ทาสแมวมือใหม่ต้องอ่าน! เลือก ทรายแมว อย่างไรให้ถูกใจน้องแมว !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพื่อน ๆ ชาวทาสแมวมือใหม่ อาจจะกำลังลังเลหลังจากเตรียมซื้อของใช้ให้น้องแมวเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระบะทราย ของเล่นน้องแมว คอนโดแมว อาหารแมว ฯ แต่ก็จะมาติดเรื่องของ ทรายแมว ว่าควรเลือกซื้อแบบไหนดี ที่จะเหมาะกับน้องแมวและลักษณะการใช้งานในห้องของเรา ในวันนี้ เราจะมาแนะนำการเลือกซื้อทรายแมวแต่ละประเภทกัน ไปดูกันเลย!

 

ทรายแมวคืออะไร จำเป็นแค่ไหนกับน้องแมว

สำหรับใครที่เลี้ยงแมว ต้องบอกเลยว่าทรายแมว เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่สำคัญมาก ๆ ในการเลี้ยงแมวเลยค่ะ เพราะตามธรรมชาติของน้องแมว จะมีการขับถ่ายลงบนดินหรือทราย เพื่อกลบหลังจากเสร็จการขับถ่าย เมื่อเราเลี้ยงน้องแมว เราก็จำเป็นที่จะต้องมีทรายแมว สำหรับให้น้องแมวได้ขับถ่ายนั่นเอง โดยทรายแมวจะแตกต่างกับทรายแบบปกติคือ จะเป็นทรายที่ออกแบบมาเพื่อให้น้องแมวได้ใช้เพื่อขับถ่ายโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีการออกแบบให้ช่วยกลบกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ทรายสามารถจับตัวของเสียที่น้องแมวถ่ายออกมาได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และการตักไปทิ้งนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ซื้อดีไหม? ห้องน้ำแมวแบบอัตโนมัติ ดีอย่างไร คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายหรือเปล่า

 

 

ประเภทของทรายแมว

สำหรับการแบ่งประเภทของทรายแมวว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จะใช้วิธีการแบ่งจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตนั่นเอง โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้ออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ๆ นั่นก็คือ ทรายแมวเบนโทไนต์ หรือทรายแมวภูเขาไฟ, ทรายแมวจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ หรือที่เรียกกันว่าทรายแมวเต้าหู้ และทรายแมวแบบคริสตัล นั่นเองค่ะ โดยแต่ละประเภทจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทรายแมวเบนโทไนต์ (ทรายแมวภูเขาไฟ)

ทรายชนิดนี้เป็นทรายแมวที่ผลิตจากแร่เบนโทไนต์ (Bentonite) ที่เป็นดินเหนียวที่เกิดจากการทับถมของขี้เถ้าภูเขาไฟ ทำให้มีความเป็นฝุ่นละออง เม็ดละเอียด และจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายกว่าทรายชนิดอื่น ๆ เป็นพิเศษ และยังมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ด้วยความที่เกิดจากการทับถมของขี้เถ้าภูเขาไฟ จึงทำให้ถูกเรียกว่าเป็น ทรายแมวภูเขาไฟ นั่นเอง! โดยจุดเด่นหลัก ๆ ของทรายชนิดนี้คือ จะจับตัวเป็นก้อนเมื่อโดนน้ำ และตักออกได้ง่ายมาก ทำให้มีกลิ่นอับชื้นที่น้อย นอกจากนี้ยังมีราคาถูกอีกด้วย

 

  • แมวจากวัสดุธรรมชาติ (ทรายแมวเต้าหู้)

ตามชื่อของชนิดเลยค่ะ ทรายแมวชนิดนี้จะผลิตจากวัสดุทางธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ หรือเศษวัสดุจากอุตสาหกรรม โดยปกติแล้วมักจะใช้เป็นข้าวโพด หรือเต้าหู้ เป็นหลัก โดยชื่อเรียกขอทรายแมวชนิดนี้จะเปลี่ยนไปตามวัสดุที่ใช้ผลิตนั่นเองค่ะ เช่น ทรายแมวเต้าหู้ ทรายแมวข้าวโพด ทรายแมวเศษถั่ว เป็นต้น ทรายแมวประเภทนี้มีจุดเด่นที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ทิ้งลงโถส้วมหลังตักทิ้งได้ และการจับตัวเป็นก้อนยังมีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ นอกจากนี้ เพราะมีความเป็นแบบแท่ง จึงไม่ค่อยติดเท้าน้องแมวหลังจากน้องแมวเข้าไปใช้งานอีกด้วย แต่ทั้งนี้ข้อเสียก็คือ ราคาจะสูงกว่าทรายแมวภูเขาไฟมาก ๆ และต้องน้ำหนักของการจับตัวที่เบา เมื่อจับตัวเป็นก้อน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดขนน้องแมวมาทั้งก้อนก็ได้เหมือนกันค่ะ

 

