สำหรับคุณแม่ที่กำลังมองหาเงินอุดหนุนหลังคลอดลูกน้อยต้องไม่พลาด เงินอุดหนุนทารกแรกเกิด หรือ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หน่วยงานของรัฐที่จะเข้ามาดูแลคุณแม่หลังคลอด เพื่อจะได้นำเงินไปใช้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว มาดูกันดีกว่าค่ะว่า เงินอุดหนุนทารกแรกเกิด คืออะไร? ทำอย่างไรถึงได้สิทธิ
คำกำจัดความของผู้ที่จะยื่นขอเงินอุดหนุน ที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง
-
เด็กแรกเกิด
เด็กแรกเกิด หมายถึง เด็กที่มีสัญชาติไทยและเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไปจนอายุครบ 6 ปี มีสัญชาติไทย และจะต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครองในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีความเสี่ยงต่อความยากจน และจะต้องไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานเอกชน
-
ผู้ปกครอง
ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่มีสัญชาติไทย อาศัยอยู่กับผู้ปกครองในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีความเสี่ยงต่อความยากจน และเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยต้องมีเด็กแรกเกิดอาศัยอยู่ร่วมด้วย
-
ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หมายถึง ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ต่อปี โดยสมาชิกในครอบครัวจะต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การสมรส อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา หรือด้วยเหตุอื่น ๆ ตามกฎหมาย และสมาชิกในครอบครัวจะต้องอาศัยอยู่จริงติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 180 วันในรอบปีที่ผ่านมา ไม่นับรวมลูกจ้าง
บทความที่น่าสนใจ : ประกันลูกน้อย ประกันสุขภาพเด็ก คุ้มครองสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย
เงินอุดหนุนทารกแรกเกิด คืออะไร?
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นโครงการที่จะช่วยอุดหนุนเงินให้เด็กแรกเกิดที่เกิดมาในครอบครัวที่มีความยากจน หรือครอบครัวที่เสี่ยงต่อความยากจนที่ไม่สามารถดูแลทารกแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยเงินอุดหนุนนี้จะได้รับเงินจากรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย และอยู่รอดปลอดภัยตามสิทธิที่เด็กพึงควรจะได้ ทั้งนี้ผู้ปกครอง หรือผู้ยื่นขอรับเงินอุดหนุนในโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จะได้รับเงินในอัตรา 600 บาทต่อคน ต่อเดือน จนทารกมีอายุครบ 6 ปี
ระบบการจ่ายเงิน เงินอุดหนุนเด็ก เป็นอย่างไร?
หลังจากที่ได้รับสิทธิในการรับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดของโครงการแล้ว ทางโครงการจะทำการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในอัตรา 600 บาท ต่อคน ต่อเดือน จนมีอายุครบ 6 ปี ที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้ เนื่องจากมติใหม่ปี 2562 จึงทำให้ทารกที่ได้รับสิทธิมีเงื่อนไขในการได้รับเงินดังต่อไปนี้
- เด็กที่เกิดในปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไปจะได้รับสิทธิรับเงินอุดหนุนทารก ให้รับเงินอุดหนุนต่อไป จนมีอายุครบ 6 ปี
- เด็กแรกเกิดที่เคยรับเงินอุดหนุนและมีอายุเกิน 3 ปี ก่อนระเบียบปี 2562 ให้รับเงินอุดหนุนต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 3 ปี จนมีอายุครบ 6 ปี โดยไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่
- เด็กแรกเกิดที่ไม่มีสิทธิก่อนระเบียบปี 2562 หากมีคุณสมบัติตามระเบียบ ให้มาลงทะเบียนได้ เริ่มรับเงินนับตั้งแต่เดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ จนมีอายุครบ 6 ปี
ผู้ใดบ้างที่มีสิทธิ โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด
หลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมโครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดนั้น ผู้ที่ได้รับจะต้องมีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานกำหนด เพื่อที่จะได้รับเงินไปดูแลทารกแรกเกิด โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
-
ผู้ปกครองที่สามารถลงทะเบียนได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- ผู้ปกครองจะต้องมีสัญชาติไทย
- จะต้องเป็นผู้ที่เซ็นรับอุปการะ หรือเซ็นยินยอมเป็นผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดคนนั้น ๆ
- เด็กแรกเกิดที่ทำเรื่องขอรับเงินอุดหนุนจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ขอรับเงิน
- รายได้ของผู้ปกครอง ผู้ยื่นของ และสมาชิกทั้งหมดในครอบครัวจะต้องมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ต่อปี
-
ทารกแรกเกิดที่สามารถลงทะเบียนได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- ทารกจะต้องมีสัญชาติไทย ทั้งนี้จะต้องมีพ่อแม่สัญชาติไทย หรือพ่อหรือแม่มีสัญชาติไทยก็ได้
- ทารกแรกเกิดจะต้องเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป และจะได้รับเงินจนถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- มีความจำเป็นจะต้องเกิดในครอบครัว หรือมีผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ รับเลี้ยงอุปถัมภ์ของหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน
บทความที่น่าสนใจ : อยากมีรายได้เสริม ทำงานอะไรดี เปิด 10 อาชีพรายได้ดี งานสําหรับคนอยู่บ้าน !
