อาการไข้เลือดออกในทารก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร สังเกตยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออก ไข้สูงเฉียบพลัน อาจเป็นสัญญาณของไข้เลือดออก พ่อแม่อาจจะต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที และสามารถรักษาชีวิตของลูกน้อยเอาไว้ได้ อาการไข้เลือดออกในทารก เป็นยังไง วิธีสังเกต อาการไข้เลือดออก มาดูกัน

 

ไข้เลือดออก โรคร้ายในบ้าน

ข้อมูลจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ประจำปี 2566 ซึ่งทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 2566 ว่ามีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศ 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย โดยช่วงอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก นั่นคือ อายุ 5-14 ปี รองลงมา คือ 15-24 ปี และเด็กแรกเกิด – 4 ปี ตามลำดับ พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพฯ, ภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายเดือนในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่า ในเดือนมกราคมมีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้ว 6.6 เท่า

 

กรมควบคุมโรคได้แนะนำมาตรการป้องกันไข้เลือดออก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เพื่อร่วมมือกันในการปกป้องลูกหลาน ให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือด โดยมาตรการ มีดังนี้

  • เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
  • เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

แนวทางดังกล่าวจะสามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิการ์ และ ไข้ปวดข้อยุงลาย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไข้เลือดออกระบาดในหน้าฝน

ในฤดูฝนมีความเสี่ยงสูงขึ้น เพราะปริมาณน้ำมาก ทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ โดยกลุ่มอายุที่พบเป็นโรคดังกล่าวมาก คือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10 – 14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น

 

ไม่อยากให้ลูกป่วยต้องรู้ วิธีป้องกันลูกเป็นไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น

  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 1 แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปี จนถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี แบ่งการฉีดเป็น 3 เข็ม ระยะห่างกัน 6 เดือน (0, 6, 12 เดือน) แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเดงกี่เท่านั้น จากการวิจัยพบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 60 ป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ร้อยละ 90 แต่ถ้าร่างกายของผู้รับการฉีดวัคซีนเคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่แล้ว จะเป็นการเสริมภูมิป้องกันได้ดียิ่งขึ้น
  • เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเอง และบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
  • และเกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการไข้เลือดออกในทารก สังเกตอย่างไร

เมื่อมีไข้สูงมาก จะมีโอกาสเกิดภาวะช็อกได้เมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรสังเกต 9 สัญญาณอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้เลือดออก คือ

  1. ไข้ลง หรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
  2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
  3. ปวดท้องมาก
  4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ
  6. กระหายน้ำตลอดเวลา
  7. ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  8. ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
  9. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4 – 6 ชั่วโมง

วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออกต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ให้เช็ดตัวลดไข้ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง และรีบพาลูกที่ป่วยไปโรงพยาบาลด่วน ๆ ถ้ามีอาการ แม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วก็ควรไปพบแพทย์ สงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระวัง!!! โรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มาช่วงหน้าฝน รักษาผิดวิธีเสี่ยงเสียชีวิตสูง

 

อาการไข้เลือดออกในเด็ก กับผู้ใหญ่เแตกต่างกันหรือไม่ ?

อาการไข้เลือดออกในเด็ก และผู้ใหญ่จะไม่ต่างกันมาก หลัก ๆ คือ มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจจะมีจุดแดงกระจายตามผิวหนัง แต่อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่อาจจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตามาก และมีอาการที่รุนแรงกว่าในเด็ก

 

 

ไข้เลือดออก รักษาอย่างไร ? กี่วันจึงจะหาย ?

  1. อาการไข้เลือดออกจะมีไข้สูง และทำให้เกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือมีประวัติการชักมาก่อน หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ ห้ามใช้ยาแอสไพริน และ ibuprofen เด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้เลือดออก เนื่องจากยาเหล่านี้ จะรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดทำให้ผิดปกติ และอาจทำให้เกิดอาการทางสมองได้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล เฉพาะเวลาที่ไข้สูงกว่า 39 องศาเท่านั้น
  2. ภาวะการช็อก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมกับไข้ที่ลดลง อาการที่อาจจะส่งผลให้ช็อกคือ เบื่ออาหารมากขึ้น ดื่มน้ำน้อยลง ปัสสาวะน้อยลง ปวดท้องมาก กระสับกระส่าย และมือเท้าเย็น ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที
  3. โดยทั่วไปแล้ว หากยังมีไข้ แพทย์อาจให้ยาลดไข้กลับไปรับประทาน และให้พ่อแม่ สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ในบางรายที่ร่างกายมีปริมาณเกล็ดเลือดลดลงเป็นระยะ ๆ เสี่ยงต่อการช็อก คุณหมอจำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

 

รู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่หาทางป้องกันตัวเองและลูกน้อยจากยุงลายกันไว้ก่อนจะดีกว่านะคะ เพราะโรคไข้เลือดออกนั้นอันตรายกว่าที่ไว้มาก ทางที่ดีคือไม่เป็นจะดีที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ นอกจากไข้เลือดออกก็ยังมีโรคอื่น ๆ อีกที่ต้องระวังนะคะ

 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่และลูกเมื่อต้องเผชิญกับโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก โรคร้ายที่มากับฝน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก

หน้าฝนปล่อยลูกเล่นนอกบ้าน ต้องกำชับห้ามจับ กิ้งกือมีพิษ! ทารก เด็กเล็กยิ่งอันตราย

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และโรคร้ายระบาดหน้าฝน จะสร้างภูมิต้านทานให้ลูกอย่างไร

ที่มา : bangkok hospital phitsanulok, thaihealth, ddc.moph.go

บทความโดย

Tulya