พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ให้ลูกช่วงขวบปีแรก

เด็กในช่วงวัยแรกเกิดถึงขวบปีแรกคุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่าลูกมีพัฒนาการที่รวดเร็ว จากที่คลาน เริ่มเกาะยืน และเดิน เป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากพัฒนาการทางด้านร่างกายแล้ว การพัฒนาทางด้านทักษะการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็นตามวัย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมในทางที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่สมวัย มาดูกันว่า วิธีการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกในช่วงขวบปีแรกทำได้อย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่งเสริมและ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ให้ลูกช่วงขวบปีแรก

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ให้ลูก

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)  สรุปได้ดังนี้

1. ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการผลิตสิ่งที่เป็นต้นแบบ แตกต่าง และเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์

2. ในระดับบุคคล คือ การใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตัวเองในแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

3. การนำความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การสร้างสรรค์ในสังคม คือ ความสามารถในการผลิตต้นแบบที่ไม่เหมือนคนอื่นทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ผลิตสิ่งของใหม่ งานศิลปะชิ้นใหม่ โครงการใหม่ ๆ ในสังคม ฯลฯ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์นี้ สามารถสร้างได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก

ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  นักการศึกษาผู้เชี่ยวชาญได้พูดถึงความคิดสร้างสรรค์กับเด็กไว้ว่า “เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์คุณพ่อคุณแม่ต้องเชื่อว่า  เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว  แม้ว่าอาจจะมีมากน้อยแตกต่างกันออกไป  และอาจมีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน  แต่ถ้าไม่เชื่อว่าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์อยู่  หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูก  ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะความคิดสร้างสรรค์นั้น  สามารถสร้างได้หากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและมีคุณพ่อคุณแม่สนับสนุน”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร

พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ  กล่าวถึงประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อเด็ก  ไว้ว่า    การวางรากฐานการคิดสร้างสรรค์ในวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  ที่จะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในอนาคต  การส่งเสริมกระบวนการคิดให้เด็กมีความคิดฉับไว สามารถเห็นและรับรู้ปัญหา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ ๆ สร้างหรือแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ หรือปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไรว่า ลูกเริ่มมีความคิดสร้างสรรค์  และลูกจะได้รับประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์แล้ว

1. คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่า  ลูกจะเริ่มมีความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจนมากขึ้น คือ  เมื่อลูกเริ่มพูดได้ จะพบว่า เมื่อลูกมีความจำ “คำพูด” มากขึ้น เด็กจะเริ่มตั้งคำถาม “นั่นอะไร” “นี่อะไร” ทั้งวัน สาเหตุที่เด็กถามเพราะเขาอยากรู้ แปลว่า ก่อนที่เด็กจะถาม คงมีอะไรปรากฏในสมองของลูกก่อน หรือบางทีลูกอาจจะรู้แล้วแต่อยากรู้มากขึ้น

2. เมื่อลูกได้พบสิ่งใหม่ที่ไม่รู้จัก เด็กจะเทียบเคียงกับข้อมูลที่จำได้ในสมองของเขาถ้ามีอะไรคล้าย ๆ กัน เขาก็จะพยายามทำความเข้าใจ หาข้อมูลให้มากขึ้น จนได้ข้อสรุปว่ามันคืออะไร รู้แล้วจะเอาไปทำอะไร ถ้าสนใจก็จำเอาไว้ ถ้าไม่สนใจก็อาจลืมเลือนไป ทำให้ทราบว่า เด็กเริ่มมี “ความคิด” มาตั้งแต่เล็ก ๆ แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ในช่วงอายุ 7 ปีแรกเด็กยังไม่สามารถแยกแยะความจริง  กับจินตนาการออกจากการกันได้ยาก  เพราะประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกยังมีไม่มากนัก  ลองสังเกตเวลาที่เด็ก ๆ เล่น ก็จะเห็นว่า มีเด็กบางคน  ชอบเล่าเรื่องกันเป็นตุเป็นตะ เหมือนเขาเชื่อจริง ๆ เมื่อผู้ใหญ่ไปฟังเรื่องที่เขาเล่า ก็คงว่าเด็ก “เพ้อฝัน” ซึ่งความจริงแล้ว ความเพ้อฝันแบบเด็ก ๆ เช่นนี้  เป็นจุดเริ่มต้นของ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนั่นเอง

อ่าน  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกช่วงขวบปีแรก  คลิก

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกช่วงขวบปีแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้านประสาทสัมผัส

พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ กล่าวถึง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกในช่วงขวบปีแรกผ่านประสาทสัมผัส  ดังนี้

1. สัมผัส   เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการฝึกฝนซ้ำ ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป พอเหมาะกับอายุของเด็ก ประตูสู่ความฉลาดของเด็ก ๆ คือ เริ่มตั้งแต่อุ้ม กอด ลูบไล้ผิวหนังของลูก เพื่อให้ลูกจดจำเราได้ว่า  ตัวแม่อุ่น ร้อน ละเอียด หยาบ ชื้น แห้ง และแม่เองก็จะถ่ายทอดความรักของแม่ผ่านสัมผัสผิวหนังทั่วร่างกายของลูกเวลาที่กอด จูบ อาบน้ำ ให้นม แต่งตัว จากความจำเกี่ยวกับสัมผัสของแม่ ก็จะขยายไปที่คุณพ่อ คนอื่น ๆ รอบตัว ต่อไปก็จะจดจำคนรอบข้างได้หมด ซึ่งรวมถึงสิ่งของที่ลูกได้สัมผัสจะเกิดการจดจำ

