รู้ทัน! วัยทองก่อนวัย ก่อนรังไข่เสื่อม ท้องยาก!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัยทองก่อนวัย มักพบในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี  อันเนื่องมาจากจากฟองไข่ในรังไข่สลายเร็วกว่าปกติ ทำให้ประจำเดือนค่อย ๆ ขาดหายและขาดหายอย่างถาวรในที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุย่างเข้าช่วงวัย 45-55 ปี แต่กรณีวัยทองก่อนวัยในผู้หญิงน้อยกว่า 40 ปี ส่งผลให้มีบุตรยากตามมา เนื่องจากรังไข่ มีหน้าที่หลักใน“สร้างเซลล์ไข่” และ “การสร้างฮอร์โมนเพศหญิง” กระตุ้นไข่ให้สุกและตกตามรอบเดือน เมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัย เป็นอาการบ่งชี้ถึง “ภาวะรังไข่เสื่อม” ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ถดถอยทำให้มีบุตรยาก 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเข้าสู่ภาวะ วัยทองก่อนวัย  ! 

“ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจhttps://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เพจที่ให้ความรู้และการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับหลักโภชนาการในการรับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ช่วยบำรุงไข่ บำรุงมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้มีบุตรยากมายาวนาน ให้ข้อมูลว่า ก่อนจะเข้าสู่วัยทองร่างกายจะมีสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้า  คือ ประจำเดือนเริ่มมาคลาดเคลื่อนทิ้งช่วงนาน ท้องยาก หรือมากะปริดกะปรอย ปริมาณประจำเดือนจะลดลง มีอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย ช่องคลอดแห้ง เจ็บแสบช่องคลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ผิวแห้ง ผมร่วง

 

ซึ่งหากมีอายุต่ำกว่า 40 ปี และเริ่มมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวิฉัยว่ากำลังเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัยหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้ชุดตรวจเลือดเพื่อตรวจหาระดับ Follicle-Stimulating Hormone(FSH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สร้างไข่และกระตุ้นให้ไข่สุก มีผลต่อการมีประจำเดือน  สามารถตรวจสอบโดยการเจาะเลือดตอนช่วงมีประจำเดือน 1-3 วันแรก หรือในรายที่สงสัยว่าน่าจะมีระดับไทรอยด์ต่ำ จะมีการตรวจฮอร์โมน Thyroid-Stimulating Hormone (TSH)  ร่วมด้วยเพราะส่งผลต่อความผิดปกติของรอบเดือนเช่นกัน โดยสามารถตรวจประเมินประสิทธิภาพของรังไข่จากตรวจค่า FSH ดังนี้

 

  • FSH ต่ำเกินกว่า 4mIU/ml ไข่ใบเล็ก ท้องยาก

การมี FSH ในระดับต่ำเกินไปอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้ ซึ่งค่าของฮอร์โมน FSH เป็นอีกหนึ่งปัจจัยมีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์ มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ภาวะที่มีไข่ใบเล็กจำนวนมากในรังไข่ ทำให้ไข่ไม่สุกและไม่โตตามเกณฑ์หรือไม่ตกตามรอบ ทำให้ประจำเดือนมาช้าและท้องยาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • FSH 4-7mIU/ml ระดับปกติ

ระดับของ FSH ในร่างกายระดับนี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ บ่งบอกถึงรังไข่สำรอง (Ovarian reserve) รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

  • FSH 10-20 mIU/ml เริ่มกระตุ้นไข่ได้ยาก เสี่ยงวัยทองก่อนวัยอันควร

ระดับของ FSH ที่เกิน 10mIU/ml จะเริ่มกระตุ้นไข่ได้ยาก หากมีอายุต่ำกว่า 40 ปีค่าดังกล่าวจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารังไข่เริ่มเสื่อม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • FSH สูงเกิน 20mIU/ml เข้าสู่วัยทอง

มักจะพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด สามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้

 

