ระบบการไหลเวียนเลือดของเด็กทารก เป็นอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระบบการไหลเวียนของเลือดทารก เริ่มจาก Umbilical vein ที่ทำการรับเลือดที่มีออกซิเจน วิ่งเข้าสู่ตัวของทารก และทำการแบ่งเป็นส่วนหนึ่งเข้าตับ Portal sinus เพื่อเชื่อมกับ Portal vein อีกส่วนหนึ่งแยกเข้า Ductus venosus เพื่อไปเชื่อมกับ Inferior vena cava และนำเลือดเข้าสู่ Right atrium ขณะเดียวกันก็รับเลือดที่กลับจากศีรษะหรือ Superior vena cava เลือดที่มีออกซิเจนสูงส่วนใหญ่จะผ่าน Foramen ovale เข้าสู่ Left atrium จากนั้นลงไป Left ventricle ออกจากหัวใจไปทาง Aorta และไปเลี้ยงอวัยวะบริเวณคอและศีรษะ ส่วนเลือดจาก Right atrium ที่ลงไป Right ventricle ก็จะออกไปยัง Pulmonary artery เพื่อไปที่ปอดแต่ปอดทารกยังไม่ทำงานมีความต้านทานสูงเลือดไหลไปได้น้อย

 

ดังนั้นเลือดส่วนใหญ่จึงผ่าน Ductus arteriosus เข้าสู่ Aorta ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะผ่านทาง Hypogastric artery ออกจากทารกเป็น Umbilical artery กลับเข้าแลกเปลี่ยนออกซิเจนและสารอาหารที่รก ความต้านทานในเส้นเลือดที่สูง และจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ หากทารกที่มีปัญหา hypoxia หรือ IUGRจะมีการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้นไปยังอวัยวะสำคัญ  Brain sparing effect คือ การวัดนี้จึงมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยภาวะ IUGRสำหรับทารก

การไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์

การเจริญทารกในครรภ์ ที่เรียก เอ็มบริโอ ในมดลูกของผู้หญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในผู้หญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 6 เดือนเป็นโรคหัวใจติดโควิด น่าสงสารมาก ชีวิตของเด็กจะเป็นไง

ระบบการไหลเวียนของเลือด

ระบบไหลเวียนของเลือด หรือที่เรียกว่า Cardiovasular System ระบบไหลเวียนเลือดทำหน้าที่ขนส่งสารต่าง ๆ เช่น อาหารและออกซิเจนไปทั่วร่างกาย  นอกจากนั้นยังทำการนำของเสียกลับคืนมาส่วนประกอบที่สำคัญของระบบมี 3 ส่วน ได้แก่ เลือด เป็นของเหลวที่นำสารต่าง ๆ เข้าออกจากเซลล์หลอดเลือดเป็นท่อให้ไหลผ่าน และหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด

หัวใจ ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำงานต่างจากกล้ามเนื้อชนิดอื่น ๆ หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ที่เรียกกันว่าห้องหัวใจ ห้องบนทั้งสองซีกเรียกว่า (Atria) และหัวใจห้องล่างเรียกว่า (Ventricle)

  • หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)       มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
  • หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)      มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
  • หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle)  มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
  • หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจอยู่ระหว่างเป็นลิ้น-เปิดทางเดียว เมื่อเลือดไหลออกมาจะมีแรงดันใบลิ้นทำให้เปิดออก และปิดกลับอย่ารวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับออกมา การปิดกระแทกของลิ้นทำให้เกิด เสียงของหัวใจ (Heart beat)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลือด ประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดของเลือด ลอยปนอยู่ในของเหลวสีเหลืองที่เรียกกันว่า พลาสมา ร่างกายผู้ใหญ่เฉลี่ยแล้วมีเลือดอยู่ในร่างกายโดยปรัมาณ 4-5 ลิตร นอกจากเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ ไปทั่วร่างกายแล้ว เลือดยังช่วยต่อต้านเชื้อโรคบางชนิดอีกด้วย และควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

  • เม็ดเลือดแดง ภายในเม็ดเลือดแดงมีสารสีม่วงแดงที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิล เมื่อเลือดไหลผ่านเข้าสู่ปอด ฮีโมโกลบิน จะจับกับออกซิเจนกลายเป็น ออกซิฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสีแดงสด เมื่อเม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปส่งให้กับเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายแล้ว ออกฮีโมโกลบินจะเปลี่ยนกลับมาเป็นฮีโมโกลบินอีกครั้ง เม็ดเลือดแดงจะตายทุก 4 เดือน และเมื่อเม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างขึ้นใหม่สร้างมาจากกระดูก ในอัตราวินาทีละ 2 ล้านตัวมาทดแทน
  • เม็ดเลือดขาว มีขนาดที่ใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ช่วยร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค
  • เกล็ดเลือด เป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ ของเซลล์มีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล

บทความที่เกี่ยวข้อง : เป็นโรคหัวใจแล้วท้อง เลือกคลอดแบบไหน ทารกในครรภ์ อันตรายหรือไม่ วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาของรูป : www.mahachai2.com

วงจรการไหลเวียนของเลือด

วงจรการไหลเวียนของเลือด เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนที่สูงจากปอด แล้วทำการบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวดันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง หรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำของหัวใจด้านบนขวา แล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวงเวียนการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?

โรคหัวใจ เกิดจากสาเหตุอะไร โรคหัวใจมีอาการอะไรบ้าง โรคหัวใจมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

โรคไข้เลือดออกในเด็ก อาการเป็นอย่างไร เป็นแล้วเป็นอีกได้ไหม ?

แหล่งที่มา : (1), (2), (3)

 

บทความโดย

chonthichak88