เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

อุทยานแห่งชาติ คือพื้นที่สำหรับคุ้มครองทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเราจะพาไปรู้จักกับ 8 อุทยานแห่งชาติที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ ที่บอกเลยว่าคุณจะต้องประทับใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกแฝด เลี้ยงยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร การมีลูกมีหนึ่งว่ายากแล้ว พอมีสองยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การมีลูกแฝดจะต้องมีวิธีรับมือหรือเตรียมตัว เตรียมใจอย่างไรบ้างไปดูกันดีกว่า

 

ลูกแฝด ความซนคูณสอง

ฝาแฝด หรือลูกแฝด เป็นการปฏิสนธิของอสุจิ 1 ตัว และไข่ 1 ฟอง แต่กระบวนการแยกตัวนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือมากกว่านั้น ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นจะกลายมาเป็นเด็ก 2 คนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นชุดเดียวกัน ทำให้พวกเขาออกมามีลักษณะภายนอกคล้ายกันนั่นเอง หรือแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิของอสุจิ 2 ตัว และไข่ 2 ฟอง ซึ่งส่วนใหญ่วิธีนี้จะเป็นการผสมเทียม ไม่ว่าจะเป็น IUI หรือ IVF ซึ่งทำให้เด็ก ๆ ที่ออกมานั่นมีลักษณะต่างกันออกไปนั่นเอง

 

ความท้าทายของการมีลูกแฝด

จะเรียกได้ว่าโชคดีก็ได้หากคุณแม่ที่สามารถตั้งครรภ์ลูกแฝดได้โดยธรรมชาติ เพราะคลอดเพียงครั้งเดียวก็ได้ทารกมาถึง 2 คน เรามาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นต้องเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง

 

1. การตั้งครรภ์ที่ยากลำบาก

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงแม้ว่าจะมีลูกพร้อมกัน 2 คนที่ถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีมากแล้ว แต่ก็ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตามมาอีกมากมาย ครรภ์แฝดส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องอาการแทรกซ้อน รวมถึงอาการต่าง ๆ ที่เพิ่มความวิตกกังวล และความกลัวให้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กับสภาพร่างกายที่อึดอัดของการท้องลูกทั้ง 2 คน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แฝดที่พบมาก

    • มีโอกาสเกิดภาวะแท้งสูงกว่าการท้องลูกคนเดียว หรือการท้องแบบทั่วไปถึง 3 เท่า
    • การคลอดก่อนกำหนด โดยพบมากถึงร้อยละ 60 ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด
    • ทารกคนใดคนหนึ่งมีการเจริญเติบโตช้าที่ช้ากว่า หรือขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากัน
    • เกิดภาวะการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus)
    • เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ (Gestational HT or Preeclampsia)
    • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือภาวะรกเกาะต่ำ
    • มีโอกาสที่จะต้องผ่าคลอดสูง เนื่องจากท่าทางของทารกที่อยู่ในครรภ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลอดโดยธรรมชาติ
    • ภาวะตกเลือดหลังคลอด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. การนอนหลับไม่เพียงพอ

หลังจากผ่านมรสุมช่วงตั้งครรภ์มาได้ ด่วนแรกที่จะพบคือการร้องไห้ไม่หยุด และการนอนไม่เป็นเวลาของเด็กแฝด พวกเขาอาจพากันร้องงอแงกลางดึก หรือเสียงร้องคนอีกคนอาจทำให้เจ้าตัวน้อยอีกคนตื่นมาร้องประสานเสียงกันในยามค่ำคืน ดังนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคุณแม่คุณแม่ที่มีลูกแฝดที่จะได้นอนเต็มอิ่ม

บทความที่น่าสนใจ :  ลูกนอนหลับยากทำยังไง? วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน แม่จะได้นอนสักที!

 

3. การแบ่งความรัก

ในการมีลูกคนเดียวมักไม่ค่อยประสบกับปัญหานี้มากนัก แต่ไม่สามารถใช้ได้กับการเลี้ยงลูกแฝด เพราะในช่วงเวลาที่พวกเขากำลังเจริญเติบโตนั้น พวกเขาต้องการความรัก และการใส่ใจเป็นอย่างมาก คุณต้องบริหาร และวางตัวให้เด็ก ๆ ทั้งสองคนของคุณมั่นใจว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นั้นเป็นการแสดงออกถึงความรักที่เท่าเทียมกัน ไม่มีใครได้รับความรักมากกว่า หรือไม่ได้รับความรักจากพวกคุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. การบริหารจัดการ

