ช่วยด้วย! ลูกก้าวร้าว บางคนชอบทำร้ายตัวเอง บางคนชอบทำร้ายคนอื่น

การแสดงอาการก้าวร้าวและเอาแต่ใจบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก เราจะมาอธิบายว่าทำไมเด็กเล็กบางคนชอบทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายคนอื่น และป้องกันอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วยด้วย! ลูกก้าวร้าว บางคนชอบทำร้ายตัวเอง บางคนชอบทำร้ายคนอื่น

ลูกสาวของฉันออกไปเล่นกับเด็กข้างบ้าน เขากัดแก้มเธอ แม่ของเขาขอโทษขอโพยเราเป็นการใหญ่ เธอบอกว่าเขาชอบกัดนู่นนี่เสมอ แต่ เขากัดเพราะความมันเขี้ยว ไม่ได้คิดจะทำร้ายคนอื่น เธอพยายามจะอธิบายให้เราฟังเกี่ยวกับนิสัยชอบกัดของลูกชายของเธอ ในขณะที่เราพยายามจะโอ๋ลูกสาววัย 18 เดือนของเราที่กำลังร้องไห้ แม่ของเขาแค่ดุเด็กชายนิดหน่อย แต่ ไม่ได้ลงโทษอะไร หลังจากนั้นเราก็ไม่ให้ลูกไปเล่นกับเด็กคนนั้นอีก และยังคอยระวังเมื่อเด็กชายอยู่ใกล้ลูกของเราอีกด้วย ทำไมลูกของเธอจึงมีท่าทีแบบนั้น สาเหตุของ ลูกก้าวร้าว มาจากอะไรนะ ?

ช่วยด้วย! ลูกฉันก้าวร้าว

 

สาเหตุของความก้าวร้าว

ลูก ก้าวร้าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความก้าวร้าวอาจเป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กอายุระหว่าง 1-3 ขวบ เด็กชอบกัด และ ทุบตีทำร้ายคนอื่นด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เลียนแบบเพื่อน ฟันงอก ความเครียด หรือแค่ลองผิดลองถูก สถาบัน American Academy of Child and Adolescent Psychiatry ระบุว่าพฤติกรรมเช่นนี้พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เพราะเด็กยังไม่รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ “เป็น เรื่องธรรมชาติสำหรับเด็กเล็กที่จะกัด เพราะ พวกเขาไม่สามารถอธิบายความรู้สึกของตัวเองออกมาเป็นคำพูดได้ และกำลังอยู่ในวัยหัดเรียนภาษา และ คำศัพท์ ดังนั้นเมื่อเขาโกรธหรือไม่พอใจ เขาจึงกัด เพราะการกัดบอกอารมณ์ได้ง่ายกว่า” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว

กันไว้ดีกว่าแก้

ลูก ก้าวร้าว

การป้องกันไม่ให้ลูกติดนิสัยก้าวร้าวนั้นง่ายกว่าการต้องมานั่งแก้นิสัยทีหลัง เมื่อคุณเห็นลูกกำลังจะตีหรือกัดเด็กคนอื่น เข้าไปกันก่อนที่เขาจะลงมือ ตักเตือนด้วยน้ำเสียงจริงจัง เพื่อให้ลูกเข้าใจ “ทำอย่างนั้นไม่ได้นะลูก” ถ้าลูกไม่สามารถรับอารมณ์ตัวเองได้ ให้ล็อคเขาไว้โดยการกอดเบา ๆ ไม่ให้เขาทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายคนอื่นได้จนกว่าจะสงบลง หรืออาจให้เขาไปนั่งสงบสติอารมณ์คนเดียวสักพัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเขาสงบลง คุยกับเขาและอธิบายให้เขาฟังว่าทำไมคุณถึงไม่ให้เขาตีหรือกัด ใช้คำเช่น “เราตีคนอื่นไม่ได้นะคะลูก” หรือ “เวลากัดคนอื่น เขาเจ็บนะลูก”

พยายามทำให้ลูกเข้าใจว่า คุณไม่พอใจกับพฤติกรรมของเขา ไม่ใช่ตัวเขา และสอนให้เขารู้จักการอธิบายอารมณ์โกรธหรือเครียด แทนการแสดงออก เช่น สอนให้เขาพูดว่า “ผมโกรธเพราะ…” หรือ “หนูไม่ชอบเพราะ…” เมื่อเขาไม่พอใจ

หนักแน่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อคุณห้ามไม่ให้เด็กตีหรือทำร้ายคนอื่น เด็กส่วนใหญ่จะตอบโต้ด้วยการร้องไห้ หรือ แสดงอาการไม่เชื่อฟัง การตอบสนองของผู้ปกครองคือสิ่งสำคัญที่จะกำหนดพฤติกรรมในอนาคตของเด็ก พ่อแม่ส่วนใหญ่มักใจอ่อนเมื่อเห็นลูกร้องไห้ แต่พึงระลึกไว้ว่าความรักกับการตามใจนั้นไม่เหมือนกัน เด็กจะจับได้ว่าจุดอ่อนของคุณคืออะไร หลายคนประสบปัญหากับการจัดการกับความดื้อของลูก และ มักกลบเกลื่อนด้วยคำพูดประมาณ “เด็กผู้ชายก็งี้แหละ” หรือ “เด็กวัยนี้ก็ดื้องี้แหละ”

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กที่ไม่ได้รับการดัดนิสัยจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่นิยมความรุนแรง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรหนักแน่นในความเป็นผู้นำของตนตั้งแต่ต้น และแสดงให้เด็กเห็นว่าพฤติกรรมใดที่คุณยอมรับได้และรับไม่ได้

ปัจจัยอื่น ๆ

ลูก ก้าวร้าว

แม้ว่าการกัดถือเป็นพฤติกรรมปกติสำหรับเด็ก แต่ การกัดหรือลงไม้ลงมือซ้ำ ๆ อาจส่อให้เห็นถึงปัญหาด้านพฤติกรรมซึ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เด็กที่ชอบทำร้ายคนอื่น กัด ตี จิก ข่วนเสมอ ๆ อาจกำลังแสดงความรู้สึกบางอย่างที่ซ่อนไว้เช่น อิจฉา ต่อต้าน ความทุกข์ หรือความเครียด ความก้าวร้าวจะหายไปเมื่อเด็กได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ

นาโอมิ อัลดอร์ต ผู้เขียนหนังสือ Raising Our Children, Raising Ourselves ระบุว่าพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กเป็นกลไกการป้องกันตัวจากความรู้สึก “หมดหนทาง” เธอแนะนำให้เล่นเกมที่ต้องใช้คำสั่ง เช่น ไซม่อน เซย์ส หรือทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้ควบคุมอะไรเองบ้าง จะช่วยบรรเทาความรู้สึกนั้นได้

การปล่อยให้เด็กดูรายการโทรทัศน์ที่มีความรุนแรงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกรายการให้เหมาะสมกับลูกเพื่อเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

5 วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว ดื้อด้าน เอาแต่ใจ พ่อแม่ต้องทำยังให้ลูกเป็นเด็กดี มีมารยาท

ลูกก้าวร้าว พูดว่า “ไม่” ตลอดเวลา

ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

ที่มา: 1, mamastory

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team