หนึ่งในคำถามที่คุณแม่ทุกท่านถาม และ อยากรู้ตั้งแต่ตอนที่เธอรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์นั้น คือ “ เมื่อไหร่ฉันจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้องนะ ? ” แน่นอนว่าการเคลื่อนไหว หรือ การ “ ดิ้น ” ของทารกในครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่คุณแม่รอคอย นอกจากนี้ ยังเป็นสัญญาณที่บอกให้คุณแม่ทราบว่าลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโต และสุขภาพแข็งแรงดี ดังนั้น การสังเกต การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หรือ ที่เรียกอีกชื่อว่า การนับลูกดิ้น จึงเป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแท้ง หรือ การคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ
เด็กทารกทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันไป ดังนั้น เราจึงไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า หากเป็นแบบนี้ จึงจะปกติ ทีม TheAsianparent ของเรา จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเช็กลูกดิ้น ในแต่ละไตรมาสมาฝากกันค่ะ เพื่อช่วยคุณแม่เช็กสุขภาพครรภ์ของตนเองเบื้องต้น และ บอกเล่าข้อมูลก่อนที่คุณแม่จะได้สัมผัสในไตรมาสถัด ๆ ไปค่ะ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ในแต่ละไตรมาส เป็นอย่างไรบ้างนะ ?
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ : ไตรมาสแรก
แม้ว่าลูกน้อยของคุณจะเคลื่อนไหวแล้วในช่วง 12 สัปดาห์แรก แต่คุณอาจจะไม่รู้สึกอะไร เนื่องจากทารกในครรภ์ยังเล็กมาก และ ยังเร็วมากสำหรับการตั้งครรภ์ที่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ สำหรับช่วงไตรมาสนี้ศีรษะเด็กก็จะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว และตับก็จะเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะ และหัวใจก็จะเต้น 120-160 ครั้งค่ะ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายท่าน เล่าว่า ครั้งแรกที่พวกเขารู้สึกถึงลูกในท้อง พวกเขารู้สึกเหมือนมีผีเสื้อกำลังบินอยู่ในท้อง การเคลื่อนไหวของลูกในช่วงต้นจะรู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุก หรือรู้สึกเหมือนมีของเหลวกำลังไหลไปมาอยู่ในท้อง สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก อาจจะต้องใช้เวลาสักพักถึงจะรู้สึก แต่คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนจะรู้สึกได้เร็วกว่า เพราะมีประสบการณ์มาแล้ว
เมื่อคุณก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่สอง หรือไตรมาสที่สาม ผิวหนังบริเวณหน้าท้องของคุณจะตึงมากขึ้น คุณจะรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยลูกอาจจะเตะ กระทุ้ง หรือตีลังกา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้
- คุณแม่จะสัมผัสการเคลื่อนไหวของลูกได้มากขึ้น เมื่อคุณแม่นอน หรือ อยู่ในท่าทีสบายตัว เช่น นั่งเหยียดขา
- หลังจากที่คุณแม่ทานอะไรบางอย่าง แล้วน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนั่นจะทำให้ลูกของคุณเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ
- เมื่อคุณแม่รู้สึกประหม่า หรือ ตื่นเต้น – อะดรีนาลีนจะพลุ่งพล่าน ทำให้คุณแม่มีน้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกัน
- ลูกน้อยในครรภ์จะตอบสนองได้ดีกับ เสียง หรือ การสัมผัส เช่น ลูบหน้าท้องเบาๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องไตรมาสแรกห้ามทำ ข้อห้ามคนท้องอ่อน ข้อห้ามคนท้องไตรมาสแรก แม่ท้องไตรมาสแรกต้องระวัง
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ : ไตรมาสที่สอง
