เลือกอาหารให้ลูก ต้องดูฉลาก GDA
ในบ้านเรามีการบังคับใช้ฉลากแสดงโภชนาการแบบใหม่ หรือ GDA ‘Guideline Daily Amounts’ ในขนมกรุบกรอบ 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดอบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบ/ขนมขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปัง/แครกเกอร์/บิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ ในอนาคต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะขยายให้ครอบคลุมอาหารทุกประเภท โดยฉลากแบบใหม่จะแสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ของอาหารต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ และปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน ทำให้เข้าใจง่ายกว่าฉลากแบบเดิม ช่วยให้พ่อแม่เลือกอาหารให้ลูกและตัวเองได้อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
พอเราได้เห็นฉลากแล้วก็จะรู้ว่าขนมส่วนใหญ่ควรรับประทานแต่น้อยมาก ๆ ต่อวัน ซึ่งหลายคนไม่รู้เรื่องนี้ ทานขนมจนหมดห่อหรือหลายห่อต่อวัน ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
คราวหน้าไปช้อปปิ้งที่ไหน ก็ต้องอ่านฉลาก GDA ที่ติดอยู่หน้าซองอาหาร ก่อนหยิบลงรถเข็นนะคะ
ผักมีประโยชน์ต่อเมนูอาหารของลูกน้อยอย่างไร?
คุณแม่สังเกตไหมคะว่าในทุกๆ เมนูของอาหารเด็กต้องมีผักเป็นหนึ่งในวัตถุดิบ เนื่องจากผักถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารหลักของลูกน้อย เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ และใยอาหารที่จำเป็นต่อระบบการขับถ่าย แถมยังช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย ฉะนั้นการให้ลูกน้อยรับประทานผักจะช่วยลดโอกาสในการที่ลูกน้อยจะกินอาหารระหว่างวันมากเกินไป ถึงแม้ว่าผักจะดีต่อสุขภาพ แต่เด็กๆ ก็มักจะชอบน้ำตาลที่ให้ความหวานมากกว่าอยู่ดี ดังนั้นลูกน้อยจึงมักจะปฏิเสธผักที่มีอยู่ในอาหารที่คุณแม่เตรียมให้ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับดีๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยกินผักได้ง่ายขึ้นแม่ควรเลือก เลือกอาหารให้ลูก แบบมีวิตามินต่าง ๆ
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เป็นตัวอย่างที่ดี โดยแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณแม่ก็กินผักด้วยเช่นกัน จากนั้นลูกน้อยจะเริ่มมีความรู้สึกอยากเลียนแบบคุณแม่ ถึงเวลานี้คุณอาจใช้วิธีการซ่อนผักอย่างแนบเนียบในอาหารของลูกน้อย เช่น ลองผสมผักบดลงในอาหารเสริมธัญพืชสำหรับเด็กที่ลูกน้อยชื่นชอบ หรือเริ่มด้วยการเติมผักชิ้นเล็กๆ เช่น เมล็ดถั่วลันเตา แครอท ฯลฯ ผสมลงในอาหารที่ลูกกินเป็นประจำ คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกสร้างความคุ้นเคยกับรสชาติของผักได้โดยการปั่นผักกับน้ำผลไม้ หรือปั่นกับโยเกิร์ตเพื่อทำเป็นสมูทตี้แสนอร่อยและสดชื่น
เพื่อเป็นการเปิดประสาทการรับรสชาติให้ลูกได้รับรสชาติที่หลากหลายมากขึ้น คุณแม่ควรลองให้ลูกกินผักชนิดต่างๆ ที่มีรสชาติแตกต่างกัน ในช่วงแรกลูกอาจปฏิเสธการกินผัก และอาจจะยากสักหน่อย แต่อย่ายอมแพ้นะคะ หากคุณแม่กำลังมองหาเมนูอาหารที่มีผักต่างๆ ลองไปที่ “เมนูสำหรับลูกน้อย” ซึ่งมีเมนูอาหารรสชาติอร่อยทำได้ง่ายๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก
อย่างไรก็ตามลูกในช่วงวัยต่างๆ ต้องการอาหารที่หลากหลาย คุณแม่ต้องพยายามทำให้เวลาบนโต๊ะอาหารเป็นเวลาที่มีความสุขของครอบครัว หลีกเลี่ยงการให้เด็กรับประทานอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารประเภทจานด่วน เพื่อให้ลูกมีความคุ้นชินกับการกินอาหารเพื่อสุขภาพตั้งแต่ยังเล็ก ถึงแม้บางครั้งคุณแม่อาจต้องพยายามคิดหาวิธีกระตุ้นให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดที่เขาไม่ชอบ คุณแม่ต้องอดทนและใจเย็นเข้าไว้นะคะ เพื่อให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยกับความรู้สึกของการกินอาหาร แล้วเมื่อโตขึ้นเขาจะผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างแน่นอน
ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก
ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงวัย คุณแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยในแต่ละวััยควรได้รับอาหารแบบไหน และควรให้อาหารเสริมให้ลูกกินเมื่อไหร่ อย่างไร ข้อควรระวังในการให้อาหารลูก รวมถึงหารดูแลลูกเมื่อลูกป่วย พ่อแม่ควรให้ลูกทานอาหารอย่างไร เรามาดูเคล็ดลับอาหารของลูกน้อยแต่ละวัยกันดีกว่าค่ะ
อายุเด็ก | อาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัย |
แรกเกิด – 6 เดือน | ให้นมแม่เพียงอย่างเดียว สำหรับในช่วง 2 เดือนแรก สามารถให้นมได้ 8-10 มื้อ ตามที่คุณแม่ต้องการ หลังจากนั้นควรให้นมห่างออกไปในช่วงกลางคืน |
6 – 8 เดือน | ให้อาหารตามวัยที่บดละเอียด หรือเป็นอาหารแบบกึ่งเหลว และควรพยายามป้อนด้วยช้อนเพื่อฝึกเด็กให้รู้จักการกลืนค่ะ |
9 – 12 เดือน | ในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารบดหยาบมากขึ้น และพยายามลดนมมื้อดึกลงนะคะ |
1 – 2 ปี | ฝึกให้เด็กได้ลองถือถ้วยหัดดื่ม พยายามหยิบของกินและตักอาหารด้วยตัวเอง และควรให้เด็กได้หัดเคี้ยวอาหารชิ้นเล็กๆ แต่ต้องไม่แข็งนะคะอาจเริ่มจากผักต้มก็ได้ และควรงดให้นมลูกจากขวด |
3 – 5 ปี | พยายามฝึกให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการรับประทารอาหารร่วมกัน ให้ลูกน้อยได้ลองใช้ช้อนกลางตักอาหารกับพ่อแม่หรือคนอื่นๆ และอย่าลืมจัดเตรียมภาชนะและอาหารสำหรับลูกน้อยด้วยนะคะ |
วิธีเลือกอาหารเสริมให้เหมาะสมกับเด็ก
- เด็กเล็กพ่อแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่มีรสธรรมชาติก่อน ไม่ควรปรุงแต่งรสชาติมากเกินไป โดยในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง แนะนำว่าห้ามเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือของปรุงรสในนมและอาหารเด็กเป็นอันเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกน้อยติดรสหวาน และเบื่ออาหารได้ในที่สุดค่ะ
- ควรให้นมและอาหารลูกน้อยเป็นเวลา สำหรับอาหารว่างสำหรับเด็กนั้น แนะนำว่าควรมีโปรตีนเป็นหลักค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแต่แป้งและน้ำตาลให้มากที่สุด ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กได้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมนะคะ
- หากลูกน้อยกินอาหารน้อย หรือไม่สามารถกินครบ 5 หมู่ได้ หรือมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ พ่อแม่อาจต้องให้ลูกได้กินวิตามินรวมเสริม พร้อมๆ กับจูงใจให้เด็กกินได้กินอาหารให้ครบถ้วนอีกด้วย และพ่อแม่ต้องใจแข็งอย่าให้ลูกได้กินขนมจุบจิบ และน้ำหวานระหว่างมื้อ ลูกน้อยจะได้กินข้าวได้เยอะๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกยังไม่ยอมกินข้าวปละมีน้อหนักตัวน้อยเกินไปอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านก็ได้ค่ะ
อาหารสำหรับเด็กป่วย พ่อแม่ควรทำอย่างไร
เวลาที่ลูกน้อยป่วยมักจะไม่ชอบกินอาหาร และ เกิดอาการเบื่ออาหาร ไหนจะร่างกายอ่อนแอด้วย เมื่อเด็กป่วย โดยเฉพาะเป็นโรคอุจจาระร่วง หรือ ออกหัด เด็กจะเบื่ออาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารน้อยกว่าปกติ การป่วยแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก และถ้าป่วยปีละหลายครั้ง จะทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหาร และ ตัวเล็กกว่าวัย ดังนั้น การให้ลูกได้กินอาหารระหว่างที่ลูกป่วยหรือช่วงพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ
- ในระยะที่เจ็บป่วย เด็กควรได้รับนมแม่บ่อยขึ้นและอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยควรเพิ่มทีละน้อยและบ่อยๆ ในแต่ละวัน
- หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย และเบื่ออาหารนานเกิน 2-3 วัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาลูกน้อยจะได้ไม่เจ็บป่วยร้ายแรงมากขึ้นกวว่าเดิมค่ะ
- หลังการเจ็บป่วยในระยะพักฟื้น เด็กต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 1 มื้อ ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
ที่มาจาก : amarinbabyandkids.com
บทความอื่น ๆ ที่่น่าสนใจ
เครื่องดื่มที่แย่ที่สุดสำหรับเด็ก
ทำไมคุณถึงไม่ควรฉลองวันเกิดให้ลูกทุกปี