สิทธิบัตรทอง คนท้อง และลูกน้อย สิทธิประโยชน์ดีๆ ที่แม่ควรรู้
สิทธิบัตรทอง หรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. )เป็นสวัสดิการเบิกค่ารักษารพ.รัฐ หรือสถานพยาบาลใดๆ ที่ลงทะเบียนกับทางรัฐ ของประชาชนคนไทยทุกคนที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่มีสิทธิ์เบิกใน สวัสดิการข้าราชการ, กองทุนประกันสังคม, สวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น, สวัสดิการของหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยให้สิทธิประโยชน์กับแม่ท้อง และเด็ก ดังต่อไปนี้
กลุ่มแม่ตั้งครรภ์
- บริการฝากครรภ์คุณภาพ
- บริการตรวจหลังคลอด
- บริการเยี่ยมบ้าน
- บริการส่งเสริมการให้นมแม่ในสถานที่ทำงาน
กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0-5 ปี
- บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป
- บริการวิตามินเค
- บริการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน
- บริการวัคซีนป้องกันโรค
- วัณโรค (BCG)
- ไวรัสตับอักเสบบี (HB)
- คอตีบ บาดทะยัก และไอกรนชนิด ทั้งเซลล์ และตับอักเสบบี (DTwP-HB) และวัคซีนป้องกัน คอตีบ บาดทะยัก และไอกรนชนิด ทั้งเซลล์ (DTwP)
- โปลิโอชนิดกิน/ฉีด (OPV/IPV)
- หัด หัดเยอรมัน และคางทูม (MMR)
- ไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
- ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
- บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- บริการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กจากการวัดเส้นรอบศีรษะเด็ก
- บริการตรวจการคัดกรองพัฒนาการเด็ก
- บริการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติ
- บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และการทาฟลูออร์ไรด์วาร์นิช
- บริการยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- บริการยาต้านไวรัสเอดส์ และตรวจการติดเชื้อเอชไอวี
- บริการนมผงทารกสำหรับเด็กที่เกิดจากแม่ติดเชื้อเอชไอวี
- บริการสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
- บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน
กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6 – 24 ปี
- บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั่วไป
- บริการวัคซีนป้องกันโรค
- วัณโรค (BCG)
- คอตีบบาดทะยัก (DT)
- โปลิโอชนิดกิน (OPV)
- หัด หัดเยอรมัน และคางทูม (MMR)
- ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
- บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- บริการคัดกรองสุขภาพช่องปากในโรงเรียน
- บริการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติ
- บริการคัดกรองความผิดปกติทางการได้ยิน
- บริการประเมินการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ
- บริการคัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเสพสารเสพติด
- บริการให้คำปรึกษา และคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี
- บริการวัดความดันโลหิต
- บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กเพื่อป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- บริการเคลือบฟลูออไรด์
- บริการเคลือบหลุมร่องฟัน
- บริการอนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกัน การควบคุมการตั้งครรภ์วัยรุ่น และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
- บริการสมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน
- บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน
นอกจากนี้ สปสช.ได้สนับสนุนดูแลเด็กพิการแต่กำเนิดโดยจดทะเบียนเด็กที่มีความพิการ 5 อันดับโรคแรกที่พบความพิการได้แก่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แขนขาพิการแต่กำเนิด ปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการดาวน์ และภาวะหลอดประสาทไม่ปิด เพื่อให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
อ่านต่อเพิ่มเติม >>
สำหรับโรคทางจิตเวช
- ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวช ทั้งผู้ป่วย นอกและผู้ป่วยใน โดยไม่จำกัดวันนอนโรงพยาบาล
- มีบริการต่อเนื่องในชุมชน
- คุ้มครองการฆ่าตัวตายจากทุกสาเหตุ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการฆ่าตัวตาย
- มีการบริหารจัดการยาจิตเวชเป็นกรณีเฉพาะ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาตามความจำเป็น
สำหรับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (ไขกระดูก)
- ครอบคลุมการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (รวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัวและจ่าย ตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม) ยกเว้นปี 2552 มีการบริหารจัดการพิเศษการผ่าตัดปลูก ถ่ายกระจกตาโดยมีการแยกจ่ายชดเชย ค่าบริการ
- มีการบริหารจัดการเฉพาะโรค ในลักษณะโครงการนำร่อง (ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551-ปัจจุบัน) คือ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เม็ดเลือด (ไขกระดูก) ในการรักษาผู้ป่วย Leukemia & Lymphoma เพื่อพัฒนาระบบบริการให้พร้อมรองรับการเข้าถึงบริการในอนาคต ตามหลัก เกณฑ์ที่ตกลงกับสถานพยาบาล และเหมาจ่าย 800,000 บาท/ราย
สำหรับการทำฟัน
- ถอนฟันในกรณีปกติ
- ศัลยศาสตร์ช่องปาก ผ่าฟันคุด (ยกเว้น การผ่าฟันคุดที่ไม่มีอาการหรือเพื่อการ จัดฟัน)
- อุดฟันทุกชนิด ขูดหินปูน เกลารากฟัน รักษาโรคเหงือก ศัลย์ – ปริทันต์
- รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม
- เคลือบฟลูออไรด์ (เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง)
- เคลือบหลุมร่องฟัน (เฉพาะอายุไม่เกิน 15 ปี)
- การใส่ฟันปลอมฐานอคริลิค
- การใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
- การตรวจวินิจฉัยสภาพของโรคในช่องปาก รวมทั้งการให้ยาก่อน/หลังการรักษา และการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยารับบริการได้ตามความจำเป็นที่หน่วยบริการประจำโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรูปถ่ายติดอยู่
- สำเนาสูติบัตร ในกรณีที่เด็กมีอายุต่ำกว่า 15 ปี
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
- กรณีที่พักอาศัยไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่หรือที่เป็นการยืนยันว่าได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น
- สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ผู้ขอลงทะเบียนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
- หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียน พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ พร้อมสำเนาบัตรผู้นำชุมชนของผู้รับรอง
- ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำหรือค่าไฟหรือค่าโทรศัพท์) หรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก หรือสัญญาค่าเช่าที่พัก ที่ระบุชื่อของผู้ขอลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดิม(กรณีที่ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ)
- หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, aommoney
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
วิธีทำให้ลูกกลับหัว ทำตอนไหน อย่างไร ถ้าลูกไม่กลับหัวอันตรายแค่ไหน
6 วิธีรับมือกับความเจ็บปวด ระหว่างรอคลอด ของว่าที่คุณแม่มือใหม่
วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบไม่ให้ลูกร้องไห้งอแง