ลูกป่วยลมพิษเรื้อรัง-ตับโต แม่เศร้าหมอไม่ทำใบส่งตัว ค่าใช้จ่ายบานปลาย

การไม่ยอมทำใบส่งตัวของแพทย์ เพียงเพราะกลัวโดนด่าผอ.ด่า กำลังจะสร้างความยุ่งยากให้คุณแม่ท่านหนึ่ง เมื่อเธอไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ ไม่สะดวกในการพาลูกป่วยโรคผิวหนัง ตับโตและเบาจืดไปมาหาหมอ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกป่วยลมพิษเรื้อรัง-ตับโต แม่เศร้าหมอไม่ทำใบส่งตัว ค่าใช้จ่ายบานปลาย

เหตุการณ์ของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวรายหนึ่ง เมื่อลูกมีอาการป่วย ลูกป่วยลมพิษเรื้อรัง-ตับโต แม่เศร้าหมอไม่ทำใบส่งตัว ค่าใช้จ่ายบานปลาย

โรคลมพิษ

เป็นโรคที่พบผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง นูน ขอบเขตชัดเจนและมีอาการคัน โรคลมพิษจะแบ่งเป็นลมพิษเรื้อรังคือมีอาการหกสัปดาห์ขึ้นไป ส่วนที่มีอาการน้อยกว่าหกสัปดาห์ถือเป็นลมพิษปัจจุบัน โรคลมพิษเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคลมพิษมีอาการตั้งแต่เป็นลมพิษมีผื่นเพียงเล็กน้อย หรือเป็นโรคลมพิษรุนแรงถึงกับเสียชีวิต

อาการโรคลมพิษ

ประวัตการป่วยด้วยลมพิษที่ต้องทราบคือ เคยเป็นมาก่อนเมื่อไร ระยะเวลาที่ผื่นหายไป ประวัติที่ต้องทราบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดผื่น เช่น ความร้อน ความเย็น บริเวณที่กดทับเช่น ขอบชุดชั้นใน การออกกำลังกาย ความเครียด การใช้ยา
  • โรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคอื่นๆ
  • ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว โดยเฉพาะประวัติการแพ้รุนแรง

โรคลมพิษแบ่งออกเป็นสองชนิด ได้แก่

1ลมพิษชนิดเกิดปัจจุบัน Acute urticaria

เกิดอาการลมพิษ หลังจากได้รับสารที่ก่อภูมิแพ้ ผื่นมักจะหายภายใน 24 ชัวโมง หรืออาจจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่า angioedema หรืออาจจะเกิดภาวะ anaphylactic shock แต่บางคนผื่นอาจจะอยู่ได้นาน 2-3 วัน สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ อาหาร ยา อากาศ การติดเชื้อไวรัส

Allergy testing may be needed to find out if you’re allergic to suspected triggers for urticaria.

2ลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria

เป็นลมพิษที่เป็นเรื้อรังนานเกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุอาจจะเกิดจากการได้รับสารที่แพ้อย่างต่อเนื่องเช่น ได้รับยาปฏิชีวนะในน้ำนม สารถนอมอาหาร สี สารปรุงรส

สำหรับลมพิษที่เกิดน้อยกว่า6 สัปดาห์จะต้องหาสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคได้แก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เหตุการณ์ที่คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ ฤดูที่เปลี่ยนแปลง ชีวิตที่เปลี่ยนไป ออกมาเล่าถึงอาการป่วยของลูกชายอายุเพียง 8 เดือน ที่มีอาการป่วยทางโรคผิวหนังเรียกว่า โรค urticaria pigmentosa ลักษณะคล้ายอาการเป็นลมพิษเรื้อรัง ซ้ำลูกชายยังมีอาการตับโต ร่วมกับการดื่มน้ำมาก จนผิดปกติ ซึ่งดื่มราว ๆ วันละกว่า 3 ลิตร ทำให้น้องต้องรอตรวจอาการโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกคือ โรคเบาจืด ซึ่งโรคเบาจืดนี้เกิดจากการสูญเสียหน้าที่การดูดกลับของน้ำ ที่ไต ทำให้เกิดการกระหายน้ำมากกว่าผิดปกติ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบ มาก ที่สุดในเด็ก