  • ทรายแมวคริสตัล

สำหรับประเภทสุดท้ายอย่างทรายแมวคริสตัล จะถูกผลิตจากโซเดียมซิลิเกต (Sodium Silicate) ที่มีรูปร่างตามชื่อเลยค่ะ เป็นรูปทรงคริสตัลที่สวยงามเหมือนกับเม็ดแก้ว จึงได้ถูกเรียกว่าเป็นทรายแมวคริสตัลนั่นเองค่ะ โดยจุดเด่นของทรายชนิดนี้คือ ความสามารถในการดูดซับของเหลวได้ด้วยตัวเอง จึงไม่จำเป็นต้องตักไปทิ้ง นอกจากนี้ยังมีฝุ่นที่น้อยมาก เพราะตัวทรายมีการจับตัวกันหมด นอกจากนี้ยังประหยัด เพราะสามารถนำไปทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย แต่ทั้งนี้ก็เหมาะกับคนที่มีเวลาในการดูแลทำความสะอาดกระบะทรายน้องแมวเป็นประจำนะคะ ส่วนข้อเสียอีกเรื่องคือ ตัวทรายจะดูดจับแค่ของเหลว นั่นก็คือฉี่ของน้องแมวเท่านั้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องตักอึของน้องแมวออกด้วยตนเองอยู่ดีค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ต้องเลือกแบบไหน ถึงจะเหมาะกับน้องแมว

ทั้งนี้ ในการเลือกซื้อทรายแมว ยังต้องจำเป็นต้องดูหลายปัจจัย โดยเราสรุปมาให้สั้น ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • น้องแมวชอบ และอยากจะใช้งาน : บางครั้งทรายดีแค่ไหน แต่ถ้าน้องแมวไม่ชอบก็จบค่ะ
  • เหมาะสมกับห้อง และสุขภาพของเรา : บางคนอาจเป็นภูมิแพ้ ก็อาจจะไม่ถูกใจทรายภูเขาไฟที่ฝุ่นเยอะสักเท่าไร
  • ราคาสมเหตุสมผล : ราคาเป็นอีกเรื่องที่ต้องคำนึง ต้องเลือกให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานด้วยนะคะ

 

ต้องใส่ ทรายแมว ปริมาณเท่าไรของกระบะทราย จึงจะเหมาะสม

โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณของทรายเราจะใส่ในระดับประมาณครึ่งกระบะทราย เพื่อที่น้องแมวจะสามารถกลบได้สะดวก แต่ทั้งนี้ใส่มากเกินไปก็ไม่ดีค่ะ เพราะอาจทำให้ทรายกระเด็นออกมาในระหว่างที่น้องแมวกลบได้ง่ายด้วย ดังนั้น ปริมาณที่เหมาะสมจริง ๆ แล้วควรจะดูจากพฤติกรรมของน้องแมวเป็นหลัก ว่ามีนิสัยการกลบ การใช้งานทรายแบบไหนนั่นเองค่ะ

 

กระบะทรายแมว ควรวางตรงไหนดี

  • พื้นที่ที่แนะนำในการวางกระบะทราย : ห้องน้ำ ถ้าถามว่าเพราะอะไร ก็ต้องบอกเลยว่า เพราะห้องน้ำนั้นเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการขับถ่ายอยู่แล้ว ทั้งนี้ถ้าห้องน้ำของเรามีระบบการระบายอากาศได้ดี ก็จะยิ่งทำให้การระบายกลิ่นต่าง ๆ ที่ลอยออกมาจากกระบะทราย ก็จะไม่มารบกวนเพื่อน ๆ ได้อีกด้วย ส่วนอีกหนึ่งมุมที่แนะนำ สำหรับน้องแมวบางตัวที่ไม่ชอบห้องน้ำ เพราะกลัวเสียงน้ำ ก็ขอแนะนำ มุมใต้บันได เลยค่ะ เพราะมุมนี้เป็นมุมที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ทำให้น้องแมวไม่เขินในการใช้งานห้องน้ำ และยังทำให้น้องแมวสบายใจเมื่อได้ขับถ่ายในมุมที่มีความเป็นส่วนตัวอีกด้วย

 

  • พื้นที่ที่ไม่แนะนำในการวางกระบะทราย : ระเบียงห้อง ส่วนหนึ่งเราก็เข้าใจเพื่อน ๆ ว่า ส่วนใหญ่แล้วอาจจะพักอยู่ในคอนโดหรือหอพัก ที่มีพื้นที่จำกัด และไม่สะดวกนำกระบะทรายไปวางในมุมที่แนะนำ แต่ทั้งนี้ เราจำเป็นต้องคำนึงถึงส่วนรวมด้วยนะคะ! เพราะการวางที่ระเบียง จะทำให้ลมโชยได้ง่าย และพักนำพากลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากกระบะทรายแมวลอยไปทั่ว และยังมีโอกาสที่ทรายแมวจะลอย กระเด็นไปโดนห้องอื่นได้อีก ดังนั้น เราต้องเคารพส่วนรวมและรักษาความสะอาดเสมอ และระเบียง ยังจำเป็นต้องกั้นให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้น้องแมวตกลงไป หรือมีสิ่งของตกลงไปด้วยค่ะ

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้ในการเลือกซื้อ ทรายแมว เพื่อเหล่าทาสแมวทุกคน! จะเห็นได้ว่าเราจำเป็นต้องคำนึงทั้งความชอบของน้องแมว และลักษณะของทรายแมวประเภทต่าง ๆ ที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับบ้านของเราอีกด้วย! หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาซื้อทรายแมว อย่าลืมนำบทความของเราไปพิจารณาเลือกซื้อได้นะคะ!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตู้เป่าขนแมว นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่ช่วยให้การเป่าขนน้องแมวเป็นเรื่องง่าย!

8 ของเล่นแมว ใน Shopee ไว้เล่นกับน้องแมวสนุก ๆ ที่ทาสแมวต้องมี!

7 ยี่ห้อ ห้องน้ำแมวอัตโนมัติ ยี่ห้อไหนดี ทำความสะอาดตัวเองได้

ที่มา : 1

บทความโดย

Woraya Srisoontorn