ลูกคุณมีพรสวรรค์หรือเปล่า? มาค้นหากันดีกว่าว่า ลูกเราเป็นอย่างไร

ยิ่งคุณรู้ว่าลูกมีพรสววรรค์เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เพราะความสามารถของเด็กอาจพัฒนาได้ไม่เต็มที่ถ้าถูกจำกัดไว้ด้วยการเรียนการสอนในโรงเรียนปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกคุณมีพรสวรรค์หรือเปล่า? มาค้นหากันดีกว่าว่า ลูกเราเป็นอย่างไร

ลูกคุณมีพรสวรรค์หรือเปล่า? เราเชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ หลายคน ที่อยากให้ลูกเก่งในเรื่องอะไรสักอย่าง จึงอยากจะรู้ว่าลูกของตนมีความสามารถพิเศษ หรือไม่ เราจะพา คุณแม่ คุณพ่อ มาดู กัยว่า อะไร ที่จะบอกได้บ้างว่าลูกของคุณ มีอะไรมีพิเศษรึเปล่า

ถึงแม้ว่านี่จะเป็น บทความ ที่เกี่ยวข้อง กับ ความสามารถพิเศษ ของลูก แต่ในแง่ของการเลี้ยงลูก ถึงแม้ว่าลูกคุณจะมีหรือ ไม่มีพรสวรรค์ ยังไง เขาก็เป็นลูกของเราอยู่ดี ขอให้ พ่อแม่ เข้าใจในจุดนี้ด้วย

การที่แม่ หรือ พ่อ ตั้งความหวังให้ลูก เกินไป หรือ เปรียบเทียบกับลูกมากเกินไป บางที มันจะนำผลเสีย มาให้ตัวลูก มากกว่า เรื่องดี ในฐานะผู้ปกครอง คุณควรที่จะ เข้าใจลูก และ ระวัง เรื่องตรงนี้ได้ด้วยเช่นกัน

เด็กมีพรสวรรค์ ควรได้รับการสอนที่ต่างจากเด็กธรรมดา

แค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีพรสวรรค์?

ลูกคุ ณมีพรสวรรค์หรือเปล่า?

เทียบ จากค่า IQ มาตรฐาน ที่ 100

115-129 – มี พรสวรรค์ เล็กน้อย

130-144 – มี พรสวรรค์ ปานกลาง

145-159 – มี พรสวรรค์ สูง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

160-179 – มี พรสวรรค์ สูงมาก

180 – อัจฉริยะ

ทำไมต้องรู้?

ลูกคุณมีพ รสวรรค์หรือเปล่า?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อ คุณแม่ จำเป็นต้อง รู้ระดับ ความสามารถของลูก ให้เร็วที่สุด เพราะไม่เช่นนั้น พัฒนาการของเด็ก อาจถูกจำกัด ด้วย การเรียนการสอน การให้คะแนน และหลักสูตรปฐมวัย ที่ไม่เหมาะสมกับ ความสามารถ เด็กอาจพยายามปกปิด ความสามารถของตัวเอง เพื่อให้เพื่อนยอมรับ และมักเรียนรู้ ได้ไม่เต็มที่เพราะต้อง เรียนรอเด็กคนอื่น ๆ

จะรู้ได้อย่างไร?

ลูกคุณมีพร สวรรค์หรือเปล่า?

ผล การศึกษาหลายชิ้น เปิดเผยว่าเด็กที่มีพรสวรรค์ มักมีพัฒนาการที่ล้ำกว่าเด็ก ในวัยเดียวกันถึง 30% ตั้งแต่ยังแบเบาะ สังเกต ได้จากพัฒนาการด้าน การเคลื่อนไหวทั่วไป การเคลื่อนไหว แบบละเอียด และ ด้านภาษา ที่ล้ำหน้ากว่า เด็กที่มี IQ ระหว่าง 167 -230+ จะมีพลัง สมาธิ และ ตอบสนอง ต่อการสัมผัสได้มากกว่า เด็กในวัยเดียวกัน

สำหรับ เด็กก่อนวัยเรียน เราจะ จำแนกลักษณะ ความสามารถออก เป็น 3 ประเภท

1. ด้าน ภาษา และ การเรียนรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ด้าน การเคลื่อนไหว

3. ด้าน สังคม

ด้านภาษาและการเรียนรู้

ลูกคุณมีพรส วรรค์หรือเปล่า?

