เชื่อได้เลยว่าจะต้องมีน้องๆ หลายคน อาจมีข้อสงสัยว่า นอกจาก O-NET แล้ว ยังต้องสอบอะไรรอีก วันนี้เราสรุปทุกการสอบทีสำคัญของเด็กไทย นั่นคือ กสพท, GAT/PAT, O-NET และ 9 วิชาสามัญ คือการสอบอะไร แล้วจะต้องสอบวิชาอะไรบ้าง เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง และมีกำหนดสอบในเดือนไหน วันมนี้ เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน
สรุปการสอบของเด็กไทย มีอะไรบ้างมาดูกัน
1. การสอบO-NET
O-NET หรือมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Ordinary National Educational Test คือการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้น ป.6 นักเรียนชั้น ม.3 และนักเรียน ม.6 ซึ่งจะทำการทดสอบเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
โดยที่น้องๆ ไม่ต้องสมัครสอบเอง แต่ทางโรงเรียนจะเป็นคนสมัครสอบให้กับเราทุกคนในแต่ละดับชั้น (ป.6 , ม.3 และ ม.6) เพื่อใช้ในการประเมินมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จำนวน 51 มาตรฐานการเรียนรู้ ครอบคลุม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยได้มีการแบ่งเนื้อหาที่สอบ ออกเป็นระดับชั้นการศึกษาดังต่อไปนี้
ชั้นประถมศคึกษาปีที่ 6
- คณิตศาสตร์
- ภาษาไทย
- วิทยาศาสตร์
- ภาษาอังฤษ
ชั้นมัธยมศึกษษปีที่ 3
- คณิตศาสตร์
- ภาษาไทย
- วิทยาศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ
ชั้นมัธยมศึกษษปีที่ 6
- สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- คณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาไทย
- วิทยาศาสตร์
ดังนั้น การสอบO-NET จึงถือได้ว่า เป็นการสอบที่มีความสำคัญ ไม่แพ้การสอบในแบบอื่นๆ เลย เพราะจะต้องใช้ผลคะแนน สอบO-NET ในการสมัครเข้าเรียนต่อทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาอีกด้วย
โดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้น ม.6 ยิ่งจะต้องให้ความสำคัญกับ การสอบO-NET เพราะคะแนนสอบโอเน็ตทั้ง 5 วิชานั้น ทางมหาวิทยาลัยจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนต่อของน้องๆ ด้วยจ๊ะ ไม่ว่าจะเป็นรอบรับตรงของ กสพท, รับตรง (ในบางมหาวิทยาลัย) และรอบแอดมิชชั่น ล้วนแต่ก็ต้องใช้คะแนนสอบโอเน็ตทั้งนั้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การจัดการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 ม.3 และ V-NET ปวช.3 ปีการศึกษา 2563
2. การสอบ GAT/PAT
GAT/PAT เป็นอีกหนึ่งการสอบที่สำคัญสำหรับน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 หรือนักเรียนเทียบเท่า โดยน้องๆ จะต้องทำการสมัครสอบด้วยตนเอง และเลือกวิชาที่จะสอบของ PAT เอง ส่วน GAT น้องๆ จะต้องทำการสอบทั้งสองส่วนให้ครบถ้วน ซึ่งผลคะแนนสอบ GAT/PAT จะถูกนำมาเป็นคะแนนที่ใช้สำหรับสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยการสอบ GAT/PAT ได้มีการแบ่งเนื้อหาที่ออกสอบเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- GAT มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า General Aptitude Tests เป็นแบบทดสอบความถนัดทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %
- ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %
- PAT มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Professional and Academic Aptitude Test เป็นความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะใช้สำหรับเรียนต่อในวิชาชีพนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ
- ความถนัดทางคณิตศาสตร์
- ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
- ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางวิชาชีพครู
- ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
- ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
- ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
- ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
- ความถนัดทางภาษาจีน
