วิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเอง เมื่อเทศกาลรื่นเริง ไม่ใช่เทศกาลแห่งความสุข

เทศกาลรื่นเริง อาจไม่ใช่เทศกาลแห่งความสุข สำหรับทุกคน เมื่อคุณรู้สึกเศร้าในช่วงเทศกาล จะมี วิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเอง ได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเอง เมื่อเทศกาลรื่นเริง ไม่ใช่เทศกาลแห่งความสุข

หากพูดถึงเทศกาลปีใหม่ คงเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่หลายๆ คนรอคอย ฤดูกาลที่อากาศหนาวมาเยือนแถมยังมีเรื่องน่ารื่นเริงใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นถนนที่ประดับไฟสีสันสวยงาม การแลกของขวัญ การได้กลับบ้านไปพอเจอญาติพี่น้อง โบนัส การได้หยุดพักจากงานประจำ

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกรื่นเริงในช่วงเทศกาลเช่นนี้ มีคนบางส่วนที่ได้รับความกดดันจากความคาดหวังทางสังคมในช่วงเทศกาล เช่น การต้องมอบของขวัญ หรือร่วมสังสรรค์ในขณะที่สถานะทางเศษฐกิจกำลังฝืดเคือง การต้องพบปะกับญาติที่ตนเองไม่ชอบหน้า หรือการต้องเผชิญกับความเครียดและความเศร้าจากการสูญเสียคนที่รักในช่วงวันสำคัญ ที่ถูกกระตุ้นเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงเวลานั้นของปี

ความเครียดและความเศร้าโศกเสียใจที่ขัดแย้งกับบรรยากาศอันรื่นเริงภายนอกรอบตัวเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป จนกระทั่งถูกเรียกว่า “ความเศร้าในช่วงเทศกาล” (holiday blues) ที่มักจะพบได้มากในช่วงเทศกาลใหญ่ อย่างเช่น วันคริสต์มาส หรือเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สื่อต่างๆ ฉายภาพอันน่ารื่นเริงบันเทิงใจ มีการตกแต่ง ประดับประดาบ้านและร้านรวงริมถนนอย่างสวยงาม ผู้คนเองก็ถูกคาดหวังให้แสดงความสุขในเทศกาลเหล่านี้ แต่บุคคลกลุ่มที่ไม่สามารถปฏิบัติตามความคาดหวังดังกล่าวได้ อาจเกิดความเครียด ความวิตกกังวล จนไปถึงเกิดภาวะซึมเศร้าได้

ตามปกติความรู้สึกเศร้าในช่วงเทศกาลจะเกิดขึ้นชั่วคราวและหมดลงไปพร้อมกับฤดูกาลดังกล่าว แต่หากเกิดขึ้นยาวนานเป็นระยะเวลาเกิน 3 สัปดาห์พร้อมกับส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ไม่อยากรับประทานอาหาร นอนไม่หลับ หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย จัดว่าเป็นสัญญาณให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเช่น นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ได้ทันที

 

วิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเอง รับมือ ความเศร้าในช่วงเทศกาล

ตามปกติความรู้สึกเศร้าหรือความรู้สึกทางลบที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกับเทศกาลจะจะมีความเข้มข้นขึ้นช่วงการหน้าและระหว่างช่วงเทศกาลรื่นเริง แต่ก็จะสามารถลดความรุนแรงลงได้เองโดยที่อาจไม่จำเป็นต้องรับการบำบัดรักษาทางจิตวิทยาใดๆ แต่ก็มิได้หมายความว่าเราควรจะนั่งเฉยๆ เพื่อรอให้มันผ่านไปเพียงอย่างเดียว วิธีจัดการกับความรู้สึกตัวเอง ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้ผลกระทบของอารมณ์นั้นเกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยสาระสำคัญคือให้ความสำคัญกับความสุขทางจิตใจของตัวเองมากกว่าการต้องบังคับให้ตัวเองต้องรู้สึกรื่นเริงในช่วงเทศกาล หรือทำตามความคาดหวังภายนอก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. มองหาความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอารมณ์ขุ่นมัว 

สำหรับบางคน ความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นอาจจะมีมากเสียจนเจ้าตัวเองอยากจะหลีกเลี่ยงที่จะสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น การหลีกเลี่ยงที่จะไม่เข้าไปรับรู้อารมณ์ทางลบอาจทำให้ผู้อ่านพ้นจากความเครียดได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ยังไม่พร้อมรับมือกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น แต่หากใช้วิธีการหลีกเลี่ยงไปเรื่อยๆ คุณอาจจะไม่เข้าใจที่สาเหตุว่าอะไรเป็นที่มาของอารมณ์ขุ่นมัวนั้น การให้เวลากับตัวเองเพื่อสำรวจสาเหตุของอารมณ์ที่ขุ่นมัวเป็นประตูบานแรกที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจที่มา และมองเห็นแพทเทิร์นในการเกิดขึ้นที่อาจเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้อีกในอนาคต

ตัวอย่าง: คุณอาจรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ ทุกครั้งที่ถึงเทศกาลรวมญาติ โดยไม่ได้ตั้งคำถามว่าเพราะอะไร การใช้เวลาอยู่กับตัวเองและตั้งคำถาม อาจทำให้ท่านพบว่า “ฉันหงุดหงิดทุกครั้ง เมื่อถึงเทศกาลที่ต้องรวมญาติ เพราะญาติๆ ของฉันเอาแต่เปรียบเทียบฉันกับพี่ที่ทำอะไรก็ดีกว่าไปเสียหมด” นั่นหมายความว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่คุณไม่อยากพบ เพราะ เขาทำให้คุณรู้สึกด้อย หรือรำคาญใจ

การทำความเข้าใจสาเหตุนี้ ทำให้คุณมีทางเลือกที่จะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นคือ 1) ตัดสินใจไม่ไปพบญาติในงานรวมญาติ  หรือ 2) ลองสำรวจสิ่งที่คุณรู้สึกภูมิใจที่คุณทำได้ดีกว่าใคร เพื่อทำให้การเปรียบเทียบของญาตินั้นไม่ส่งผลกับความรู้สึกได้อีกต่อไป เป็นต้น

  1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้อึดอัดใจ 

ไม่มีกฎข้อใดเลยที่บังคับให้คุณต้องทำตามความคาดหวังของสังคม อย่างเช่น ไปปาร์ตี้ แลกของขวัญ หรือกลับบ้านไปงานรวมญาติในช่วงเทศกาล ความรื่นเริงในช่วงเทศกาล ควรจะเกิดขึ้นด้วยความรู้สึกที่ยินดีพอใจอย่างแท้จริง และงานรวมญาติก็ควรจะเกิดขึ้นเพื่อให้เราได้พบปะกับญาติพี่น้อง ที่เราอยากจะสานสัมพันธ์อันดีด้วย และหากคุณไม่รู้สึกเช่นนั้น การปฏิเสธที่จะไปงานรวมญาติเพื่อรักษาสุขภาพจิตใจของคุณก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียหาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. หาวิธีรับมือล่วงหน้า

หากว่าคุณตัดสินใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมที่คุณรู้สึกลำบากใจ ก็สามารถหาวิธีการรับมือไว้ล่วงหน้าได้ เช่น หาเหตุผลที่จะกลับออกมาก่อนงานเลี้ยงจบ เลี่ยงการพูดคุยกับคนที่จะทำให้คุณรู้สึกไม่ดี การหาวิธีการรับมือล่วงหน้าเช่นนี้เป็นหนึ่งในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงที่จะทำให้คุณเกิดความเครียดหรือกระตุ้นความรู้สึกได้ โดยนำความเข้าใจสาเหตุในการเกิดความรู้สึกทางลบและข้อจำกัดของตัวเองมาเป็นตัวพิจารณา

  1. ฝึกฝนการมีเมตตากับตัวเอง 

แม้ว่าจะไม่มีใครชอบที่จะอยู่กับความเศร้าซึมและความเครียด แต่คุณเองก็ไม่จำเป็นต้องรีบกดดันตัวเองให้ความรู้สึกนี้หมดไปไวๆ งานวิจัยทางจิตวิทยาพบว่า การมีความเมตตากรุณาต่อตนเอง (self-compassion) เช่น การใจดี ไม่กดดันตัวเองในช่วงเวลาที่รู้สึกแย่ การมองเห็นความผิดพลาดของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์คน ความสัมพันธ์กับการมีสติที่สูงขึ้นและยังสามารถช่วยลดความเครียดและความแปรปรวนทางอารมณ์ได้อีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย อาจารย์ อาภาพร อุษณรัศมี (อาจารย์หนูแนน)

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เอกสารอ้างอิง

Baier, M. (2009). THE “HOLIDAY BLUES” as a Stress Reaction. Perspectives in Psychiatric Care24(2), 64–68. https://doi.org/10.1111/j.1744-6163.1987.tb00283.x

American Psychological Association. (2009, December 10). Holiday blues that linger could be warning sign of depression [Press release]. https://www.apa.org/news/press/releases/2009/12/holiday-blues

Birnie, K., Speca, M. and Carlson, L.E. (2010), Exploring self-compassion and empathy in the context of mindfulness-based stress reduction (MBSR). Stress and Health, 26: 359-371. https://doi.org/10.1002/smi.1305

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย

ส่งเสริมพัฒนาเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team