หัวใจวาย มีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย
อาการหัวใจวายจะเกิดขึ้นได้เมื่อการไหลลเวียนของเลือดไปยังหัวใจนั้นถูกปิดกั้น การอุดตันส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไขมัน โคเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ ซึ่งก่อตัวเป็นคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจบางครั้ง คราบพลัคสามารถแตกและก่อตัวเป็นก้อนที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด การไหลเวียนของเลือดที่ถูกขัดจังหวะสามารถทำลายหรือทำลายส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหัวใจได้อาการหัวใจวายหรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายอาจถึงแก่ชีวิตได้
หัวใจวาย คืออะไร
หัวใจวาย (Heart Failure) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจนั้นสูญเสียการทำงาน จนไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ โรคหัวใจวายสามารถเกิดได้ในทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในคนสูงอายุโดยเฉพาะในเพศชาย หัวใจวัยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ และความดันโลหิตสูงจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง โรคหัวใจวายเป็นโรคที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ แต่สามารถที่จะดูแลรักษาควบคุมไม่ให้เกิดอาการทรุดลงหนักไปกว่าเดิมได้
อาการหัวใจวาย
อาการของหัวใจวาย เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจนั้นทำงานลดลงเนื่องจากความอ่อนแอ หรือการเสื่อมสภาพ ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดนั้นผิดปกติ และเป็นเหตุให้เลือดไม่สามารถที่จะไหลเวียนนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาการที่มักพบได้แก่
- อาการหายใจลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจสั้น และหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะหลังจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ หากอยู่ในขั้นที่มีความรุนแรงอาจจะเป็นในระหว่างที่พักด้วย จะยิ่งหนักขึ้นเมื่อผู้ป่วยนอนราบ ซึ่งอาจนำมาสู่การสะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่ออก
- อาการขาและข้อเท้าบวม อาการขาและข้อเท้าบวมเกิดจากการบวมน้ำ โดยจะมีอาการบวมเกือบตลลอดทั้งวัน ยกเว้นในเวลาช่วงเช้าที่จะไม่รุนแรงมากนัก
- อาการอ่อนเพลีย อาจจะมีอาการเหนื่อยเกือบตลอดเวลา และอาจจะเป็นลมได้หากทำการออกกำลังกาย
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจจะพบได้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจวายได้ เช่น
- มีอาการไอเรื้อรัง และจะมีอาการไออย่างรุนแรงมากขึ้นในเวลากลางคืน
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม
- มีอาการหายใจแล้วมีเสียง
- มีอาการมึนงง
- ใจสั่น จากการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
- ท้องอืด
- มีความอยากอาหารลดลง
- น้ำหนักขึ้น หรือลดผิดปกติ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ควรเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉินโดยด่วนที่สุด เพราะอาจเป็นอาการหัวใจวายขั้นรุนแรงที่หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้
สาเหตุของหัวใจวาย
สาเหตุของหัวใจวายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แลไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวเสมอไป โดยมักจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจ การอุดตัดของหลอดเลือด เป็นสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหัวใจวายได้
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงทำให้เกิดแรงดันที่หัวใจมากขึ้น หากติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจสูญเสียการทำงาน เป็นสาเหตุของหัวใจวาย
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ คือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่
- การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งทำให้การเต้นของหัวใจแปรปรวน
- ปัญหาที่ลิ้นหัวใจ ความเสียหายของลิ้นหัวใจ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดบริเวณแถวลิ้นหัวใจ ส่งผลให้การทำงานของหัวใจลดลงได้
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ป่วยอาจจะเกิดหัวใจวายได้หากมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้
- โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นอาจจะทำให้ความเสี่ยงโรคความดันโลหิต และโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้นได้
- การใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาไพโอกลิตาโซน ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ยาแก้ปวดชนิดเอ็น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาฆ่าเชื้อ ยารักษาโรคปอด ยาเหล่านี้อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงหัวใจวายได้
- การหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดนั้นต่ำลง และเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของหัวใจวายได้
- การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจส่งผลรุนแรงให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดตวามเสียหายได้
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จะทำให้กล้ามหัวใจอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายได้
- โรคอ้วน ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากก็ยิ่งจะทำมีความเสี่ยงต่อหัวใจวายมากขึ้น
การรักษาหัวใจวาย
การรักษาภาวะหัวใจวายเป็นภาวะที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถที่จะควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมีการรักษามากมายหลายวิธีที่จะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ต้องทำควบคู่กับการเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ชีวิตด้วย เพราะจะช่วยให้อาการหัวใจวายทุเลาลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงต่ออาการที่ร้ายแรงมากขึ้นได้ด้วย โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
- เลิกสูบบุหรี่
- ควบคุมปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำเท่าที่สามารถ
นอกจากนี้แล้ว ยังมีวิธีการรักษาที่แพทย์นั้นนิยมเลือกใช้เป็นตัวเลือกต้น ๆ ได้แก่
การใช้ยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นต้องใช้ยาในการรักษาอาการ และอาจจะใช้ยาหลาย ๆ ตัวร่วมกันเพื่อควบคุมอาการ และลดความเสี่ยง ซึ่งยาที่แพทย์มักสั่งจ่ายให้ผู้ป่วย ได้แก่
- เอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors)
- ยาปิดกั้นการทำงานของแองกิโอเทนซิน รีเซฟเตอร์ (Angiotensin Receptor Blockers: ARBs)
- ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า (Beta-Blockers)
- ยาลดการบีบตัวของหัวใจ (Hydralazine with Nitrate)
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
- ยาไดจอกซิน (Digoxin)
อย่างไรก็ตาม คุณควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการที่แน่ชัด เพื่อความปลอดภัย และเพื่อรักษาอาการอย่างทันท่วงที
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนมักเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจของคุณระหว่างอาการหัวใจวาย ซึ่งอาจนำไปสู่:
- จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmias) “ไฟฟ้าลัดวงจร” อาจเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้
- หัวใจล้มเหลว. อาการหัวใจวายอาจทำให้เนื้อเยื่อหัวใจเสียหายมากจนกล้ามเนื้อหัวใจที่เหลืออยู่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้เพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรืออาจเป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากความเสียหายที่กว้างขวางและถาวรต่อหัวใจของคุณ
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน. โดยไม่มีการเตือน หัวใจของคุณจะหยุดเนื่องจากการรบกวนทางไฟฟ้าที่ทำให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmia) หัวใจวายเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่ต้องรักษาทันที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อาการต้อกระจกเป็นอย่างไร โรคต้อกระจกคืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก
โรคPCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ คืออะไร มีวิธีรักษาหรือไม่
โรคทางพันธุกรรม คืออะไรอันรายหรือไม่ ป้องกันได้รึเปล่า?
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mayoclinic , pobpad