ลูกกินน้อย ไม่ค่อยยอมกินข้าว เป็นปัญหาของเด็กวัยเตาะแตะที่มักจะพบเจอกันอยู่บ่อย ๆ และพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็มักเลือกใช้วิธีการ บังคับให้ลูกกินข้าวเมื่อถึงเวลา ซึ่งพอบังคับนาน ๆ ไป แทนที่ลูกจะยอมกินข้าวได้ง่ายขึ้น ลูกน้อยกลับปฎิเสธการกินข้าว จนในที่สุด พ่อแม่เริ่มหมดกำลังใจ รู้สึกว่าไม่อยากทำอาหารให้ลูกกินเลย เพราะทำอะไรให้แล้วลูกก็ไม่กิน
วันนี้เราจะมาดูกันว่า ปัญหาเหล่านี้จะต้องเริ่มแก้ไขอย่างไรถึงจะถูก รวมไปถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว หรือ เลือกกิน แท้จริงเกิดจากอะไรกันแน่
ลูกกินน้อย ลูกเลือกกิน ลูกไม่ยอมกินข้าว ปัญหาชวนหนักใจของพ่อแม่
ก่อนจะไปดูว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น มาเริ่มจากสาเหตุที่ทำให้ลูกเลือกกินกันก่อน อาหารที่ถูกจัดใส่จานอย่างสวยงามน่าอร่อย เชื่อว่าพ่อแม่ได้คัดเลือกมาเป็นอย่างดี มีวัตถุดิบที่หลากหลาย มีสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่สุดท้ายแล้ว ลูกเขี่ยบางชิ้นออกไปไว้ขอบจาน แล้วกินแค่บางอย่าง นั่นก็เพราะว่า
1. ลูกรู้สึกชอบ หรือ ไม่ชอบอาหารชนิดนั้น
เด็ก ๆ เมื่อมีพัฒนาการมากขึ้น เขาจะต้องการอิสระทั้งด้านความคิด และการกระทำ เขาเริ่มรู้จักตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร ทำให้เวลาที่เด็กเห็นอาหารที่แม่ทำ จะมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาได้ว่า ฉันชอบอาหารชนิดนี้ หรือไม่ชอบอาหารชนิดนี้เลย และทำให้เขาตัดสินใจกินหรือไม่กิน
2. ประสบการณ์ที่ลูกได้รับ
หากเด็กเคยได้รับประสบการณ์ในการกินอาหารที่ไม่ดีมาก่อน พอเด็กเห็นอาหารชนิดนั้น ก็จะทำให้รู้สึกไม่อยากกินอาหารเลย เช่น เคยกินอาหารที่มีกลิ่นแรงมากจนทำให้เด็กอ้วก หรือ เคยกินอาหารชนิดนั้นแล้วอาหารติดคอ เลยเป็นสิ่งที่เขารู้สึกจำฝังใจ หลีกเลี่ยงที่จะกินมันอีกครั้ง
3.ไม่เคยถูกฝึกให้ทานอาหารที่หลากหลาย
หากในช่วงสมัยเด็ก ๆ พ่อแม่ให้ลูกกินอาหารซ้ำ ๆ เพราะเห็นว่าลูกกินอาหารชนิดนี้ได้ และคิดไปเองว่าลูกชอบกินอาหารชนิดนี้มาก ทำให้ไม่เคยให้ลูกได้ลองอาหารใหม่ ๆ พอลูกโตไปทำให้ลูกไม่กล้ากินอาหารแปลก ๆ หรือ อาหารที่เขาไม่เคยกินมาก่อน จนนำไปสู่การเลือกกิน และกลายเป็นเด็กกินยาก
4. ลูกมีนิสัยที่ปรับตัวยาก
นิสัย หรือพฤติกรรมของลูก ก็มีผลต่อการกินอาหารเหมือนกัน เพราะหากลูกมีนิสัยที่ปรับตัวได้ยาก ทำให้ลูกไม่อยากจะลองอาหารใหม่ ๆ อาหารจึงวน ๆ อยู่แต่แบบเดิม และไม่ค่อยยอมปรับนิสัยการกิน
5. การเปลี่ยนแปลงร่างกายของเด็ก
การที่ลูกทานอาหารน้อยลง ส่วนหนึ่ง อาจมีผลมาจากที่ลูกมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ซึ่งพ่อแม่อาจจะเห็นได้ชัดเมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เพราะมีอัตราการเจริญเติบโตลดน้อยลง ทำให้เด็กมีความต้องการอาหารลดลงตามไปด้วย
วิธีแก้ไขเด็กเลือกกิน พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี?