เมื่อพวกเขาโตขึ้น และได้เข้าโรงเรียนหรือสังคม ในบางครอบครัว ฝาแฝดอาจมีความต้องการที่จะอยู่ด้วยกันตลอดเวลา หรือไม่อยากแยกออกจากกัน แต่ในบางบ้านอาจมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้คุณต้องมีเรื่องปวดหัว คุณควรที่จะบริหารจัดการเรื่องนี้ให้ดี เพราะคุณไม่สามารถแก้ปัญหาของลูกทั้งสองคนที่อยู่แยกกันในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งแน่นอนว่าปัญหานี้จะเริ่มขึ้นเมื่อลูกของคุณเข้าโรงเรียน และเริ่มเป็นวัยรุ่น และได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ

 

 

5. การทะเลาะวิวาทของลูกแฝด

เลี่ยงไม่ได้สำหรับการทะเลาะวิวาทภายในครอบครัว แต่สำหรับลูกแฝดแล้ว ฝาแฝดของเขาคือเพื่อนที่ดีที่สุด ถึงในบางครั้งพวกเขาจะทะเลาะกันบ้างก็ตาม หรืออาจเกิดการแข่งขัน เปรียบเทียบ คุณควรที่จะบอกพวกเขาว่าควรจัดการความรู้สึกอย่างไร และทำไมพวกเขาไม่ควรที่จะทะเลาะกัน

 

6. การเท่าเทียมกัน

เมื่อมีลูกสองคนอายุเท่ากันพ่อแม่มีความกดดันอย่างมากที่จะต้องดูแลทุกอย่างให้เท่าเทียมกัน สิ่งที่คุณทำเพื่อคนหนึ่งคุณต้องทำเพื่ออีกคนหนึ่ง คุณต้องให้พวกเขาเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ในบางครั้งคุณอาจต้องหยุดทำกิจกรรมบางอย่างสำหรับลูกคนหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างลูกทั้งสองคน

 

7. บุคลิกของลูกแฝด

ความสัมพันธ์ของลูกแฝดนั้นมีลักษณะเฉพาะ และซับซ้อน ฝาแฝดนั้นหมายถึงการมีเด็กมากกว่า 1 คน ซึ่งแน่นอนว่าคุยเลี้ยงพวกเขาให้มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่คนภายนอกมักพูดถึงการแสดงถึงความเป็นคู่ และตั้งคำถามมากมาย ว่าทำไมถึงต้องแต่งตัวเหมือนกัน เด็กสองคนนี้หน้าตาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร หรือแม้แต่ความชอบส่วนบุคคล คนเป็นพ่อแม่ไม่สามารถห้ามบุคคลภายนอกพูดถึงเรื่องนี้ได้ แต่คุณสามารถที่จะเรียนรู้ ศึกษา ตัวตนและความรู้สึกของเด็ก ๆ ให้มากกว่า เพื่อไม่ทำให้พวกเขาถูกมองว่าเขาเหมือนกัน หรือเป็นคนคนเดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

8. ระเบียบภายในบ้าน

การเลี้ยงลูกแฝด ความวุ่นวายที่คุณไม่สามารถหยุดได้ การที่พวกเขามีเพื่อนร่วมคิด ร่วมลงมือ จึงทำให้พวกเขาสามารถสร้างปัญหาให้คุณไม่เว้นแต่ละวัน โดยคุณต้องสอนให้พวกเขานั้นรู้จักกฎระเบียบว่าอะไรที่พวกเขาควรทำ หรือไม่ควรทำ นอกจากนี้คุณยังต้องสอนให้เขาเข้าใจถึงการแบ่งปัน และการให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วย

 

9. การเลือกปฏิบัติ

หนึ่งในแง่มุมที่น่าสะเทือนใจที่สุดของการเลี้ยงดูคือ การเห็นลูกของคุณเจ็บปวด หรือผิดหวัง และในขณะที่ลูกแฝดมักพบว่า ตัวเองได้รับผลประโยชน์จากการได้รับสิทธิบางอย่างเนื่องจากสถานะของคู่แฝด แต่ในบางครั้งพวกเขาก็เผชิญกับการเลือกปฏิบัติ และต้องเผชิญกับความผิดหวัง พวกเขาอาจต้องต่อสู้กับสถานการณ์ทางสังคม หรือมีปัญหากับมิตรภาพระหว่างฝาแฝดด้วยกัน หรือบางคนอาจตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งของอีกคน คุณควรระวังและใส่พวกเขาให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

 

ถึงแม้การเลี้ยงลูกแฝดนั้นดูเป็นเรื่องที่ยากจะรับมือ แต่สิ่งที่คุณได้รับกลับมาก็คุ้มมากพอที่คุณจะสามารถทนเรื่องลำบากต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความน่ารักแบบคูณสอง ความรักที่คุณได้รับจากพวกเขาแบบคูณสอง หรือจะเป็นความสุขที่ได้แบบคูณสอง การมีลูกแฝดไม่ได้มีแต่ความยากลำบากเสมอไปนะคะ

 

ที่มา : bountyparents, care, verywellfamily, med.cmu.ac.th

บทความโดย

Siriluck Chanakit