต่างๆ ชัด จะสังเกตได้ว่า ผิวตรงช่วงหน้าอกและเต้านมของคุณแม่นั้นบางใสเลยทีเดียวค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:  5 ความเปลี่ยนแปลงที่แม่ท้องต้องเจอ

5. คลำแล้วเจอก้อนบริเวณข้างๆ เต้านม

นั่นคือก้องถุงบรรจุนม (Galactoceles) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก้อนเนื้อไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) ไม่เป็นอันตรายใดๆ ซึ่งก้อนเนื้อนี้เราสามารถคลำเจอตอนที่มีประจำเดือนได้เช่นกัน (หากยังไม่ตั้งครรภ์) แต่ถ้าคุณแม่รู้สึกว่า เจ็บมาก ควรปรึกษาแพทย์ด่วนค่ะ

 

6. รู้สึกเจ็บเต้านมจี๊ดๆ

อาการจี๊ดๆ คุณแม่จะรู้สึกว่ามีการคลั่งของเลือดข้างในนั่นเองค่ะ ทั้งนี้เมื่อเลือดไหลเวียน จะทำให้เนื้อเยื่อบวมขึ้น ของเหลวที่ถูกเก็บไว้ในเต้านมเช่น เลือด ไขมัน จะทำงานร่วมกันนั่นเรียกว่า “อาการคัดเต้านม” โดยอาการนี้จะรู้สึกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และคุณแม้จะรู้สึกบ่อยๆ หลังคลอด เมื่อหน้าอกกำลังกลั่นน้ำนมออกมาให้ลูกน้อย

 

7. ตุ่มเล็กๆ บนปานหัวนม

ถ้าสังเกตปานหัวนมคนเราจะปรากฏตุ่มรอบๆ ปานหัวนมชัดเจนตอนอากาศเย็น และไวต่อความรู้สึก นี้ ตุ่มนี้คือต่อมผลิตไขมันที่เรียกว่า Montgomery’s Tubercles ถ้าเคยบีบจะเห็นไขมันสีขาวหลุดออกมา ตรงนี้เองคือน้ำมันเพื่อป้องกันหัวนมและปานนมแห้งหรือแตก ส่วนตุ่มจะเล็กใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับรูปและขนาดของเต้านม บางคนปานหัวนมใหญ่มากแต่กลับไม่มีตุ่มขึ้นเลยก็มี

 

8. เต้านมแตกลาย

เต้านมตอนท้อง แทบไม่ต่างจากหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์เลยค่ะ เนื่องจากผิวหน้าที่เป่งขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ผิวบางลง จนเกิดการแตกลาย จนเกิดอาการคัน ซึ่งควรระวังไว้อย่างมาก หากคันนั้น ห้ามเกาบริเวณเต้านมเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผิวหนังแตก เส้นเลือดฝอยแตก พอหายแล้วกลายเป็นผู้หญิงเต้านมลาย แต่คุณแม่สามารถป้องกันได้โดย หมั่นทาน้ำมันที่มีส่วนผสมของวิตามิน E และมอยเจอไรเซอร์ (ใช้ตัวเดียวกับที่ทาบริเวณท้อง) เพื่อดูแลผิวหนังของคุณแม่ให้ชุ่มชื่นไม่แห้งแตก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 10 อาหารเรียกน้ำนม อาหารบำรุงน้ำนมแม่ แม่หลังคลอดกินแล้วน้ำนมพุ่งปรี๊ด

 

คุณแม่เต้านมเล็กจะมีปัญหาการให้นมลูกหรือไม่?

ผู้หญิงมักมีความกังวลใจเรื่องขนาดเต้านมของตนเอง ไม่ว่าจะใหญ่ไป ก็จะมีปัญหาเรื่องปวดหลังหรือปวดเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็ก ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กมักมีปัญหาเรื่องเสื้อผ้า และการให้นมลูกในบางคนที่ไม่มีน้ำนมเลย แต่จริงๆ แล้วขนาดเต้านมไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างน้ำนมเลย

  • ขนาดเต้านมเล็กหรือใหญ่ จะมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ต่อมและท่อน้ำนม ซึ่งทุกคนจะมีปริมาณเท่ากัน ดังนั้น ขนาดไม่ได้มีผลต่อการสร้างน้ำนมแต่อย่างใด
  • เต้านมจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับร่างกายและโภชนาการของคุณแม่เอง ที่สำคัญ ปริมาณน้ำนมของคุณแม่บางท่านอาจมีมากในบางมื้อของลูก ซึ่งจำไว้ว่า แต่ละมื้อนั้น ลูกจะได้รับนมจากเต้าไม่เท่ากัน
  • บางครั้งลูกดื่มไม่หมดหรือไม่พอ จึงมีการปั๊มนมฟรีซไว้ให้ลูกในแต่ละมื้อ ดังนั้นคุณแม่หลายท่านจึง พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกาย เพื่อให้มีน้ำนมสะสมมากขึ้น หมายถึง ถ้าเต้านมถูกดูดไปหมด ก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เร็วขึ้น
  • คุณแม่พยายามให้ลูกดูดเกลี้ยงเต้าในแต่ละครั้ง เพื่อช่องว่างในการผลิตน้ำนมใหม่ และที่สำคัญ คุณแม่ต้องหมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเรียกน้ำนมได้อย่างดี

 

ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่จะเต้านมเล็ก หรือเต้านมใหญ่ หากต้องการมีน้ำนมให้ลูกมากขึ้น ต้องหมั่นนำน้ำนมหรือปั๊มนมออกจากร่างกายให้บ่อยขึ้น หรืออาจจะให้ลูกดื่มระหว่างมื้อเพิ่มขึ้นก็สามารถทำได้ค่ะ แต่หากคุณแม่มีปัญหาเรื่องไม่มีน้ำนมให้ลุกจริงๆ อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพเฉพาะบุคคล ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข หรือ สามารถหานมชนิดไหนได้บ้างเพื่อให้ทารกดื่มอย่างปลอดภัย

 

บทความที่น่าสนใจ

ครรภ์คุณภาพของแม่ท้อง ต้องดูแลแบบนี้

น้ำนมเหลืองสุดยอดภูมิต้านทานจากแม่สู่ลูก

เทคนิคเลือกชุดชั้นในสำหรับคนท้อง

6 ข้อดีของการนวดเรียกนม นวดเรียกนมแล้วดีอย่างไร จากกูรูด้านการให้นม

 

ที่มา: pobpad, enfababy