- ความถนัดทางภาษาอาหรับ
- ความถนัดทางภาษาบาลี
- ความถนัดทางภาษาเกาหลี
ทั้งนี้ การสอบ GAT/PAT จากเดิมที่มีการจัดการสอบหลายครั้งในหนึ่งปี แต่สำหรับในปีการศึกษา 2561 นี้ ได้ลดเหลือการสอบเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มวิชาความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (PAT7) คือ วิชาความถนัดทางภาษาเกาหลี (PAT 7.7) เข้ามาด้วย โดยได้มีการสอบในวันเวลาเดียวกับการสอบ PAT 7.1-7.6
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : SET GOALS อย่างไรให้สอบติด เตรียมตัวให้พร้อมลุย TCAS
3. การสอบ 9 วิชาสามัญ
9 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเรียกย่อๆ ว่า สทศ. เพื่อนำมาใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย โดยจากเดิมจะสอบเพียง 7 วิชาเท่านั้น แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ด้วย (ทำการเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2559) จึงได้มีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 วิชา รวมเป็น 9 วิชา ดังนี้
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
- วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
สำหรับคะแนนสอบ 9 วิชาสามัญน้องๆ สามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ได้ เช่น โครงการของ กสพท, การรับตรงร่วมกัน ที่ได้มีการกำหนดคะแนน 9 วิชาสามัญในองค์ประกอบคัดเลือกถึง 70% เลยทีเดียว โดยที่แต่ละวิชาน้องๆ จะต้องได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็มอีกด้วย
ซึ่งการสอบ 9 วิชาสามัญนี้ สามารถสอบได้ทั้งน้องๆ ที่เรียนในสายวิทย์-คณิต และสายศิลป์ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสอบให้ครบทั้ง 9 วิชาก็ได้ แต่ให้น้องๆ เลือกสอบวิชาตามเกณฑ์การรับของแต่ละมหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการเรียนได้เลย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เปิดแนวทางการเรียนการสอน เน้นทักษะชีวิตและวิชาการ ของโรงเรียนประสานมิตร
4. การสอบ กสพท
หลายคนอาจจะคุ้นหูกันมาบ้างแล้วสำหรับการสอบ กสพท หรือมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นการรวมกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์จำนวน 16 สถาบัน คณะทันตแพทยศาสตร์จำนวน 6 สถาบัน และคณะสัตวแพทยศาสตร์จำนวน 8 สถาบัน และเภสัชศาสตร์จำนวน 11 สถาบัน โดยในปีการศึกษา 2561 นี้ การสอบ กสพท อยู่ในรอบที่ 3 คือการรับตรงร่วมกันในระบบ TCAS
สำหรับวิชาและเนิ้อหาที่ใช้สอบ กสพท มีดังนี้
- วิชาเฉพาะหรือวิชาความถนัดแพทย์ เป็นวิชาที่ใช้สมัครสอบพร้อมกับ กสพท โดยจะใช้สัดส่วนทั้งหมด 30% ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- ด้านเชาว์ปัญญา เช่น คณิตศาสตร์ อนุกรมเลข อนุกรมภาพ การอ่านจับใจความ เป็นต้น
- ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งไม่มีสอนในห้องเรียน
- ด้านทักษะการเชื่อมโยง คล้ายๆ กับการสอบ GAT แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่บ้างนะ
- 9 วิชาสามัญ
โดยจะเป็นการจัดสอบของทาง สทศ. จะใช้ 7 วิชาในการคัดเลือกจาก 9 วิชา ในสัดส่วน 70% ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) มีน้ำหนักคะแนน 40%, คณิตศาสตร์ (1) 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, ภาษาไทย 10%, และสังคมศึกษา 10% โดยที่น้องๆ จะต้องทำคะแนนสอบให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 30 ทุกกลุ่มสาระวิชา
- O-NET (ม.6)
เป็นข้อสอบขั้นพื้นฐานที่น้องๆ ทุกคนจะต้องทำการสอบ เพื่อเป็นการวัดผลการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน โดยที่การสอบO-NET จะไม่ได้นำมาเป็นสัดส่วนในองค์ประกอบการคิดคะแนน แต่น้องๆ จะต้องทำคะแนนสอบรวมทุกวิชาได้ไม่ต่ำกว่า 60%
ที่มา : (campus)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
การวางแผนการศึกษา : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา