แนะนำ ครีมทาหัวนมแตกสำหรับคุณแม่ ช่วยบำรุงหัวนม ปลอดสารเคมีอันตราย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ครีมทาหัวนมแตกสำหรับคุณแม่ ปัญหาหัวนมแตกถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ต้องให้นมลูกน้อย ซึ่งสาเหตุหัวนมแตกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุมาก ๆ ค่ะ ซึ่งบางสาเหตุนั้นคุณแม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่บางสาเหตุนั้นอาจต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์โดยเฉพาะ ซึ่งวันนี้เราได้ทำการรวบรวมสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตก และผลิตภัณฑ์ดี ๆ อย่าง ครีมทาหัวนมแตก ที่จะช่วยบรรเทาอาการหัวนมแตก มาฝากกันจ้า มาตามไปดูพร้อมกันเลย

 

หัวนมแตก คืออะไร ?

หัวนมแตก คือ อาการบาดเจ็บของหัวนม จากการที่หัวนมได้รับการเสียดสี หรือการกระแทก โดยส่วนใหญ่สำหรับคุณแม่มือใหม่ หัวนมแตกเกิดขึ้นจากการให้นมบุตร โดยอาการเบื้องต้นส่วนใหญ่ของหัวนมแตก จะมีลักษณะหัวนมแดง มีสะเก็ดผิวหนังรอบ ๆ หัวนม และหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผิวหนังบริเวณหน้าอกบวมแดง คัดตึงหน้าอก รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส เป็นต้น

 

 

หัวนมแตกมีสาเหตุเกิดจากอะไร ?

หัวนมแตก ถือว่าเป็นอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดได้หลากหลายสาเหตุ ซึ่งสำหรับคุณแม่มือใหม่นั้น หัวนมแตกมักจะเกิดขึ้นจากการให้นมบุตร โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คุณแม่หัวนมแตกในระหว่างให้นมบุตร จะมีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาจเกิดจากท่าทางในการกินนม หรือการดูดนมที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากคุณแม่มือใหม่บางคนอาจจะยังไม่ชำนาญในการให้นมลูก จึงอาจจะทำให้จัดท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกอาจดูดหัวนมแม่ผิดวิธี จึงส่งผลให้หัวนมแตกได้
  • การใส่อุปกรณ์ปั๊มนม หากใส่ผิดวิธีจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หัวนมได้ โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากการคุณแม่ใช้ความเร็วในการปั๊มนมมากเกินไป จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตก ได้
  • การติดเชื้อรา ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการทำให้หัวนมแตกได้ ถ้าหากลูกน้อยมีเชื้อราในช่องปาก ก็จะทำให้การให้นมอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หัวนม และกลายเป็นปัญหาหัวนมแตกได้ โดยคุณแม่สามารถสังเกตว่าเกิดการติดเชื้อหรือไม่จากอาการต่าง ๆ เช่น มีอาการคัน หรือเจ็บบริเวณหัวนม หัวนมมีลักษณะแดงผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บหัวนม เป็นต้น
  • ภาวะลิ้นติดของทารก เป็นอาการที่แถบผิวหนังที่เชื่อมระหว่างลิ้นกับปากด้านล่างสั้นผิดปกติ ทำให้เวลาที่เด็กดูดนมแม่ลิ้นของทารกจะไม่สามารถขยับให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

หัวนมแตกส่งผลต่อการให้นมลูกน้อยไหม ?

อาการหัวนมแตกจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อการให้นมลูกน้อย หากเกิดกรณีที่คุณแม่ต้องให้นมขณะที่หัวนมแตก แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณลานนม และหัวนมก่อนประมาณ 5-10นาที ก่อนจะนำลูกน้อยเข้าเต้า จะช่วยให้อาการเจ็บบรรเทาลงเวลาให้นมลูก และหลังจากให้นมลูกน้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ใช้น้ำนมทาบริเวณหัวนม หรือใช้ ครีมทาหัวนมแตก มาทาที่บริเวณหัวนมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น หรือบางกรณีที่หัวนมแตกจนมีเลือดไหลออกมา ตัวน้ำนมอาจจะมีเลือดเจือปนอยู่ด้วย ทำให้ลูกน้อยอาจจะกลืนน้ำนมที่มีเลือดเจือปนลงไป จนถึงขั้นพบเลือดเจือปนในอุจจาระของหรือในนมที่ลูกน้อยได้สำรอกออกมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้เป็นอันตรายใด ๆ ต่อเด็ก แต่หากคุณแม่มีอาการหัวนมแตกที่รุนแรงมาก ก็อาจทำให้คุณแม่ให้นมลูกได้ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ แนะนำให้คุณแม่ใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อแทนการเข้าเต้าไปก่อนจะดีที่สุด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับการรักษาหัวนมแตก

