อยากให้ลูกฉลาดและเก่ง สร้างได้ด้วย กิจกรรมส่งเสริม ทักษะ EF

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านให้ความสนใจ โดยหัวข้อในวันนี้คือ อยากให้ลูกฉลาดและเก่ง สร้างได้ด้วย กิจกรรมส่งเสริม ทักษะ EF ซึ่งในวันนี้  theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

ทักษะ EF คืออะไร สำคัญกับเด็กอย่างไรบ้าง

EF มาจากคำว่า Exclusive Function ที่หมายถึง ทักษะขั้นสูงของสมอง ซึ่งทักษะพวกนี้คือทักษะการวางแผนชีวิต รู้จักคิด วางแผนแก้ไขปัญหา ควบคุมตัวอารมณ์ตัวเองให้ได้ ทำให้ชีวิตลูกประสบความสำเร็จได้

บทความที่น่าสนใจ : 16 วิธีพัฒนา EF (อีเอฟ) ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาดเสริมสร้างทักษะการคิด

 

ทักษะ EF จำแนกออกเป็นกี่ด้าน และมีกี่วิธีที่จะทำ EF กับลูก

จริง ๆ แล้ว ทักษะ EF มีทั้งหมด 9 ด้าน แต่มีทักษะ EF 5 ด้านที่ควรส่งเสริมในเด็กเล็ก โดยทักษะที่ควรส่งเสริมในช่วงนี้ได้แก่ ความจำใช้งาน โดยความจำใช้งานจะต่างจากความจำทั่วไป โดยความจำใช้งานจะเป็นการนำความจำมาใช้ในสถานการณ์จริง ๆ ไม่ได้เหมือนกับการท่องจำทั่วไปเฉย ๆ โดยความจำใช้งานจะเริ่มเห็นชัดเมื่ออายุ 9 -12 เดือน ส่วนทักษะ EF ถัดมาก็คือ การยับยั้ง ซึ่งพ่อแม่หลาย ๆ คนอาจรู้สึกว่าลูกซนมาก ๆ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงวัยที่ซุกซน แต่ก็สามารถฝึกกันได้ เช่น การรอคอย โดยทักษะการยับยั้งจะเริ่มมีได้เมื่ออายุ 3 – 4 ปี ทักษะถัดมาคือ การคิดยืดหยุ่น การคิดแก้ปัญหา เพราะในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ๆ แล้วถ้าหากลูกยังไม่รู้จักเปลี่ยนวิธีคิด หรือตัวพ่อแม่เองที่ตีกรอบให้ลูกหมด สุดท้ายจะทำให้เด็กแก้ปัญหาไม่ได้ โดยความคิดยืดหยุ่น เป็นทักษะที่สามารถเสริมสร้างได้ตั้งแต่เด็ก

 

ภาพจาก pixabay.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สำหรับทักษะ EF ด้านที่ 4 คือ การควบคุมอารมณ์ โดยหากเป็นเด็กที่เริ่มพูดเป็น แต่ไม่พูด เมื่ออยากได้อะไรก็ร้องไห้ งอแง รอไม่ได้ หากเป็นดังข้างต้น แสดงว่าเด็กเริ่มมีปัญหาด้านการจัดการอารมณ์ สาเหตุหลัก ๆ มีด้วยกัน 2 อย่างคือ การที่พ่อแม่ตามใจ หรือสาเหตุที่มาจากการสื่อสารไม่เป็น เพราะฉะนั้นก็ต้องมาแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย ต้องค่อยเรียนรู้กันไป ไม่ใช่การตามใจ ทักษะถัดมาจะเป็นเรื่องของ ทักษะการวางแผน ซึ่งการวางแผนสามารถทำได้ง่าย ๆ กิจวัตรประจำวันก็สามารถทำได้ เช่น การให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร โดยที่กล่าวมาข้างต้น เป็นทักษะ EF ที่ควรที่ควรจะฝึกในวัยอนุบาล

 

ในช่วงวัยเด็กเล็ก ๆ จะมีช่วงที่เรียกว่า สายเกินไปหรือไม่ สำหรับการฝึกทักษะ EF

การฝึกฝนทักษะ EF นั้นจะมีช่วงที่เรียกว่า ส่งเสริมได้ง่าย หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนเด็กที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เล็ก ๆ ที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยประถม โดยทักษะ EF จะมีช่วงเวลาที่ช่วยส่งเสริมได้ง่ายจะอยู่ในช่วง 3 – 5 ขวบปีแรก จะเป็นช่วงที่ทักษะ EF ฝึกได้ง่ายที่สุด เหลือเพียงแค่พ่อแม่ส่งเสริมเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กิจกรรมไหนบ้าง ที่ช่วยส่งเสริมทักษะ EF ได้ เมื่อพ่อแม่ไม่มีเวลา

สำหรับทักษะ EF นั้นสามารถส่งเสริมได้จากชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือนิทานกับลูก เพราะจะทำให้เด็กรู้จักโฟกัส กับตัวละครในนิทาน รวมถึงฝึกให้เด็กรู้จักรอคอยที่จะอ่านให้ถึงหน้าถัดไป รวมถึงยังช่วยฝึกทักษะความจำใช้งานได้อีกด้วย หรือจะฝึกโดยกิจวัตรประจำวัน เช่น การให้เด็กช่วยทำอาหาร อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น

บทความที่น่าสนใจ : 12 กิจกรรมเด็ก หลากหลายไอเดียทำสนุกๆ กับลูกได้ไม่ซ้ำ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาพจาก freepik.com

 

ถ้าเด็กอายุ 6 เดือน ควรเสริมพัฒนาการด้านไหนบ้าง

ด้านแรกต้องเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ เพราะเด็ก 6 เดือนควรที่จะนั่งทานอาหารได้แล้ว ด้านที่สองควรฝึกในด้านภาษา เช่นการเล่านิทานให้ฟัง หรือเวลาพ่อแม่พูดคุยกับลูกให้พูดช้า ๆ อ้าปากให้กว้าง ๆ ส่วนในด้านถัดมาคือในเรื่องของ EF โดยฝึกผ่านกิจกรรมประจำวัน และเมื่อเด็กเริ่มอายุ 1 ขวบแล้วเริ่มที่จะรอไม่ได้ ก็สามารถที่จะค่อย ๆ ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอยก็ได้เช่นกัน

 

คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

การกระตุ้นสมองลูกน้อย เทคนิคสร้างความฉลาดให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

ข้อควรรู้ เตรียมความพร้อม เป็น คุณพ่อมือใหม่หัดเลี้ยงลูก

ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม

บทความโดย

watcharin