เมื่อมีจำนวณไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อชดเชยและกระตุ้นให้ follicle มีการเจริญเติบโตมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูง อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว ไข่ที่คุณภาพดีจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและอินฮีบินบีสูง ผลคือ ค่า FSH จะต่ำลง หากไข่คุณภาพไม่ดีฮอร์โมนที่สร้างได้จากไข่จะมีระดับต่ำ ส่งผลให้ค่า FSH สูงขึ้น สัญญาณแรกที่บ่งบอกถึงการทำงานรังไข่ที่แย่ลง คือ ค่า FSH มากกว่า 10 mIU/mL ร่วมกับค่า E2 ที่น้อยกว่า 80 pg/ml มีรายงานว่าค่า FSH ที่มากกว่า 18 mIU/ml จะมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กล่าวโดยสรุป การตรวจ FSH คือการตรวจฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ ซึ่งหากตัวเลขยิ่งสูงแปลว่าการทำงานของรังไข่ยิ่งเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตามค่า FSH ในแต่ละเดือนไม่คงที่หากได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรน เช่น ยาคุมกำเนิด อาจได้ค่าที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นหากกำลังทานยาคุมกำเนิดต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะมีผลต่อการตรวจและการแปลผลด้วย

 

ดังนั้น หากมีข้อสงสัยว่ากำลังเผชิญกับปัญหาเข้าสู่ “วัยทองก่อนวัยอันควร” หรือ “รังไข่เสื่อม” ควรต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูก เนื้องอกมดลูก ซีสต์รังไข่ หรือ โรคภายในสตรีเพื่อจะได้ให้แพทย์ตรวจวินินิจฉัยและรักษาต่อไป ครูก้อยกล่าวสรุป.

เกี่ยวกับ “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ 

  • “ครูก้อย” นัชชา ลอยชูศักดิ์ เป็นนักเรียนทุนของ สสวท. โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ได้เป็นลำดับtop 10 ของประเทศ ได้เป็นนักเรียนทุนโดยไม่ผ่านการเอนทรานซ์
  • จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์
    สาขาชีวฟิสิกส์ (Bio-Physics)
  • จากนั้นก็ศึกษาต่อในระดับปีที่5 คณะศึกษาศาสตร์ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่ มหาวิทยาลัย
    ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรอีก 1 ปี และฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน 
  • จบปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • โดยตลอดระยะเวลาที่“ครูก้อย” เรียนในระดับมหาวิทยาลัย ได้รับทุนถึง 8 ปี มีโอกาสทำงานวิจัย และเดินทางไปศึกษางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ  
  • ครูสอนฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ ในโครงการ SMGP ( Science math gifted program ) โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช โรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ถึง 8 ปี 
  • สมรสกับ “เจมส์” เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ศิลปินและนักแสดงชื่อดัง
  • เคยประสบปัญหามีบุตรยากและพยายามศึกษาหาหนทางทุกอย่างที่จะมีลูก เริ่มตั้งแต่วิธีกระบวนการ
    ทางธรรมชาติ จนกระทั่งอาศัยวิธีเทคนิคทางการแพทย์ ผ่านมาแล้วทุกขั้นตอนตั้งแต่ ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)  และทำเด็กหลอดแก้ว( ICSI + คัดโครโมโซม)  และศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
    สำหรับผู้มีบุตรยากทั้งในและต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จหลังจากเตรียมความพร้อมก่อนก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ ตั้งครรภ์ “น้องเมดา” ด.ญ. อันโดรเมดา ลอยชูศักดิ์ หนูน้อย ICSI วัย 2 ขวบ และเผยแพร่ความรู้ในการเตรียมตั้งครรภ์ บำรุงไข่ บำรุงมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์  ตามหลักวิทยาศาสตร์ ผ่านเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ 

 

นำเสนอข่าวประชาสัมพันธ์โดย เอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์ บริษัท ฟาสเทอร์ อแวร์เนส จำกัด www.fasterawareness.com  

  • ติดต่อ คุณวีร์สุดา ทองสุข (แอป)   โทร : 0972500994

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รวมความรู้ มีลูกตอนอายุ 45 ท้องตอนวัยทอง ควรรู้อะไรบ้าง? มีอะไรที่น่ากังวลบ้าง

รวมข้อสงสัย ผู้หญิงวัยทองท้องได้ไหม เผยทุกคำตอบกับท้องตอนวัยทอง

อาการวัยทอง 2 ขวบ ปัญหาในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ และวิธีการรับมือ

 

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong