5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกคุณเป็นเด็ก สปอย แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ปัญหาครอบครัวอย่างหนึ่งที่พบมากในสังคมยุคที่คู่แต่งงานมีลูกน้อยลงเรื่อย ๆ ก็คือการที่เด็กถูกตามใจจากพ่อแม่ผู้ปกครองจนเป็นเด็กสปอยล์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรามี 5 สัญญาณในการสังเกตลูกว่าเริ่มเป็นเด็กถูกตามใจจนเกินไปหรือ เด็ก สปอย แล้วรึยัง ถ้าพบว่าใช่ล่ะก็… คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจลูกให้มากขึ้น และรีบปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ

 

สปอยคือ

 

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกเป็นเด็ก สปอย

 

1. “ฉันอยากได้เดี๋ยวนี้”

เมื่อเด็ก ๆ ไม่มีความอดทนรอคอยอะไรแม้เพียงแวบเดียว ว่าแต่จะโทษเด็ก ๆ ก็ไม่ได้ ในเมื่อเราอาศัยอยู่ในโลกสำเร็จรูปที่รวดเร็วปานนิ้วคลิก และบ่อยครั้งที่พ่อแม่อย่างเราพบว่า เรากลัวที่จะปฏิเสธความต้องการของลูก เพราะลูกคุ้นเคยแต่คำว่า “ได้จ้ะ” มาตลอด สิ่งที่ควรทำคือ หัดพูดคำว่า “ไม่” กับลูกบ้าง ในบางเวลา เพื่อให้ลูกรู้ว่าเขาเองก็ต้องเรียนรู้จักการถูกปฏิเสธเช่นกัน และสอนให้ลูกรู้จักรอคอย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ฉันไม่อยากเหนื่อยเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา

“ไม่ทำ!” “หนูขี้เกียจ” “แม่ทำให้สิ” ทำไมต้องเหนื่อยพยายามให้ได้สิ่งนั้นมาด้วย ในเมื่อยังไงแล้วพ่อแม่ก็จะหาสิ่งนั้นมาให้ฉันได้อยู่ดี ซึ่งก็จะเป็นการบ่มเพาะความขี้เกียจ เหมือนสุภาษิต “เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ” คือการทำอะไรเองไม่เป็นซักอย่าง เพราะพ่อแม่ส่วนมากมักจะให้อะไรกับลูกโดยที่ลูกไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยหรือทำงานอะไรเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาเลย สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือ ฝึกลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ให้ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือช่วยงานอื่น ๆ ที่พอจะทำได้ตามอายุของลูก แลกกับสิ่งที่ลูกอยากได้ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนขยันทำงาน มานะพยายาม ถึงจะได้สิ่งที่ต้องการ

 

3. ฉันไม่จำเป็นต้องเก็บกวาดความวุ่นวายที่ฉันทำ

เป็นความคิดของเด็กหลายคนสมัยนี้ที่น่ากลัวมากทีเดียว ในวัยเด็กเขาอาจทำบ้านเกะกะรกรุงรัง แล้วไม่เก็บกวาดให้สะอาดเรียบร้อย แต่เมื่อโตขึ้นเขาอาจถึงขั้นทำอะไรก็ได้ที่อันตรายกับคนในสังคม ด้วยความคิดว่าไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตัวเองทำ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ สอนและทำให้ลูกดูว่า เมื่อใดที่เราสร้างความวุ่นวายอะไรขึ้นมา เราเองนั่นแหละที่เป็นคนต้องรับผิดชอบสิ่งนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ฉันต้องการมันเพราะใคร ๆ ก็มี

ความคิดนี้เป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ เพราะการที่เด็กคนอื่น ๆ มี และลูกอยากมีบ้าง นั่นคือลูกอยากได้รับการยอมรับในหมู่เพื่อน อยากตามกระแสสังคม ซึ่งบางสิ่งก็อาจเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น สิ่งที่ควรทำคือ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ลูกไม่จำเป็นต้องมีทุกอย่างเหมือนที่เพื่อนมี แต่ควรดูความจำเป็นและเหมาะสมมากกว่า เพราะเงินไม่ได้หามาได้ง่าย ๆ เราจึงควรใช้เงินอย่างรู้ค่า ยังมีคนอีกมาก เช่นในประเทศที่ยากจนมาก พวกเขาไม่มีแม้ข้าวจะกิน นับประสาอะไรกับข้าวของฟุ่มเฟือย ไม่ต้องพูดถึงเลย

 

5. ฉันหวังว่าพ่อแม่ต้องแก้ปัญหาทุกอย่างให้ฉัน

ซึ่งก็กลายเป็นว่าลูกจะทำผิดพลาดอะไรก็ได้ไม่เป็นไร แต่จะมีพ่อแม่คอยช่วยเหลือแก้ปัญหาให้อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ควรทำคือ สอนลูกว่าพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกไปตลอดชีวิต ลูกต้องหัดช่วยเหลือดูแลตัวเอง เติบโตและรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำลงไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปัญหาครอบครัวอย่างหนึ่งของคู่แต่งงานที่มีลูกน้อย คือการเลี้ยงลูกอย่างตามใจจนเกินไป ทำให้เด็กที่ถูกตามใจจากพ่อแม่กลายเป็นเด็กสปอยล์ หรือเรียกได้ว่าการที่พ่อแม่สปอยล์ลูก (Spoil) คือการทำให้เด็กเสียคน หรือตามใจลูกจนเกินไปนั่นเอง