  • ให้ลูกน้อยดูดนมแม่ในท่าที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น จมูก แก้ม และคางของลูก ควรสัมผัสกับเต้านม จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถดูดนมได้ดีขึ้น และช่วยลดความเจ็บปวดของคุณแม่ลงได้
  • ไม่ควรล้างหัวนมบ่อยครั้งเกินไป ควรล้างตามความเหมาะสม เพราะการล้างบ่อย ๆ จะทำให้ผิวแห้งอาจส่งผลทำให้หัวนมแตกได้
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไปไม่ว่าจะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะถ้าหากใส่เสื้อชั้นในที่คับแน่นจนเกินไปจะทำให้เต้านมของคุณแม่เกิดการเสียดสี จนทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจส่งผลให้หัวนมแตกได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ที่มีส่วนผสมของสารเคมีบางชนิดที่ส่งผลทำให้ผิวบริเวณหัวนมของคุณแม่แห้ง และเกิดการระคายเคือง แนะนำให้เลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะจะดีที่สุด
  • นำน้ำนมแม่ มาทาบริเวณหัวนมและปล่อยให้แห้งแทน เนื่องจากน้ำนมแม่จะมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันการอักเสบ  และช่วยต้านแบคทีเรีย
  • ครีมทาหัวนมแตกสำหรับคุณแม่ เนื่องจากตัวครีมจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวนมแห้งและช่วยคืนความชุ่มชื้นให้หัวนมคุณแม่
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การปรึกษาแพทย์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกวิธีที่ดีที่สุด โดยอาจจะต้องสอบถามประเมินสถานการณ์และลักษณะอาการเบื้องต้นกับคุณแม่ก่อน เพื่อที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา จะได้แนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ ในการจะช่วยลดอาการบาดเจ็บของหัวนมแตกให้กับคุณแม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ครีมทาหัวนมแตกสำหรับคุณแม่

วันนี้เราได้มีไอเทมพิเศษที่จะช่วยป้องกันหัวนมแตกสำหรับคุณแม่ที่พบเจอปัญหาหัวนมแตกกันนะคะจาก Mama’s Choice Intensive Nipple Cream ตัวนี้จะเป็น ครีมทาหัวนมแตกสำหรับคุณแม่ แก้หัวนมแตก สูตรพิเศษเพื่อคุณแม่ให้นมและผู้มีปัญหาหัวนมแตกโดยเฉพาะ ผสานไปด้วยพลังจากธรรมชาติ ที่จะช่วยฟื้นฟูบำรุงหัวนมแม่ แถมยังปลอดภัยกับลูกน้อยอีกด้วย เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรวัตถุดิบพรีเมียมแบบ food grade คุณแม่สามารถทาได้โดยไม่จำเป็นต้องล้างออกเลยค่ะ เพราะสามารถสัมผัสกับปากลูกน้อยได้ปลอดภัย 100% นอกจากนี้ตัวครีมยังคืนความชุ่มชื้นให้หัวนมคุณแม่ และอาจจะช่วยทำให้หัวนมที่คล้ำเสียของคุณแม่กลับมามีสีสันที่เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังอุดมไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น

  • อินทผลัม ช่วยบำรุงหัวนม ต้านอนุมูลอิสระ
  • น้ำมันมะพร้าว ช่วยคืนความชุ่มชื้นให้หัวนม เติมน้ำให้ผิว
  • เชียบัตเตอร์ ช่วยเสริมเกราะป้องกันให้ผิว ป้องกันอาการแพ้หรืออักเสบ

 

 

สำหรับคุณแม่ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายก็สามารถใช้ได้นะคะ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ตัวนี้ผ่านการทดสอบทางผิวหนังเรียบร้อย อีกทั้งยังปราศจากสารเคมีอันตราย ไม่ว่าจะเป็น พาราเบน, พทาเลท, ไทรโคลซาน, SLS, แอลกอฮอล์ และน้ำหอมสังเคราะห์ เรียกได้ว่าเป็นครีมทาหัวนมแตกที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและอ่อนโยนต่อผิวแน่นอนค่ะ หากคุณแม่ท่านไหนสนใจ สามารถทำการสั่งซื้อได้ที่ Mama’s Choice Intensive Nipple Cream

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ของใช้แม่ให้นม สำหรับแม่มือใหม่ ของที่ต้องเตรียมไว้สำหรับแม่และลูกน้อยมีอะไรบ้าง

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

อาการเจ็บเต้านม ของคุณแม่หลังคลอด บรรเทาอาการอย่างไร

ที่มา : enfababy , 2 , motherhood

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Suttida Butdeewong