ด้วยความเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูกคนเดียว กับการไปโรงพยาบาล 2 ที่ 2 แห่งทำให้เธอไม่ค่อยสะดวกนัก ซ้ำแพทย์ที่รักษายังทำให้แคลงใจว่าทำไมถึงไม่ยอมทำใบส่งตัวลูกเธอให้ได้รักษาที่โรงพยาบาลเดียวกัน สร้างความลำบากให้กับเธอ เพราะเธอไม่มีอาชีพ รายได้ที่มีก็อาศัยขายของผ่านเนต มีรายได้บ้างหรือไม่มีบ้าง ซึ่งคุณแม่ท่านนี้ได้โพสต์ให้ข้อมูล มีข้อความว่า…

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ณ โรงพยาบาล…แห่งหนึ่ง
คุณหมอ: วันนี้น้องเป็นอะไรมาค่ะ
คุณแม่: น้องมาขอใบส่งตัวค่ะ น้องเป็นโรคurticaria pigmentosa มีตับโตด้วย ปกติน้องรักษาอยู่ที่รพ….นี้อยู่แล้วค่ะ แต่ต้องมีใบส่งตัว ก่อนหน้านี้ทำใบส่งตัวจากรพ.ที่มหาราชค่ะ แต่หมดอายุแล้ว บวกกับย้ายมาอยู่ที่นี่เลยย้ายสิทมาที่นี่ค่ะ
คุณหมอ: แล้วมีประวัติการรักษาจากรพ.ที่รักษามั้ยค่ะ??
คุณแม่: มีค่ะ มีทั้งประวัติทั้งใบนัดค่ะ น้องมีใบนัด3ใบ วันที่18มค.นัดตรวจปัสสาวะน้องค่ะ น้องกินน้ำเยอะผิดปกติ คุณหมอสัณนิษฐานโรคเกี่ยวกับสมอง(เบาจืด)
คุณหมอ: โดยปกติถ้าอาการไม่หนักหมอจะไม่ออกใบส่งตัวให้นะค่ะ
คุณแม่: (งง????)
แต่น้องรักษาต่อเนื่องอยู่ที่รพ…นี้มาหลายเดือนแล้วนะค่ะ มันการรักษาต่อเนื่องนะค่ะ
คุณหมอ: งั้นเดี๋ยวรอสักครู่นะค่ะ
(คุณหมอโทหาเพื่อนหมอด้วยกันที่รพ.ที่น้องรักษาอยู่ จับใจความได้ว่าให้ส่งตัวมาเพราะได้รักษาต่อเนื่องอยู่)
คุณแม่: ………(นั่งฟังแบบเงียบๆ)
คุณหมอ: (วางสาย..โทรหาหมออีกคนหนึ่งที่อยู่คนละตึก)
คุณแม่: ………(ไม่ได้ใบส่งตัวแหงๆ)
คุณหมอ: ปรึกษาคุณหมออีกท่านแล้ว ให้น้องรักษาที่นี่ เพราะดูๆแล้วอาการน้องยังไม่หนักมาก
คุณแม่: (คิดในใจ ต้องรอให้หนักแค่ไหนถึงจะส่งตัวได้)
แต่คุณหมอผิวหนังที่นี่ทำใบส่งตัวเรื่องตุ่มให้แล้วนะค่ะ เรื่องตับกับเบาจืดต้องมาขอใบส่งตัวกับหมอเด็กเพราะคนละแผนกกัน
คุณหมอ: เรื่องตุ่มก็รักษาที่รพ…นุ้นไปค่ะ ส่วนเรื่องตับกับเบาจืดรักษาที่นี่
คุณแม่: (งงอีกแล้ว???) ทำเรื่องส่งตัวไปรักษาที่เดียวกันไม่ดีกว่าหรือค่ะ อีกอย่างรพ…ก็นัดแล้วค่ะ เรื่องที่น้องตับโตอาจจะเกี่ยวข้องกับตุ่ม(คุณหมอที่รพ…นุ้นบอก)
คุณหมอ: คือยังงี้ค่ะ ถ้าคุณหมอทำใบส่งตัว ก็จะโดนผอ.ด่าค่ะ หมอไม่อยากโดนผอ.ด่าค่ะ วันก่อนพึ่งจะโดนด่ามาเรื่องใบส่งตัว
