ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน จอจนตาอักเสบรุนแรง! พ่อโพสต์เตือนอย่าปล่อยลูกดู ทีวี มือถือ ยิ่งนานยิ่งอันตราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ต้องยอมรับว่า ยุคสมัยนี้ คนส่วนใหญ่มักจะติดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต โดนเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ จนบางครั้งละเลย การทำหน้าที่ของตนไป พอมารู้อีกทีลูกก็กลายเป็นเด็กติดจอไปแล้ว คราวนี้ก็มาหา วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดแท็บเล็ตกันยกใหญ่  จึงต้องเตือน! ผู้ปกครองที่ให้ ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน แทนการให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น เสี่ยงทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพใจ พ่อโพสต์เตือนลูกดูทีวีดูมือถือจนตาอักเสบรุนแรง

 

อุทาหรณ์ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน

คุณพ่อ โพสต์เป็นอุทาหรณ์ลูกดูทีวี ดูมือถือทั้งวัน ว่า ฝากเตือนแม่ ๆ ที่ปล่อยลูกดู ทีวี มือถือ เป็นเวลานาน ๆ ด้วย ปกติจะไม่ค่อยให้ลูกดูแต่วันนั้น พ่อก็ไม่สบายแม่ต้องเอาน้อง ปล่อยให้ดูทั้งวัน ผลที่ได้ตาอักเสบรุนแรง อันตรายมาก ๆ จนคุณหมอต้องสั่งนอนดูอาการ

สำหรับการจ้องจอไม่ว่าจะเป็น จอโทรทัศน์ หรือจอมือถือ ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย ทั้งนี้ ทางทีมงาน theAsianparent ขอให้น้องแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ ส่วนอันตรายของการที่ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวันนั้น มีดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?

 

วิดีโอจาก : BNH Hospital

 

อันตรายเมื่อลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน

  • อันตรายต่อสุขภาพร่างกายเมื่อ ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน : เด็กจะมีสุขภาพไม่แข็งแรง เพราะใช้เวลานั่งหน้าจอทั้ง ทีวี หรือนอนเล่นมือถือนานเกินไป จนไม่ได้ไป ออกกำลังกายตามวัย เกิดปัญหาการอดนอน ไม่ยอมทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะติดการเล่นหน้าจอ หรืออยากนั่งดูทีวีนาน ๆ นอกจากนี้ การนั่งจ้อง หน้าจออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สายตาสั้น และปวดล้าตาได้ อีกทั้งมีการศึกษาที่พบว่า สัตว์ทดลองที่ได้สัมผัสกับคลื่นโทรศัพท์ เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมอง ถึงแม้ว่าข้อมูลการศึกษาในมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่เราควรระวังไว้
  • อันตรายต่อสุขภาพจิต เมื่อลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน : เด็กจะมีสุขภาพจิตแย่ลง และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว ซึมเศร้าได้ง่าย และอาจแสดงอาการต่อต้าน ก้าวร้าว หงุดหงิดง่ายหากผู้ปกครอง ไม่ยอมให้ใช้อุปกรณ์สื่อสาร และอาจกลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทักษะของ EF (executive function) ในด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง และควบคุมอารมณ์ อันเป็นรากฐานความสำเร็จของเด็กในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสมาธิสั้น และออทิสติกเทียมในเด็กอีกด้วยนะคะ

 

ลูกติดมือถือ มีผลเสียอย่างไร

สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่นออกโปสเตอร์เตือนอันตรายของการใช้โทรศัพท์ สมาร์ตโฟน ไว้ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
  2. ผลการเรียนย่ำแย่ลง
  3. สมรรถภาพทางกายลดลง
  4. สายตาแย่ลง
  5. พัฒนาการทางสมองช้าลง
  6. ความสามารถในการสื่อสารลดลง

ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ ทำให้สายตาเสีย นอนหลับไม่เพียงพอ และ ขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว

 

นอกจากนี้ Dana Suskind รองศาสตราจารย์สาขากุมารแพทย์ศัลยกรรมมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าวว่า ภาษาคืออาหารสำหรับการพัฒนาสมองทารกในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิต หากพ่อแม่ติดมือถือ มัวแต่จดจ่อกับสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์อื่น ๆ ก็จะไม่ได้พูดคุยกับลูกมากพอ ซึ่งการพูดคุยนั้นสำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กอย่างมาก ทารกที่พ่อแม่พูดคุยด้วยจะสามารถสะสมคำศัพท์ในหัวและเรียนรู้ได้เร็วกว่าทารกที่ถูกปล่อยให้นั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการแก้ลูกน้อยติดมือถือ

1. เป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น

คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มสำรวจตัวเองก่อนเลยว่า คุณพ่อคุณแม่เองมีนิสัยติดมือถือเหมือนกันหรือเปล่า หากลูกเห็นคุณพ่อคุณแม่เล่นมือถือตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างตอนกินข้าว เด็ก ๆ ก็จะเลียนแบบ และไม่เชื่อคำสอนของคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงแนะนำให้เริ่มแก้ที่พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนเป็นอันดับแรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. กำหนดกติกาการเล่นมือถือ

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพลินแบบไม่มีกำหนดเวลานะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ควบคุมการเล่นของลูก โดยมีการกำหนดกติกากันก่อนว่า จะให้ลูกเล่นได้นานแค่ไหน เช่น ลูกเล่นได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และควรจริงจังกับเวลาที่ตกลงกันด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเกินเวลา เพราะจะทำให้ลูกไม่เชื่อถือในคำพูดของคุณได้ค่ะ โดยปกติแล้วสำหรับเด็กเล็ก ๆ ควรให้เวลาเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ

 

3. ไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูกเล็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือเสมอ ไม่ควรให้ลูกยึดเอาโทรศัพท์มือถือไปเล่นจนคุณพ่อคุณแม่ควบคุมเขาไม่อยู่ หรือไม่ควรซื้อโทรศัพท์มือถือส่วนตัวให้ลูกเล็ก ๆ ค่ะ

 

4. ชวนลูกทำกิจกรรมร่วมกัน

อันที่จริง เด็ก ๆ เป็นวัยที่สนุกกับกิจกรรมได้หลากหลาย บางครั้งเด็ก ๆ ชอบเล่นโทรศัพท์มือถือเพราะว่าเขาไม่มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ คุณพ่อคุณแม่จึงควรชวนเด็ก ๆ ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง เช่น ชวนไปเที่ยว ชวนประดิษฐ์ของ หรืออาจชวนลูกไปเรียนเสริมทักษะสนุก ๆ เช่นเรียนกีฬาหรือดนตรี อย่าลืมสังเกตว่าลูกชอบอะไร และให้เขาได้ทำสิ่งนั้น เด็ก ๆ อาจสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ จนพักการเล่นมือถือไปเลย

 

5. คุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่ด้วยแล้วมีความสุขกว่ามือถือ

เด็กบางบ้านติดมือถือ เพราะในมือถือมีสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขได้มากกว่าการอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เช่น เวลาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่แล้วชอบโดนดุ หรือโดนต่อว่าในทางลบ เขาจึงหนีไปเล่นมือถือที่มีสิ่งที่เขาสนุกและมีความสุข คุณพ่อคุณแม่จึงควรต้องปรับตัวเองให้เป็นคนที่ลูกอยากอยู่ใกล้ โดยให้ความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ลูกให้มาก ๆ ค่ะ

 

มือถือเป็นทางเลือกที่เด็ก ๆ ลูก ๆ สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ ในช่วงเวลาว่างได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวลูกน้อยเองด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกด้วยจอ มือถือ แท็บเล็ต เลี้ยงอย่างไรให้เหมาะสม

6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือ-แท็บเล็ตได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

บทความโดย

Tulya