ปัสสาวะผิดปกติ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปัสสาวะมีฟอง…หากคุณกำลังมีอาการผิดปกติเหล่านี้ สังเกตตัวเองด่วน เพราะอาจเป็นอาหารของ “โรคไตอักเสบ” ซึ่งเป็นโรคอันตราย ที่อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ รู้ตัวก่อน รักษาก่อน ช่วยลดอาการความรุนแรงของโรคได้
ไต สำคัญอย่างไร?
ไต เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ที่สำคัญในร่างกาย ซึ่งหน้าที่หลัก คือ การกรองของเสียจากเลือด ในไตแต่ละข้างจะมีโครงสร้างในการทำงาน ที่เรียกว่า “หน่วยไต (Nephron)” ซึ่งไตจะมีอยู่ 2 ข้าง หากไตไม่ทำงาน ของเสียต่าง ๆ จะคั่งอยู่ในกระแสเลือด ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติม ไต อวัยวะสำคัญที่ต้องดูแล มารู้จักภาวะไตเสื่อม
โรคไตอักเสบ คืออะไร?
โรคไตอักเสบ (Glomerulonephritis) คือ ภาวะการอักเสบของกลุ่มเลือดฝอยไต ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำหน้าที่ในการกรองของเหลวส่วนเกิน หรือ ของเสีย ที่ปะปนมาอยู่กับกระแสเลือด เพื่อทำให้กลายเป็นปัสสาวะ ซึ่งไตอักเสบ อาจเป็นภาวะของโรคที่เกิดขึ้นได้เอง แต่สาเหตุหนึ่งอาจมาจากโรคอื่น ๆ ได้ ซึ่งไตอักเสบบางชนิด อาจทำให้เกิดโรคไตวายในที่สุด
ไตอักเสบเกิดจากอะไร?
โรคไตอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
-
การอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ
-
- ติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส(Streptococcus) หนึ่งในสาเหตุของไตอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตค็อกคัส ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการเจ็บคอ หรือ การติดเชื้อของผิวหนัง จากแบคทีเรียชนิดนี้ เพราะร่างกายจะสร้างโปรตีนมาต่อต้านเชื้อ ที่รู้จักกันในชื่อแอนติบอดี้ ซึ่งจะสามารถเข้าไปในหน่วยไต และทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ซึ่งอย่างไรก็ตาม การอักเสบจากการติดเชื้อ มักพบได้ในเด็กมากกกว่าผู้ใหญ่
- ติดเชื้อจากการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ(Bacterial Endocarditis) ภาวะไตอักเสบ อาจเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ คือ การแพร่เชื้อของแบคทีเรีย ที่เข้าสู่กระแสเลือดที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย หากมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจพิการ เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ (Viral Infections) ไตอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอชไอวี (HIV) ไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ไวรัตับอักเสบ ซี เป็นต้น
2. การอักเสบจากโรคทางภูมิคุ้มกัน
โรคทางภูมิคุ้มกันบางชนิด อาจทำให้เกิดภาวะไตอักเสบได้ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรคพุ่มพวง ซึ่งการติดเชื้อเรื้อรังจากโรคนี้ อาจส่งผลต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายด้วย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มทำงานหนักผิดปกติ เช่น โรคกู๊ดพาสเจอร์ (Goodpasture’s Syndrome) เป็นต้น
3. การอักเสบจากกลุ่มโรคหลอดเลือด
โรคไตอักเสบ อาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดอักเสบ ดังนี้
- โรคหลอดเลือดอักเสบโพลีอาเทอร์ไรติส (Polyarteritis)
- โรคหลอดเลือดอักเสบ (Granulomatosis with Polyangiitis)
4. การอักเสบจากปัจจัยโรคอื่น ๆ
สาเหตุของการเกิดไตอักเสบ อาจมาจากปัจจัยเสริมอื่น ๆ เช่น
โรคความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต ซึ่งในทางกลับกัน ภาวะไตอักเสบยังอาจทำให้เกิดโรคความดันสูงได้อีกด้วย เพราะมีผลให้ประสิทธิภาพของไตทำงานได้ลดลง
การอักเสบของไต อาจเกิดได้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถชะลออาการได้ด้วยการควบคุมระดับความดันเลือด และระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ อย่างไรก็ตาม โรคไตอักเสบ อาจเกิดจากภาวะอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน
โรคไตอักเสบมีอาการอย่างไร?
- ปัสสาวะเป็นสีชมพู หรือ สีโคล่า เพราะมีการปนเปื้อนจากเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ปัสสาวะเป็นฟิง เพราะมีโปรตีนส่วนเกินปะปนในปัสสาวะ
- มีอาการบวมน้ำที่ใบหน้า มือ เท้า หรือ ท้อง
- ความดันโลหิตสูง
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ปวดข้อ
- มีผื่นคัน
- มีปัญหาทางระบบหายใจ
การรักษาโรคไตอักเสบด้วยตัวเองเบื้องต้น
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตอักเสบ ควรปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมการกินอาหาร ซึ่งจะช่วยควบคุมความดันเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ และควรลดอาหารที่มีรสเค็ม หรือ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียม ในขณะเดียวกันก็ควรงดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ จะไปชะลอการเติบโตของโรคที่เกิดจากการอักเสบของไต และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
การป้องกันโรคไตอักเสบ
ไตอักเสบ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤิตกรรม ดังนี้
- การงดสูบบุหรี่ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการอักเสบได้
- การควบคุมน้ำตาล เพื่อป้องกันการกำเริบของโรคเบาหวาน ที่มีส่วนกระตุ้นให้ไตทำงานผิดปกติ
- การควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ
- การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หรือ ไวรัสตับอีกเสบ
โรตไตอักเสบ เป็นโรคอันตราย อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด เพราะไตอักเสบบางชนิด หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการเรื้อรัง จนเกิดเป็นภาวะไตวายได้ในที่สุด เช็คตัวเอง เพื่อรีบเข้ารับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ที่มาข้อมูล pobpad
บทความที่น่าสนใจ
อาการของโรคไต เป็นแบบไหน โรคไต สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอย่างไร?
อาการโรคไตวาย วิธีรักษาโรคไต เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาการไตวาย
โรคนิ่วในไต สังเกตอย่างไร ป้องกันไว้ก่อนไตจะพัง อาการ และวิธีการป้องกัน