สถานที่รับลงทะเบียน เงินอุดหนุนเด็ก ทำได้ที่ได้บ้าง?
สามารถลงทะเบียนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ได้ในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิด และผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง ไม่จำเป็นจะต้องไปลงทะเบียนตามบ้านเลขที่ในทะเบียน ซึ่งแต่ละพื้นที่สามารถลงทะเบียนได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร: ลงทะเบียนที่สำนักงานเขต
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค: ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลที่อาศัยอยู่
หมายเหตุ : หากมารดากำลังตั้งครรภ์อยู่จะไม่สามารถยื่นขอรับเงินอุดหนุนได้ แต่สามารถทำเรื่องขอรับเงินได้หลังจากคลอดบุตรแล้วไม่เกิน 1 เดือน
เอกสารประกอบการลงทะเบียน มีอะไรบ้าง
- แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดาวน์โหลดแบบ ดร.01)
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดาวน์โหลดแบบ ดร.02)
- บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
- สูติบัตรเด็กแรกเกิด
- สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องเป็นธนาคารที่กำหนด ดังต่อไปนี้
-
- บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย
- บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
ทั้งนี้จะต้องเป็นสมุดบัญชีของธนาคารใดธนาคารหนึ่งเท่านั้น
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์
ในกรณีที่สมุดสูญหายให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา - กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท จะต้องมีเอกสารใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา(สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
- สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
บทความที่น่าสนใจ : เรียนรู้วิธี การสอนบริหารจัดการเงิน คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง
ขั้นตอนการลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด
- กรอกเอกสารการทะเบียน พร้อมแนบเอกสารประกอบการลงทะเบียน
- มารดา บิดา ผู้ปกครอง หรือผู้ขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเข้ายื่นเอกสาร ณ หน่วยงานที่รับลงทะเบียนใกล้บ้าน
- หน่วยงานที่รับลงทะเบียน (อบต. เทศบาล หรือสำนักงานเขต) จะทำการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร
- เมื่อหน่วยงานตรวจสอบเสร็จแล้ว หน่วยงานรับลงทะเบียนจะปิดป้ายประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ 15 วัน
- เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิรับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงาน
- กรมกิจการเด็กและเยาวชนจะทำการประมวลผลรายชื่อผู้มีสิทธิทั้งหมดและส่งให้กับกรมบัญชีกลาง
- กรมบัญชีกลางจะทำการส่งรายชื่อผู้มีสิทธิให้กับกรมกลางปกครองตรวจสอบสถานะรายบุคคลก่อนทำการอนุมัติ
- กรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลจากกรมกลางปกครอง และทำการโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด
- ขั้นตอนสุดท้าย กระทรวงสาธารณสุขจะติดตาม ประเมินผลพัฒนาการของเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุน
ทั้งนี้การยื่นของรับเงินจะต้องอยู่ภายใน 1 เดือนแรกหลังจากที่ทารกคลอด แต่เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้ไม่สามารถยื่นขอรับเงินลงทะเบียนสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้ภายในเดือนแรกหลังจากคลอดบุตร ท่านสามารถทำการยื่นย้อนหลังได้หากอยู่ในปีงบนั้น ๆ เพื่อขอรับเงิน 600 บาทต่อเดือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
บทความที่น่าสนใจ : ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก ต้องเตรียมเงินเท่าไร ลูกจะไม่เป็นเด็กด้อยคุณภาพ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
กรมกิจการเด็กและเยาวชน เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร : 02-255-5850-7 ต่อ 121, 122, 123 , 147, 152 หรือ 02-651-6534 หรือ 02-651-6902 หรือ 02-651-6920
Project Sidekicks เราช่วยให้ทุกคนในครอบครัวมีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สุขภาพดี และลูกน้อยที่แข็งแรง
บทความที่น่าสนใจ :
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง ใครได้บ้าง
สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80
เงินประกันสังคมกรณีคลอดบุตร และ เงินสงเคราะห์บุตร ยื่นอย่างไร ให้ได้เงิน
ที่มา : csg