ผมร่วง 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 87

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะ ผมร่วง หลังคลอด เป็นปัญหาใหญ่ที่คุณแม่ ๆ หลายคนกำลังหนักใจเป็นอย่างมาก และไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไงดี เพราะทุกครั้งที่สางผม หรือแค่เสยผม ก็มีผมที่หลุดร่วงตามหวีตามมือมาเป็นกำกันเลยทีเดียว บางคนที่ผมเยอะก็ยังโชคดีไปค่ะ ส่วนคนที่ผมน้อย เดิมทีก็ผมน้อยอยู่แล้ว ยังมาเจอกับปัญหา ผมร่วง แบบนี้อีก ศีรษะเราจะล้านมั้ยนะ ทำยังไงถึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ก่อนที่เส้นผมจะอำลาไปจนหมดหนังศีรษะ

ทั้งนี้อาการ ผมร่วง หลังคลอดไม่ใช่ภาวะอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งจะพบได้ประมาณ 40 – 50 % ของสตรีหลังคลอด แต่ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เพราะปกติแล้ว ผมที่ร่วงนั้น เป็นแค่ส่วนน้อย หรือประมาณ 5 – 15 เปอร์เซ็นต์จากผมทั้งหมดบนหนังศีรษะเท่านั้นค่ะ

และคนที่มีอาการนี้จะพบว่า ผมเริ่มร่วงในช่วงประมาณ 2 – 3 เดือนหลังคลอด และผมจะหยุดร่วงในช่วง 3 – 6 เดือน และผมยาวเต็มที่ในระยะ 12 – 18 เดือนหลังคลอดค่ะแต่ถ้าหากผ่านพ้นไปนานเป็นปี

แต่ถ้าหากผ่านพ้นไปนานเป็นปี แต่ผมของคุณแม่ยังคงหลุดร่วงอย่างต่อเนื่อง เหมือนช่วงแรก ๆ หลังจากคลอดมาใหม่ ๆ ก็ควรจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรวจสอบ ระดับฮอร์โมน หรือสิ่งผิดปกติที่จะเกิดขึ้นจะดีที่สุดค่ะ

ผมร่วงหลังคลอดเกิดจากอะไร ?

อาการผมร่วงหลังคลอดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย โดยปกติผมของคนเราร่วงเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว แต่เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผมร่วงลดลง และทำให้ผมดูมีสุขภาพดี แต่หลังจากคลอดบุตรแล้ว ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะลดลง ทำให้ผมที่หยุดร่วงกลับสู่วงจรเดิมอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ การที่ดูเหมือนว่าผมร่วงมากกว่าปกติหลังคลอดนั้น จึงมีที่มาจากผมที่หยุดร่วงนาน 9 เดือนกลับมาร่วงพร้อมกันหลังฮอร์โมนลดลงนั่นเอง

ผมร่วงหลังคลอดเป็นอาการอันตรายหรือไม่ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการผมร่วงหลังคลอดถือว่าไม่เป็นอันตรายและไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ส่วนผู้ที่มีอาการดังกล่าวก็ไม่ต้องวิตกกังวลแต่อย่างใด เพราะโดยปกติแล้วผมที่ร่วงนั้นเป็นแค่ส่วนน้อยหรือประมาณ 5 – 15 เปอร์เซ็นต์จากผมทั้งหมดบนหนังศีรษะเท่านั้น และส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการนี้จะพบว่าผมเริ่มร่วงเมื่อเข้าสู่ช่วงประมาณ 3 – 4 เดือนหลังคลอด โดยอาการมักหายไปเองเมื่อถึงช่วง 6 เดือนหลังคลอด

วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด

ผู้ที่มีอาการผมร่วงหลังคลอดส่วนใหญ่จะมีผมร่วงไม่มาก และผมจะงอกขึ้นมาใหม่ได้เอง หลังจากผ่านไปสักระยะหนึ่ง แต่หากคุณแม่รู้สึกอาย หรือไม่สบายใจที่ผมร่วง สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยปกติการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่มีส่วนช่วยให้ผมกลับมางอกขึ้นใหม่ได้ แต่หากต้องการให้ผมงอกขึ้นใหม่โดยเร็ว ให้เน้นรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว มันฝรั่ง ผักใบเขียว เป็นต้น
  2. รับประทานอาหารเสริมหรือวิตามิน วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสี ล้วนมีส่วนช่วยบำรุงเส้นผม แต่ในความเป็นจริงการรับประทานอาหารในมื้อปกติก็ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพออยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ยังได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมได้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
  3. หวีผมอย่างเบามือ เพราะการหวีผมอย่างรุนแรงนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ และอาจทำให้อาการผมร่วงแย่ลงไปอีก ดังนั้น จึงควรหวีผมอย่างเบามือ และหวีผมวันละครั้งก็เพียงพอแล้ว
  4. ใช้ครีมนวดหรือเจลแต่งผมเพื่อให้ผมดูมีน้ำหนัก การใช้ครีมนวดหรือเจลแต่งผมเพื่อช่วยให้ผมดูเป็นมันเงาและมีน้ำหนักขึ้นนั้น สามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่มีอาการผมร่วงหลังคลอดได้เป็นอย่างดี
  5. ตัดผมให้สั้นลงหรือใช้อุปกรณ์ปกปิดจุดที่ผมร่วง หากผมร่วงเป็นปริมาณมากจนมองเห็นหนังศีรษะ อาจแก้ไขเบื้องต้นด้วยการตัดผมให้สั้นลงเพื่อลดอาการผมร่วง หรือหาอุปกรณ์ช่วย เช่น สวมหมวก ใช้ที่คาดผม หรือติดของตกแต่งทรงผม เพื่อปกปิดบริเวณที่มีอาการผมร่วง เป็นต้น
  6. เปลี่ยนทรงผมหรือมัดผม โดยอาจใช้วิธีเซ็ตผมให้เป็นลอน ม้วนเกลียว หรือทำเป็นทรงอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผมดูหนาขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คุณแม่ โดยนอกจากการปรับเปลี่ยนทรงผมแล้ว การมัดผม หรือรวบผมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะในระหว่างที่ดูแลลูกน้อย เด็กอาจดึงผมจนทำให้อาการผมร่วงแย่ลงอีกได้ แต่ไม่ควรรัดผมแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้ผมร่วงได้เช่นเดียวกัน
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม ไม่ควรใช้ไดร์เป่าผมหรือใช้เครื่องหนีบผมด้วยความร้อน เพราะจะยิ่งทำให้เส้นผมบางลงกว่าเดิมจนคุณแม่อาจสูญเสียความมั่นใจได้ ดังนั้น หลังสระผมเสร็จ ควรปล่อยให้ผมแห้งเองตามธรรมชาติ หรืออาจใช้ผ้าช่วยซับน้ำให้ผมแห้งเร็วขึ้นแทนการใช้ความร้อน

การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลังคลอด

การตั้งครรภ์ทำให้ฮอร์โมนต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็ได้แก่เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ออกซิโทซิน และโปรแลคติน ปริมาณของเลือดก็เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ทันทีที่คุณคลอดลูก ฮอร์โมนหลายๆ ชนิดก็จะลดระดับอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนด้วย ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะกลับเข้าสู่ระดับบปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ถึงแม้ฮอร์โมนโปรแลคตินจะยังคงสูงอยู่ตราบใดที่คุณให้ลูกน้อยกินนมแม่ นอกจากนี้ปริมาณของเลือดก็ลดลงด้วยนะ แต่จะเป็นแบบค่อยๆ ลด และจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในสองถึงสามสัปดาห์หลังคลอด

ฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อเส้นผมอย่างไร

เมื่อระดับฮอร์โมนตกฮวบหลังคลอดลูก ก็ทำให้เกิดอาการผมร่วงแบบเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเทียบไม่ได้กับอาการผมร่วงในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาเลย เนื่องจากอาการผมร่วงคราวนี้จะเกิดขึ้นรุนแรงแบบครั้งเดียวจอด อาการผมร่วงหลังคลอดนั้นจะเกิดขึ้นหลังคลอดวันไหนก็ได้ และบางครั้งก็จะเกิดแบบต่อเนื่องยาวนานได้ถึงหนึ่งปีเต็ม แต่ช่วงพีค ๆ คือช่วงประมาณ เดือนแรก ฉะนั้นถ้าลูกน้อยของคุณมีอายุแค่สองสามเดือน แล้วคุณยังมีอาการผมร่วงเป็นกำ ๆ ไม่ยอมหยุด ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง

วิธีเยียวยาอาการผมร่วงหลังคลอด

อาการผมบางหลังคลอดถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณไม่ได้เป็นกังวลในเรื่องนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเยียวยาใดๆ แต่ถ้าอาการผมร่วงทำให้คุณต้องกลุ้มใจ ก็ยังมีวิธีเยียวยาอยู่บ้างที่จะทำให้เส้นผมของคุณดูหนาและมีสุขภาพดีขึ้นได้ ซึ่งวิธีพวกนั้นก็ได้แก่

1. เลิกแต่งผมชั่วคราว

การใช้ความร้อนในการแต่งผมไม่ว่าจะเป็นไดร์เป่าผมหรือคีมดัดผมไฟฟ้า อาจทำให้เส้นผมของคุณดูบางลงได้ ฉะนั้นพยายามอย่างแต่งผมอะไรมากนัก ปล่อยให้เส้นผมแห้งเองตามธรรมชาติจนกว่าอาการผมร่วงจะหายไปดีกว่า นอกจากนี้การแปรงผมแรงๆ ก็อาจทำให้ผมร่วงมากขึ้นได้ ฉะนั้นก็เบามือในการแปรงผมหน่อย และอย่าแปรงผมมากกว่าวันละหนึ่งครั้ง เอาเวลาแปรงผมไปกอดลูกสุดที่รักของคุณดีกว่า

2. กินวิตามิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณไม่ควรใช้วิตามินมาทดแทนการกินอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณต้องป้อนอาหารให้ลูกผ่านทางน้ำนมด้วย แต่ถ้าคุณกินอาหารได้ไม่พอเพียง การใช้อาหารเสริมก็น่าจะช่วยได้บ้าง ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานอะไรที่บ่งบอกว่าวิตามินชนิดไหนที่มีผลต่ออาการผมร่วง แต่วิตามินก็ยังมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้กินวิตามินเหมือนในช่วงตั้งครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณให้ลูกกินนมแม่

3. ใช้แชมพูชนิดเพิ่มความหนา

โชดดีที่ยุคนี้มีแชมพูชนิดเพิ่มความหนาแบบเวิร์คๆ อยู่มากมาย ในขณะที่แชมพูแบบที่ช่วยปรับสภาพเส้นผมนั้นอาจทำให้เส้นผมลีบแบนลงมาได้ รวมทั้งทำให้เส้นผมดูบางลงกว่าปกติด้วย แต่แชมพูแบบเพิ่มความหนาให้เส้นผมนั้นจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เส้นผม ทำให้เส้นผมดูพองหนาได้อย่างยาวนาน

4. ใช้ผลิตภัณฑ์แต่งผม

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้มูสส์แต่งผม เพื่อช่วยสร้างภาพลวงตาให้ผมดูหนาขึ้น ซึ่งถ้าจะให้ดีก็ควรเปลี่ยนทรงผมซะด้วยเลย ลองปรึกษาช่างตัดผมดูนะ ว่าจะตัดทรงไหนแล้วช่วยให้แต่งผมให้ดูหนาได้ง่ายขึ้นบ้าง ถ้าคุณไว้ผมยาวในระดับเดียวกันมาตลอด ก็น่าจะลองเปลี่ยนเป็นผมซอยบ้าง นอกจากนี้ก็ควรใช้คอนดิชันเนอร์แบบไม่ต้องล้างออกหลังสระผมด้วย

5. ลองเปลี่ยนสีผม

การเปลี่ยนสีผมจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เส้นผมได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณรู้สึกว่าผมสีเข้มๆ ของคุณดูบาง ก็อาจเพิ่มมิติให้เส้นผมดูหนาขึ้นด้วยการทำไฮไลท์บริเวณด้านหน้า ก็จะช่วยทำให้เส้นผมดูหนาขึ้นได้ หรือไม่ก็ลองทำทรีทเม้นท์ที่ช่วยให้เส้นผมดูเป็นเงางามทั่วทั้งศีรษะได้ นอกจากนี้คุณอาจใช้วิธีเปลี่ยนแสกร่วมด้วยก็ได้ อย่างเช่น ถ้าเคยแสกกลางก็เปลี่ยนมาแสกข้างซะ

6. เปลี่ยนเท็กซ์เจอร์

สภาพผมทีเหยียดตรงมักจะทำให้ผมดูบางลงได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นถ้าคุณเคยใช้ไดร์เป่าผมหยิกๆ ของคุณให้ดูเหยียดตรงล่ะก็ ควรหยุดการกระทำดังกล่าวได้แล้ว และปล่อยให้เส้นผมแห้งเองตามธรรมชาติ หรือไม่ก็ลองใช้โรลม้วนผมไฟฟ้าหรือคีมม้วนผมไฟฟ้า เพื่อช่วยทำให้ทรงผมดูพองสวยขึ้นได้ นอกจากนี้อาจใช้เครื่องประดับผม อย่างเช่น ที่คาดผม ผ้าพันผม หรือผ้าโพกศีรษะเก๋ๆ เพื่อช่วยอำพรางอาการผมร่วงได้อย่างมีสไตล์

จะดูแลรักษาอาการผมร่วงหลังคลอดได้อย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอ เช่น ไข่แดง (สัปดาห์ละ 3 ฟอง) ผักที่มีสีเขียวเข้ม (เช่น ผักคะน้า ผักโขม) รวมถึงอาหารทะเลที่มีสังกะสีสูง เช่น หอยต่างๆ ก็จะช่วยเสริมสร้างเส้นผมได้ นอกจากนี้ ควรสระผมด้วยแชมพูอ่อนๆ ร่วมกับการนวดศีรษะเป็นระยะ ๆ ในขณะที่สระผม เพื่อให้มีเลือดมาเลี้ยงที่ศีรษะมากขึ้น ในรายที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ อาจมีการนอนศีรษะต่ำสักวันละ 10 – 15 นาที เพื่อให้เลือดลงมาเลี้ยงที่หนังศีรษะมากขึ้น

สุดท้ายนี้ หากคุณแม่เป็นกังวลเกี่ยวกับอาการผมร่วงหลังคลอด โดยคิดว่าผมของตนเองนั้นร่วงมากผิดปกติ หรืออาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดบุตรแล้วกว่า 1 ปี ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะอาการผมร่วงก็อาจเป็นสัญญาณของโรคบางชนิดได้ด้วย เช่น โรคโลหิตจาง หรือโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เป็นต้น

 

ที่มา : รพ.บำรุงราษฎร์ , pobpad , synphaet

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีรับมือกับปัญหาผมร่วง ลดผมร่วง ทำอย่าง ปัญหาหนักใจที่หลาย ๆ คนต้องเจอ

เปิดไอเดีย ทรงผมคุณแม่หลังคลอด ผมร่วง ผมบาง ทำผมทรงไหนได้บ้าง

บทความโดย

ammy