 

พฤติกรรมพ่อแม่แบบไหนที่เข้าข่าย “สปอยล์ลูก”

1. แสดงพฤติกรรมแย่ ๆ ให้ลูกเห็น

เด็กเล็ก ๆ มักจะมีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบคนใกล้ตัว ดังนั้นถ้าพ่อแม่ทำไม่ดีต่อหน้าลูก ก็จะทำให้ลูกเลียนแบบนิสัยไม่ดีของพ่อแม่ไปได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการแสดงออกหากไม่อยากให้ลูกทำไม่ดี ก็ไม่ควรทำให้ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือลับหลังลูก เช่น ห้ามลูกไม่ให้กินขนมกรุบกรอบ แต่คุณก็ชอบซื้อขนมเหล่านั้นมากินเอง หรือการเผลอพูดคำหยาบที่อาจเป็นคำอุทาน เมื่อลูกได้ยินบ่อย ๆ ก็อาจนำคำพูดที่คุณใช้บ่อย ๆ มาพูดได้ เป็นต้น

 

2. เข้มงวดกับลูกเกินพอดี

หากคุณใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวดมากเกินไปก็อาจจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัว ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะอะไรที่มันมากเกินไปผลลัพธ์ที่ได้มักจะไม่ดีเสมอ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา ลองปล่อยให้ลูกได้มีความคิดในการตัดสินใจและได้ทำอะไรด้วยตัวเองดูบ้าง

 

3. ลงโทษลูกหนักเกินไป

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่ดีของสังคม เด็ก ๆ ควรได้รับการลูกลงโทษเมื่อทำผิดเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่วิธีการลงโทษก็ควรเหมาะสมกับความผิดของลูกด้วย เพราะบางครั้งลูกอาจทำผิดด้วยความไม่รู้ จึงไม่จำเป็นต้องลงโทษทุกครั้ง แต่เริ่มต้นลูกด้วยการตักเตือน อธิบายให้ลูกเข้าใจถึงความผิด และถ้าหลังจากนั้นลูกยังดื้อทำผิดซ้ำ ๆ ก็ควรหาวิธีลงโทษลูกด้วยความเหมาะสมกับวัยหรือความผิด โดยหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

 

4. ตามใจลูกมากเกินไป

ตามใจในที่นี้คือการปล่อยให้ลูกอยากทำอะไรก็ทำ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าหากปล่อยลูกให้ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็ยังตามใจลูกให้ทำและไม่สอนลูกในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ โดยคิดว่าเมื่อโตขึ้นลูกจะเรียนรู้ถูกผิดได้เอง ซึ่งความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยวิธีนี้เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกติดนิสัยไปจนโตได้ เพราะเด็กยังไม่รู้จักการแยกแยะด้วยตนเอง ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยลูกให้หรือตามใจลูกจนเกินพอดี และควรจะเป็นฝ่ายที่สอนลูกก่อนจะสายเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกชอบเล่นเครื่องสำอางแม่ ควรห้ามหรือตามใจ ปล่อยลูกเล่นเครื่องสำอางมากเกินไป เสี่ยงโตเกินวัยจริงหรือ?

 

5. เอาใจเกินพอดี

เอาใจเกินพอดีตอบสนองลูกด้วยการให้มากเกินไปทั้งวัตถุและสิ่งของ เพราะหวังจะให้ลูกมีความสุข แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่พ่อแม่นั้น กลับส่งเสริมให้ลูกไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักความยากลำบาก และการอดทนรอคอย ไม่ยอมรับกับความผิดหวัง ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มา กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง และสุดท้ายลูกก็จะไม่มองเห็นคุณค่าของคนอื่นด้วย การสปอยล์ลูกแบบนี้จะส่งผลให้ลูกอยู่ยากในสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น

แน่นอนว่าการเลี้ยงลูกด้วยวิธีแบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีทั้งต่อตัวลูกและพ่อแม่ การสปอยลูกมากเกินไปอาจทำให้เด็กโตขึ้นเห็นแต่ประโยชน์ของตนเองและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นหรือประโยชน์ของสังคมส่วนรวม ดังนั้น ถ้าพ่อแม่อยากเลี้ยงลูกแบบมีคุณภาพ ลองมองดูว่าตัวเองเข้าข้ายพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ ควรหยุดสปอย์ลูกแบบไม่มีเหตุผล และหาวิธีเลี้ยงลูกอย่างถูกหลักก่อนที่จะสายเกินแก้ และเพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นคนดี มีคนที่รัก อยู่ในสังคมที่เขาจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีความสุขนะคะ อย่าปล่อยให้ลูก เป็น เด็กสปอยล์

 

ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com/%E0%B8

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกดื้อมาก ทำไงดี

ลูกร้องเอาแต่ใจ ทําไงดี วิธีแก้ปัญหาลูกเอาแต่ใจ แต่ละช่วงวัย ทำไมลูกชอบกรี๊ด ลงไปดิ้นกับพื้น

บทความโดย

ธิดา พานิช