เด็กก่อน วัยเรียนในกลุ่มนี้จะ มีวิธีการเรียนรู้ และ สมาธิดี กว่าต่างจากเด็กทั่วไป พวกเขาจะเรียนรู้ ได้รวดเร็ว และ จดจำสิ่งที่เรียนมาได้ดี ทักษะด้าน ภาษาพัฒนา อย่างรวดเร็ว รู้คำศัพท์มากมาย ชอบแสดงออก ด้วยการพูดคุย ใช้โครงสร้าง ประโยคล้ำหน้าเกินอายุ และ พูดถูกต้อง ตามหลักไวยกรณ์

เด็ก ที่มีพรสวรรค์ จะมี ความอยากรู้อยากเห็น และ สามารถ ตั้ง สมาธิ อยู่กับ สิ่งที่ตัวเอง ชอบเป็น ระยะเวลานาน มีอารมณ์ขัน ที่โตเกินอายุ สามารถเข้าใจ มุขตลกซับซ้อน การเล่นคำต่าง ๆ ได้ก่อนเด็กในวัยเดียวกัน เด็กพวกนี้จะสนใจหนังสือ ที่ให้ข้อเท็จจริงมากกว่าหนังสือนิทาน หรือเรื่องแต่ง มักอยากรู้ และ เข้าสิ่งที่ เป็นนามธรรมต่าง ๆ เช่นเวลาและพื้นที่  มีความคิดสร้างสรรค์ และ มีหัวด้านศิลปะ เช่นเล่นดนตรี หรือ วาดรูปได้ดีเป็นพิเศษ

ด้านการเคลื่อนไหว

ลูกคุณมีพรสว รรค์หรือเปล่า?

เด็ก ในกลุ่มนี้จะมี พลังเหลือเฟือ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ชอบกิจกรรมที่ ต้องใช้พลัง อาจจะต้องการ พักผ่อนน้อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง รักอิสระ และ อยาก สำรวจโลกกว้างรอบ ๆ ตัวเสมอ

ด้านสังคม

เด็กจะรู้จัก ความเห็นอกเห็นใจ และห่วงใยผู้อื่นตั้งแต่ยังเล็ก เด็กกลุ่มนี้อาจมีความรู้สึกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ และ แสดงอารมณ์ ที่ซับซ้อน ได้ดีกว่าเด็กทั่วไป และ อาจมีความ สามารถด้านการเคลื่อนไหว ความรู้สึก จินตนาการ สติปัญญา และ ความอ่อนไหวทาง อารมณ์ร่วมด้วย เด็กอาจมีลักษณะขี้อาย หรือ มีปัญหาในการปรับตัว เมื่อต้องพบสถานการณ์ใหม่ ๆ

แม้เราอาจ เห็นเด็กทั่ว ๆ ไปมีพฤติกรรม เช่น ที่กล่าวมา แต่เด็กที่มีพรสวรรค์ จะมีพฤติกรรมเหล่านี้ที่ โดดเด่น แตกต่างจากเด็กอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Source : kidsacademy

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด และมีพรสวรรค์ พัฒนาความสามารถของลูกให้ดียิ่งขึ้น

พรสวรรค์ทางเปียโนของเด็กน้อยคนนี้ สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างแท้จริง

เลี้ยงลูกให้เป็นCEO จากแม่ที่เลี้ยงลูกสามคนโตมา เป็นหมอและCEO

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team