อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันสูง รวมอาหารที่ควรทานและควรเลี่ยง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังการรับประทานอาหารเป็นอย่างมาก เพราะทุกอย่างที่รับประทานเข้าไป ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อร่างกายของเราทั้งนั้น บทความนี้จะพาไปดูวิธีการเลือก อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันสูง รวมอาหารที่ควรรับประทาน และควรเลี่ยง จะมีอะไรบ้างต้องไปดูกัน

 

ความดันโลหิตสูง คืออะไร?

ความดันโลหิตสูง หมายถึง แรงดันในกระแสเลือด เกิดจากการที่หัวใจได้ทำการสูบฉีดเลือดจากหัวใจ ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ภาวะโลหิตที่สูงผิดปกติ คือ ค่าที่มากกว่า หรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดใหญ่โป่งพอง ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม โรคความดันโลหิตสูง อาการและแนวทางรักษา ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิต

ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิต ที่หัวใจบีบตัวมากกว่า หรือ เท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป

ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิต ในขณะที่หัวในคลายตัวมากกว่า หรือ เท่ากับ 90 (mm/Hg)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่าความดันปกติ เท่ากับ 120/180 มิลลิเมตร/ปรอท

ค่าความดันโลหิตสูง คือ ค่ามากกว่า 160/95 มิลลิเมตร/ปรอท

 

การเลือกสารอาหารสำหรับผู้ป่วยความดัน

สารอาหารที่ควรรับประทาน

  • โพแทสเซียม โพแทสเซียม พบมากในผัก ผลไม้ และถั่วต่าง ๆ การได้รับโพแทสเซียมสูง จะทำให้โลหิตต่ำ โดยโพแทสเซียมจะช่วยทำหน้าที่ ในการเพิ่มการขับน้้ำ และโซเดียมออกจากร่างกาย จึงเป็นตัวช่วยป้องกัน และควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้
  • แคลเซียม เป็นสารอาหารที่พบมากในนม ผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ ก้างปลา และผักสีเขียวบางชนิด ซึ่งแคลเซียม จะเป็นตัวช่วยควบคุมความดันโลหิต และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้อีกด้วย
  • แมกนีเซียม เป็นสารอาหารที่พบมากในผักใบเขียว ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ ซึ่งแมกนีเซียม จะช่วยยับยังการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ที่บริเวณผนังหลอดเลือด ซึ่งช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารที่ควรเลี่ยง

  • โซเดียม

โซเดียม เป็นสารอาหารที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยความดัน การรับประทานโซเดียมน้อยลง จึงมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้ ส่วนใหญ่แล้ว เรามักได้รับโซเดียมปริมาณมาก จากอาหารในชีวิตประจำวัน และอาหารต่าง ๆ ดังเช่น

อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก ปลากระป๋อง กุนเชียง เป็นต้น

อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาเค็ม ไข่เค็ม ผักกาดดอง เป็นต้น

อาหารจากธรรมชาติ เช่น ไข่ นม ถั่ว ผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ และไขมัน มีปริมาณโซเดียมเล็กน้อย เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • แอลกอฮอล

แอลกอฮอล มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียน และสูบฉีด การดื่มแอลกอฮอล 3 แก้วต่อวัน จะมีผลในการเพิ่มความดันโลหิต มากกว่า 3 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ควรงดการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันสูง

  1. ผัก อุดมไปด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร ตัวอย่างผักที่ควรรับประทาน ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท บร็อคโคลี่ ผักโขม คะน้า ผักกาดขาว เป็นต้น
  2. ผลไม้ เป็นแหล่งของโพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร ผลไม้ที่ผู้ป่วยความดันควรรับประทาน ได้แก่ กล้วย ส้ม มะม่วง สตรอเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ลิ้นจี่ ทับทิม เป็นต้น
  3. เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน และแคลเซียม โดยเนื้อสัตว์ที่ควรรับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือ ไม่ติดหนัง และใช้กรรมวิธีการต้ม ย่าง หรือ นึ่ง แทนการทอดด้วยน้ำมัน
  4. ข้าว และ ธัญพืชต่าง ๆ เป็นแหล่งของพลังงาน และใยอาหารที่มีประโยชน์ โดยข้าวและธัญพืชที่ควรรับประทาน ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต คอร์นเฟลค บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
  5. ถั่วต่าง ๆ เป็นแหล่งของพลังงาน แมกนีเซียม โพแทสเซียม โปรตีน และใยอาหาร โดยถั่วที่ควรรับประทาน ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเขียว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
  6. ไขมัน และ น้ำมัน สำหรับผู้ป่วย ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำสลัดไขมันต่ำ มาการีนชนิดนิ่ม และมายองเนสไขมันต่ำ เป็นต้น ซึ่งนอกจากไขมัน และน้ำมันแล้ว ควรเลือกรับประทานอาหาร ที่มีไขมันต่ำอีกด้วย
  7. ของหวาน ควรรับประทานในปริมาณน้อย และควรเลือกขนมหวานที่ไม่ไขมมันต่ำ 

 

ความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการใช้ชีวิต เพราะอาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บรุนแรง หรือ ภาวะที่มีความอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วย จำเป็นจะต้องใส่ใจในรายละเอียดของการใช้ชีวิตให้มาก ๆ โดยเฉพาะอาหารการกิน ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หวังว่าบทความ อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันสูง จะช่วยเป็นตัวอย่างของรายการอาหาร และสารอาหาร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้

 

ที่มาข้อมูล nonthavej theworldmedicalhospital

บทความที่น่าสนใจ

13 วิธีธรรมชาติ ช่วยลดความดันโลหิตไม่ให้สูงขณะตั้งครรภ์

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee