ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!

ลูกใช้มือถือ สมาร์ทโฟน หรือเล่นคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอเป็นประจำ ลูกของคุณอาจเสี่ยงเป็นสายตาสั้นเทียมได้ สายตาสั้นเทียมคืออะไร แล้วจะมีวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นสายตาสั้นเทียมทำอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ จนตาอักเสบหวิดตาบอด แม่เจอกับตัวถึงได้รู้ นอกจากนี้ เด็กๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้โพสต์ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่แม่ท่านอื่น ๆ ไว้ว่า

ฝากเป็น อุทาหรณ์ค่ะ สำหรับคุณแม่ๆๆ ที่ชอบให้คุณลูกเล่นโทรศัพท์ค่ะ

ผลที่ออกมาเป็นแบบนี้เลยค่ะ ดีนะคะตาไม่บอดเอา

หมอบอกว่า นี่ก็ขั้นหนักแล้ว

นี่ค่ะ ผลของให้เด็กๆ เล่นโทรศัพท์ ถ้าใครไม่อยากให้ลูกตัวเองเป็นแบบนี้ให้เค้าเลิกเล่นโทรศัพท์เถอะค่ะ ตาบอดมาไม่คุ้มกัน หาอย่างอื่นให้เค้าเล่นแทนค่ะ

ตอนแรกก็เห็นคนเค้าแชร์เยอะ

ว่าเด็กเล่นโทรศัพท์แล้ว มีเลือดไหลที่ตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แล้วอาจทำให้ตาบอด เราไม่เชื่อค่ะ

พอเกิดขึ้นกับลูกตัวเองเท่านั้นละ

โอ้ยยย เลิกเลยค่ะ ให้เลิกอย่างไว

เด็ดขาดเลยค่ะ กลัวค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราเป็นคนไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ทำแต่งาน จะเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์ ให้เค้าอยู่กับโทรศัพท์ตลอด ใครมีนิสัยเหมือนเรา เลิกนะคะ เปลี่ยนค่ะ ให้เล่นโทรศัพท์ ไม่ใช่ทางออกที่ดี หาอย่างอื่นให้เค้าเล่นแทนค่ะ อีกอย่างนะคะ ใช่จะทำให้ตาบอดอย่างเดียว แถมสมาธิเด็กสั้นด้วยค่ะ

ฝากบอกต่อๆ ไปด้วยนะคะ

ลูกหลานท่านใดที่ติดโทรศัพท์อยู่ตอนนี้

ให้เค้าเลิกนะคะ หรือห่างๆ ไม่งั้นตาบอดมาไม่คุ้มกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกันไว้ค่ะ ดีกว่าเป็นแล้ว มาแก้ไข้ทีหลัง มันไม่คุ้มกันค่ะ

สอบถามคุณแม่เพิ่มเติม ทราบมาว่า น้องอายุ 6 ขวบย่าง 7 ขวบแล้วค่ะ จากที่แม่โพสต์ไป คุณหมอแจ้งว่า น้องเป็นเส้นประสาทตาอักเสบค่ะ เกิดจากการเล่นโทรศัพท์ โดยอาการเริ่มแรก น้องบอกมีอาการเคืองตา ตาแดง ๆ แม่ตกใจเลยรีบพาไปหาหมอ ตอนนี้น้องก็ต้องกินยาและหยอดยา ตามหมอสั่งค่ะ

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอให้น้องหายเร็วๆ นะคะ

 

รู้ไว้เด็กๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

สายตาสั้นเทียมคืออะไร

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การใช้สมาร์ทโฟนของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จะมีลักษณะการใช้สายตาในการเพ่งมองใกล้มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ตาเพ่งค้าง” อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว ตาพร่าได้ หรือที่เรียกว่าสายตาสั้นเทียมชั่วคราว ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและภาวะของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือพ่อแม่มักพาเด็กกลุ่มนี้ไปตัดแว่นที่ร้านแว่นต่างๆ เพราะเข้าใจว่าลูกสายตาสั้น แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ ซึ่งสายตาสั้นเทียมบางรายเกิดแค่ไม่กี่นาทีก็หาย บางคนเป็นวัน ทำให้เมื่อสวมใส่แว่นตาแล้วสุดท้ายมีอาการปวดสายตาและส่งผลเสียต่อตาในที่สุด

การตรวจรักษาตาในเด็กของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ที่มีกว่า 500 คนต่อเดือน พบว่า อาการตาพร่ามัวที่พ่อแม่เข้าใจว่าลูกสายตาสั้นจากการเล่นเกมนั้น ร้อยละ 50 เป็นสายตาสั้นเทียม โดยวิธีในการตรวจว่าเป็นสายตาสั้นเทียมหรือไม่ จะตรวจสายตาตามปกติก่อน ซึ่งมักจะได้ค่าสายตามากกว่าปกติ จากนั้นจะหยอดยาลดการเพ่ง เพื่อปรับสายตาให้คงที่ แล้วจึงวัดค่าสายตาว่าจริงๆ แล้วสายตาเด็กยังปกติอยู่หรือไม่ เป็นเพียงสายตาสั้นเทียม หรือว่าสายตาสั้นเท่าไร เป็นต้น

สาเหตุของสายตาสั้นเทียม

1.ใช้สายตามองใกล้เช่น เพ่งมองคอมพิวเตอร์ เล่นเกม ใช้โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ นานเกินไป

2.จากมีโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด Parasympathetic มากเกินไปเช่น จากอุบัติเหตุที่สมอง

3.สายตาสั้นเทียมพบได้บ่อยในผู้มีสายตาเอียง(Astigmatism)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกตา  เช่น มีภาวะตาเขออกเพราะจะเกิดการเพ่งสายตา

5.ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางอย่างเช่น ยาเคลายเครียด,  ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ตลอดจนยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ และแม้แต่ยาบางตัวที่ใช้รักษาต้อหินก็ทำให้เกิดสายตาสั้นเทียมได้

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสายตาสั้นเทียม

รศ.(พิเศษ) พญ.โสฬส วุฒิพันธุ์ ฝ่ายวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  อาการของสายตาสั้นเทียมและสายตาสั้นจริง ส่วนที่เหมือนกันคือมองไกลไม่ชัดทั้งคู่ แต่สำหรับสายตาสั้นเทียมนั้นมีข้อสังเกตคือ มีอาการมองไม่ชัดค่อนข้างจะทันที เช่น ตามัวมา 1 อาทิตย์ ขณะที่สายตาสั้นจริงจะค่อยๆ มองไม่ชัดมานาน นอกจากนี้สายตาสั้นเทียม จะยังมีอาการปวดตาปวดหัว บางครั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยหลังการใช้สายตามากๆ หรือนานๆ จะมีอาการตามัวมากขึ้น  นอกจากนี้ การวัดสายตาแล้วได้ค่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน หรือเมื่อวัดสายตาหลังหยอดยาขยายม่านตาแล้วพบว่า  ค่าสายตาสั้นน้อยกว่าค่าที่ได้ก่อนหยอดยา ก็นับเป็นสายตาสั้นเทียมด้วย หรือเมื่อวัดสายตาแล้วสั้น -4.00 ลองใส่แว่น -4.00 แล้วยังเห็นไม่ชัด แต่ชอบแว่นที่สั้นมากกว่าสายตาที่วัดได้ เช่น ใส่แว่น -5.00 แล้วชัดมาก ก็แสดงว่าคนนี้มีภาวะสายตาสั้นเทียมเช่นกัน   ซึ่งในบางคนวัดสายตาอย่างเดียวยังไม่ชัดเจน หากให้หยอดยาขยายม่านตา ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาที่หดตัวผิดปกติคลายออก แล้วลองวัดค่าสายตาใหม่ ถ้าวัดได้น้อยกว่าที่ตอนแรกวัดได้ เช่น ก่อนหยอดยา วัดสายตาสั้น -4.00 หลังหยอดตาวัดแล้วไม่มีสายตาสั้นเลย แสดงว่ารายนี้ก็มี สายตาสั้นเทียม”

รู้ไว้เด็ก ๆ จ้องมือถือ สมาร์ทโฟนมากเสี่ยงสายตาสั้นเทียมได้

จากข้อมูลที่จักษุแพทย์ทั้งสองท่านได้กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่า  สายตาสั้นเทียมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและเฉียบพลัน  หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดสายตาสั้นจริงได้  ซึ่งควรได้รับการประเมินอาการจากจักษุแพทย์เพื่อยืนยันว่า  ลูกของคุณเป็นสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นแท้  แต่สิ่งสำคัญไม่ว่าจะสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นแท้คงไม่อยากให้เกิดกับลูกอย่างแน่นอน  มาป้องกันสายตาสั้นเทียมในเด็กกันค่ะ

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ให้คำแนะนำ  คือ  ผู้ปกครองหมั่นควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือ วันธรรมดาควรให้เล่นไม่เกินวันละ 2 รอบ รอบละไม่เกิน 30 – 45 นาที จากนั้นให้พักสายตา มองไปไกล ๆ อย่างน้อย   5-10 นาที และวันเสาร์อาทิตย์อาจให้เล่นมากขึ้นประมาณ 3 รอบ ที่สำคัญในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น”

วิธีป้องกันสายตาจากการใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ยังมีวิธีการอื่น ๆ ดังนี้

  1. การปรับความสว่างของหน้าจอให้พอเหมาะ ไม่ควรให้แสงจ้าเกินไป ฝึกให้ลูกสังเกตตัวเอง หากเริ่มเคืองตา ตาแห้ง การมองเห็นพล่าเบลอ ควรหยุดใช้หน้าจอ และใช้หน้าจอเท่าที่จำเป็น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรกำหนดขอบเขตการใช้หน้าจอของลูกให้เหมาะสม
  2. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ดังกล่าวในห้องมืด ๆ ควรปรับความสว่างหน้าจอให้มีความพอดีกับความสว่างของห้อง แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลังเข้าหาจอ
  3. ให้ปรับความคมชัดของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับ 70-80 เฮิร์ตหรือสูงสุดเท่าที่รู้สึกว่าสบายตา
  4. การเลือกตัวหนังสือในจอควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาวเพื่อให้เห็นชัดเจน ไม่แนะนำให้ใช้พื้นสีเข้มตัวหนังสือสีขาวหรือสีอ่อน เนื่องจากจะทำให้ต้องใช้สายตาเพ่งตัวหนังสือเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว บางคนต้องหรี่ตาเพื่อลดแสงเข้าตา
  5. หากเป็นจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรใช้แผ่นกรองแสงและดูแลทำความสะอาดหน้าจอไม่ให้มีฝุ่นเกาะ เพื่อให้มองเห็นชัดเจน และควรนั่งเล่นในท่าที่ถูกต้อง  คือ  เหมือนนั่งอ่านหนังสือ ระยะห่างของสายตากับแท็บเล็ตหรือมือถือประมาณ 1-2 ฟุต
  6. ควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อให้ดวงตามีความชุ่มชื้น
  7. พักผ่อนนอนหลับเป็นเวลา 8 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้ประสาทตาได้พักการใช้งาน

วิธีการป้องกันที่ได้กล่าวมานั้น  นอกจากจะทำให้เด็กไม่เกิดปัญหาเรื่องสายตาแล้ว  ยังมีผลพลอยได้อีกคือ  ลดปัญหาเรื่องการติดเกมในเด็กลงได้อีกนะคะ เพราะการจำกัดเวลาเล่นทำให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับเกมมากเกินไปนั่นเอง

 

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

13 อาหารบำรุงสายตาลูกให้แจ่มแจ๋ว

เด็กที่ชอบเล่นกลางแจ้งมีโอกาสเป็นสายตาสั้นน้อยกว่า