การเคลื่อนไหวครั้งแรกของทารก ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า “ การดิ้น” คุณแม่จะรู้สึกได้ว่า ลูกดิ้นในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 16 – 25 ของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สอง แน่นอนว่าการตั้งครรภ์ของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 บางท่านอาจจะรู้สึกเมื่อเข้าใกล้สัปดาห์ที่ 24 อย่างไรก็ตาม หากหลังสัปดาห์ที่ 24 แล้ว คุณแม่ยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ และอัลตราซาวนด์เพื่อเช็กพัฒนาการของลูกในท้องอีกครั้ง
คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยเป็นประจำประมาณสัปดาห์ที่ 20 ถึง 24 จากครั้งแรกที่คุณแม่จะรู้สึกว่าเหมือนมีเจ้าผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ในท้อง แต่ตอนนี้จะเปลี่ยนมาเป็นการเตะที่แข็งแรงมากขึ้นในช่วงท้ายของไตรมาสที่สอง แล้วก็อวัยวะของลูกน้อยก็เริ่มทำงานได้เต็มที่ กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ผม ขนคิ้ว และขนตาก็เริ่มยาวขึ้นค่ะ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ : ไตรมาสที่สาม
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ ลูกน้อยของคุณจะเคลื่อนไหวบ่อยมากขึ้น และคุณแม่จะรู้สึกได้ชัดเจนขึ้นจากศอก หรือเข่าของลูก จนบางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกเป็นลมได้เลยค่ะ ช่วงนี้คุณแม่จะสามารถรู้ได้เองว่าปกติแล้ว ลูกจะดิ้นตอนไหน หรือแบบไหน และ คุณหมอจะแนะนำให้หมั่นนับการดิ้นของทารกในครรภ์ เพื่อให้คุณแม่ได้ติดตามพัฒนาการ และรู้เท่าทันภัยเงียบ เช่น การแท้ง ได้ทันเวลา
แล้วก็เนื่องจากท้องคุณแม่ที่โตมากขึ้น ก็อาจจะทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น และทำให้หายใจได้สั้นลง ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ และทารกในครรภ์ก็จะตื่น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่เกิน 30 วินาที นอกจากนี้ ทารกในครรภ์ไตรมาสที่สามก็ถือเป็นช่วงที่ทารกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ผิวเริ่มเหมือนคนปกติ สมอง และเส้นประสาท ก็จะเริ่มพัฒนาเต็มที่ และตุ่มรับรสก็เริ่มทำงานด้วยเช่นกัน และถ้าหากเป็นเด็กผู้ชายอัณฑะก็จะเคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะค่ะ เรียกได้ว่าในช่วงไตรมาสที่สามตัวของเด็กก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมออกมาเผชิญโลกภายนอกแล้วค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีรับมือกับการแท้ง ทำอย่างไรให้คุณแม่ข้ามผ่านความสูญเสียนี้ไปได้
โดยปกติแล้ว หากลูกสุขภาพแข็งแรงโดยเฉลี่ยประมาณ 30 ครั้งต่อชั่วโมง หรือ เคลื่อนไหวตลอดเวลา หากคุณแม่พบว่าลูกดิ้นน้อยลงกว่าปกติ ไม่ควรปล่อยไว้ หรือรอดูสถานการณ์ ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุดนะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในแต่ละไตรมาสที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สรุปแล้วการตั้งครรภ์จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาการตั้งครรภ์ทั้งหมดก็ประมาณ 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ นั่นเองค่ะ ซึ่งการเคลื่อนไหวของลูกในท้องแต่ละไตรมาสก็จะมีความแตกต่างกันออกไป
ดังนั้น คุณแม่ท้องจึงควรดูแลครรภ์โดยการไปฝากครรภ์ตามนัด เนื่องจากการตรวจครรภ์แต่ละครั้งคุณแม่ก็จะสามารถทราบได้ว่าในแต่ละครั้งที่ไปตรวจครรภ์ลูกน้อย หรือตัวคุณแม่เองนั้นมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ ถ้าหากมีความผิดปกติก็จะได้รับการรักษาทันทีค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแม่ท้องทุกคนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีการนับลูกดิ้น ทำไมการ นับลูกดิ้น จึงสำคัญ แม่ท้องต้องอ่าน!!
ตารางบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น นับอย่างไร บันทึกอย่างไร แบบไหนผิดปกติ
คนท้องนอนท่าไหนดี นอนตะแคงแล้วลูกดิ้นแรง ทับลูกหรือเปล่า ทำไมคนท้องนอนไม่หลับ
ที่มา : theAsianparent SG