เชียงใหม่ค่าฝุ่นพุ่งสูง เอาอีกแล้ว ฝุ่นก็กลัว ไวรัสก็กลัว ทำไงดี?
เรียกได้ว่าปัญหารอบด้านจริงๆ สำหรับคนไทย ในปีนี้ เพราะนอกจากปัญหา เรื่องไวรัส Covid-19 ที่ต้องตามอัพเดทข่าวรายวัน ข่าวที่เราเหมือนกันลืมกันไปแล้ว อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นข่าวที่อันตราย เช่นกัน ก็คือ เรื่องค่าฝุ่น PM 2.5 นั่นเอง ในประเทศไทย พื้นที่ ที่อันตรายมากที่สุดเลยก็คือ เชียงใหม่ค่าฝุ่นพุ่งสูง อีกแล้ว คนในพื้นที่จะต้องคอยระแวด ระวัง ให้ดี เพราะฝุ่น PM 2.5 นั้น แม้จะไม่ได้แสดงผล ร้ายแรง ถึงขั้นตายภายในทันที แต่มันจะส่งผลเสียต่อเราในระยะยาว ได้ซึ่งก็อันตราย ไม่แพ้กัน
ไวรัส และ ฝุ่นตัวร้าย
ไม่ว่าคุณะกลัวไวรัสหรือ ไม่ก็ตาม ถ้าคุณอยู่ที่เชียงใหม่ คุณควรที่จะใส่หน้ากาก กันฝุ่นไว้จะดีกว่า การใส่หน้ากาก จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลให้เกิดกับร่างกายของตัวคุณเอง รวมถึงตัวลูกด้วย ล่าสุด วันจากเว็บไซต์ Airvisual.com บ่งบอกว่าที่เชียงใหม่เป็นพื้นที่ ที่มีอากาศเป็นพิษ มากเป็นอันต้นๆของโลก มาแล้ว สองสัปดาห์ต่อกัน เมืองที่มีปัญหามลพิษ ในระดับที่ใกล้เคียงกันก็คือ ย่างกุ้ง(Yangon), กาฐมาณฑุ(Kathmandu) และ มุมไบ(Mumbai)
ค่าฝุ่นมลพิษ ที่เชียงใหม่ สูงมาก
เว็บไซต์โชว์ค่าเฉลี่ยของ มลพิษที่เกิดในบริเวณ มีตัวเลขสูงถึง 181 ลดลงจากเมื่อวานที่ 193 โดยเฉลี่ย และ ในบางพื้นที่ ก็มีค่าฝุ่นสูงถึง 230 เลยทีเดียว
สาเหตุที่ทำให้เกิด ค่าฝุ่นสุง เกิดมาจากหลายสาเหตุ ทั้งไฟป่า การลอบเผาป่า จากทั้งในประเทศไทยเอง และ ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า และ กัมพูชา ฝุ่นควันเหล่านั้น ถูกลมพัดตีเข้ามาในบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่
ค่าฝุ่นละออง กทม. เกินค่ามาตรฐาน
ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน คนท้อง ทารก อย่าออกกลางแจ้งนาน ๆ ควรสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- ผู้สูงอายุ
- เด็กเล็ก
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
กทม.ฝุ่นละอองเกิน! แม่ท้อง ทารก ระวังให้ดี หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
วิธีป้องกันอันตราย แม่ท้องต้องดูแลตัวเอง
คนท้อง ทารกหรือเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ควรป้องกันอันตราย ดังนี้
- ควรอยู่ภายในบ้าน
- เตรียมยาให้พร้อม
- ใช้หน้ากากกันฝุ่น
- รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5
PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียดที่เป็นส่วนหนึ่งของฝุ่นละอองที่แขวนลอยในบรรยากาศ มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 20 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ โดย PM2.5 มาจากการเผาไหม้ และการใช้พลังงานต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะ งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ การเผาวัชพืชและขยะ ปฏิกิริยาเคมีในอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดอาการไอ จาม แสบจมูก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก เป็นต้น
กรมอนามัยแนะ 6 ข้อดูแล “ลูกเล็กเด็กแดง” ป้องกันโรคร้ายระยะยาว โรคหลอดเลือดหัวใจ ผลต่อสติปัญญา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงเด็กเล็กได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสภาพอากาศที่มี ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เร่งสร้างความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงพร้อมแนะแนวทางการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศ
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูงอาจมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและความสามารถทางปัญญาของเด็ก เนื่องจากปอดของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีอัตราหายใจที่ถี่กว่า ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยงควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแลและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
กรมอนามัยได้กำหนดแนวทางการดูแลเด็กเล็กสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดังนี้
- ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย หรือแอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ในช่วงที่ปริมาณ PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเขียว (26-37 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 – 8 แก้วต่อวัน
- เด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
- หากค่า PM2.5 อยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
- ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ
- งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ
- ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
Source : thethaiger
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรสวมใส่หน้ากากป้องกัน คนท้อง ทารก เลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
ฝุ่นละออง pm 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน วิธีป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ อาการแบบไหนต้องหาหมอ
หยุดปัญหา ไรฝุ่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ด้วยเคล็ดลับทำความสะอาดบ้านอย่างทรงพลัง