2. ดมกลิ่น  การจดจำกลิ่นต่าง ๆ ได้รอบตัวตั้งแต่เกิด เริ่มจาก  กลิ่นของแม่ กลิ่นนม กลิ่นอาหาร พ่อแม่ต้องส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสฝึกสัมผัสด้วยการดมกลิ่น

3. ปากและลิ้น เด็กทุกคนมักใช้ปากสัมผัสลิ้มรส ด้วยการอม กัด เคี้ยว คายอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าเป็นของใหม่ที่ลูกไม่เคยรู้จัก  คุณพ่อคุณแม่จะเห็นพฤติกรรมของเด็กที่ชอบหยิบของต่าง ๆ เข้าปากเพื่อจะกัด เลีย และลองเคี้ยวเพื่อรับรส เพื่อเติมเต็มความรู้ของตัวเองให้จดจำและรู้จักสิ่งเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วน เปิดโอกาสให้เด็กลิ้มรสของสิ่งรอบตัว เริ่มจากอาหารที่หลากหลาย ผัก ผลไม้นานาชนิด ของใช้ในบ้านที่ปลอดภัย ซึ่งจะเพิ่มความจำ ความรู้ความเข้าใจของสิ่งที่ยากขึ้น ๆ

4. อารมณ์และความรู้สึก ที่ได้รับจากสิ่งรอบข้าง เป็นสิ่งกระตุ้นให้จดจำทั้งในด้านบวก ลบ ชอบ ไม่ชอบ สนุก น่าเบื่อ บ้านที่ไม่สงบสุข ก็ไม่เกิดบรรยากาศของการอยากเรียนรู้ ถ้าบังคับเด็กมากเกินไป หรือทำโทษ ดุด่าว่ากล่าวบ่อย ๆ ด้วยอารมณ์โกรธที่เด็กไม่ทำตาม ก็จะยิ่งทำให้เด็กไม่อยากเรียนรู้เพราะขาดความสุขสงบในใจ

คุณหมอฝากบอก  : การให้เด็กได้เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผ่านประสาทสัมผัส ต้องควบคู่กับสิ่งที่บำรุงสมองคือ อาหารครบทุกหมู่ น้ำสะอาดดื่มบ่อย ๆ นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เต็มที่ตามวัย และประสบการณ์ผ่านการลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ

ด้านการเรียนรู้

ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  นักการศึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้แนะนำ  เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการเรียนรู้ให้ลูกในช่วงขวบปีแรก ดังนี้

1. การตั้งคำถามฝึกคิด กระตุ้นจินตนาการ ลูกในวัย 1 ขวบ เริ่มพูดและสื่อสารกับพ่อแม่และคนในครอบครัวได้บ้างแล้ว  หากในช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูก  ตั้งคำถามปลายเปิดให้ลูก เช่น  “หนูเห็นอะไร”  “หนูรู้สึกอย่างไร”  เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิด  ฝึกสังเกต  สำรวจ  รวมถึงลองฝึกแก้ปัญหาต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาลูกไปเดินเล่นรอบ ๆ บ้านหรือในสวนใกล้บ้าน ชวนลูกสำรวจต้นไม้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว แล้วถามในสิ่งที่เห็นว่าลูกสนใจ   เช่น  ใบไม้สีอะไร  กลิ่นของดอกไม้เป็นอย่างไร  หอมหรือไม่  เป็นต้น  นอกจากนี้อ่านหนังสือนิทานกับลูก ให้ถามคำถามเพื่อต่อยอดความคิดให้แก่ลูก ถามลูกถึงตัวละครในนิทาน  ถามความคิดเห็นของลูกที่มีต่อตัวละคร  เป็นต้น  โดยใช้คำถามง่าย ๆ  การกระทำเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกน้อยได้อย่างดี

2. เล่นอย่างอิสระ (Free Play) เด็กได้เลือกเล่นอย่างอิสระ  เต็มใจ  เด็กจะรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน  ของเล่น  เช่น  บล็อกไม้  ตัวต่อ  ที่สามารถเล่นได้หลายรูปแบบ  รวมถึงการนำสิ่งของรอบตัวมาเล่นสนุกจะทำให้เด็กเกิดจินตนาการสร้างสรรค์การเล่นด้วยตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การสร้างบรรยากาศ คุณพ่อคุณแม่ คือ คนสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศของการสนุกคิด  รวมถึงนิสัยอยากรู้อยากเห็นอยากเรียนรู้ของลูก เช่น  การพาลูกออกไปเจอสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน  เป็นสถานที่ใหม่ ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้  เช่น  พิพิธภัณฑ์   สวนสัตว์ ฯลฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้อย  รู้สึกตื่นเต้น  และอยากค้นหา  คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสนใจและตอบคำถามเมื่อลูกสงสัยโดยไม่เบื่อที่จะตอบ  จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกได้ 

จะเห็นว่า  ความคิดสร้างสรรค์ของลูกจะได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญ  ลูกได้เรียนรู้โดยการกระตุ้นให้ชวนคิด  ชวนสงสัย  ทำให้สมองเกิดการพัฒนานำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านความคิดและต่อยอดเป็นความคิดสร้างสรรค์ต่อไป

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.bpafreebabyshop.com

https://taamkru.com/th

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ของเล่นเสริมความคิดสร้างสรรค์

กระตุ้นลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

Finding Nemo การ์ตูนที่ให้ความสนุกพร้อมกับข้อคิด สอนลูกไปพร้อม ๆ กับการ์ตูน