คุณแม่:(กลัวโดนด่า?????)แล้วเรื่องที่หมอทางนุ้นนัดน้องละค่ะ
คุณหมอ: แล้วแต่คุณแม่นะค่ะ จะไปก็ได้แต่ทางนี้ไม่ออกใบส่งตัวให้นะค่ะ แต่จะนัดมาตรวจที่นี่แทน
คุณแม่: (อึ้งค่ะอึ้ง!!!!!!!พูดไม่ออก)..
ตกลงออกใบส่งตัวไม่ได้ใช่มั้ยค่ะ
คุณหมอ: ค่ะ คงออกให้ไม่ได้ถ้าออกคุณหมอก็โดนด่า รักษาที่นี่ละกันนะค่ะ ที่นี่ก็มีหมอเก่งๆค่ะ เรื่องตุ่มก็รักษาที่นุ้นไป เรื่องตับกับเบาจืดก็รักษาที่นี่ เดี๋ยวคุณหมอนัดมาตรวจปัสสาวะนะค่ะ
คุณแม่: (แล้วทำไมหมอผิวหนังถึงออกใบส่งตัวให้ได้???) ออกจากห้องแบบงงๆ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบ มากที่สุดในเด็ก **น้องเป็นโรคurticaria pigmentosa ตั้งแต่2เดือน ตอนนี้น้อง8เดือน ระยะหลังน้องมีตับโตร่วมด้วย ทุกวันนี้น้องกินน้ำเยอะผิดปกติ วันนึงประมาณ3ลิตร คุณหมอสัณนิษฐานโรคเกี่ยวกับสมอง คุณหมอขอตรวจน้องตั้งแต่วันที่ฟังผลตับ(4มค.) แต่วันนั้นไม่มีใบส่งตัวเพราะพึ่งย้ายสิทมาเริ่มใช้ได้วันที่15หมอเลยนัด18 เพราะโรคนี้ถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ช็อกได้แต่ถ้าได้รับมากเกินไปทำให้สมองบวม ทุกวันนี้ตุ่มที่เป็นก็กำเริบได้ตลอดเวลา 2-3นาทีที่กำเริบสามารถทำให้น้องเกร็งจนชักได้ คุณแม่เป็น single mom เลี้ยงน้องคนเดียว ต้องออกจากงานมาดูน้องใกล้ชิด ไม่มีรายได้ ทำให้ใบส่งตัวสำคัญมากสำหรับน้อง ที่ผ่านมาก็มีคนบริจาคนมกับแพมเพิสให้น้อง บางคนช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาเพราะบางอย่างสิทบัตรทองไม่รองรับต้องชำระเงินเอง ทุกวันนี้น้องกับแม่ก็ลำบาก คุณแม่เองก็พยายามหาของขายในเนตเพื่อให้มีรายได้ อาจจะได้บ้างไม่ได้บ้างก็ดีกว่าไม่ได้เลย***

ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่  ฤดูที่เปลี่ยนแปลง ชีวิตที่เปลี่ยนไป ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ และขอให้ลูกชายมีสุขภาพแข็งแรง อาการทุเลา ขอให้อาการเจ็บป่วยดีขึ้นไปเป็นลำดับนะคะ

 

ที่มาจาก Herkid รวมพลคนเห่อลูก

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

5 โรคติดต่อควรเฝ้าระวังในปี 2559

ประสบการณ์ตรง: ลูกชายวัย 5 เดือนป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team