1. พยายามดัดแปลงให้เป็นเมนูแปลกใหม่
คุณพ่อ คุณแม่ ควรลองดัดแปลงเมนูอาหารในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำอาหารให้ลูกกินเพียงอย่างเดียว อาจจะลองทำอาหารที่มีสีสันสดใส หรือ จะเป็นรูปตัวการ์ตูนมากขึ้น แล้วค่อย ๆ ชักชวนลูกกินข้าว ทีละเล็กละน้อยแบบไม่บังคับ ฝืนใจ
2. ให้ลูกได้ลองกินอาหารรสชาติใหม่ ๆ
พ่อแม่ควรให้ลูกได้ลองกินอาหารอื่น ๆ นอกจากนม ในช่วงวัยที่ลูกสามารถเริ่มทานอาหารอื่น ๆ ได้ นั่นก็คืออายุ 6 เดือนขึ้นไป เมื่อลูกน้อยเริ่มจะมีฟันเพิ่มมากขึ้น
โดยเน้นอาหารที่เกี่ยวข้องกับการกัด เคี้ยว แต่ถ้าลูกปฎิเสธไม่ยอมกินข้าว พ่อแม่ก็ไม่ควรบังคับ และควรหยุดชั่วคราว แล้วค่อยกลับไปกินใหม่
3. พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ลูก
ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการกินกับลูก โดยที่พ่อแม่ไม่ควรเลือกกิน และต้องกินอาหารที่หลากหลาย เพื่อที่ลูกจะได้ลองกินอาหารที่หลากหลายเหมือนพ่อแม่ และควรจัดสรรเวลาให้มากินข้าวแบบพร้อมหน้าพร้อมตา เพราะสิ่งนี้จะเป็นการสร้างบรรยากาศในการกินที่ดีในครอบครัว
4. ลูกขาดความสุขในการกิน
เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว พ่อแม่ไม่ควรบังคับ เพราะลูกไม่อาจไม่มีความสุขในการกินก็ได้ แต่ควรใช้วิธีในการเตือนลูก พอลูก ๆ กินได้ ก็ควรชมเชยเขา ถ้าเด็กปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องบอกกฎเกณฑ์กับพวกเขาอีกต่อไป แต่เคล็ดลับอย่างหนึ่ง ที่จะคอยทบทวนให้เขาไม่ลืมกฎ หรือข้อตกลงในโต๊ะอาหาร ก็คือการชมเป็นระยะ ๆ (Positive Reinforcement) ในเวลาที่เด็กทำได้ตามข้อตกลงนั้นได้
5. ปรับนิสัยการกิน
ควรปรับนิสัยการกินให้กับลูก โดยที่พ่อแม่ควรงดอาหารว่างระหว่างมื้อ งดน้ำอัดลม งดกินขนมกรุบกรอบ และจำกัดเวลาการในการกินให้กินลูกน้อย ทั้งยังไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ไปกินไป หรือดูโทรทัศน์ไปด้วย เพราะจะทำให้ลูกไม่สนใจตอนกินข้าว
ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์
รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่
ที่มา dcy healthline practo
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกไม่ยอมกินข้าว เลือกกินอาหาร ทำเมนูอาหารแบบไหนให้ลูกกินดี
สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง
7 ชุดเมนูอาหารเช้าให้ลูกก่อนไปโรงเรียน ไอเดียอาหารเช้า เมนูอาหารสำหรับลูกวัยเรียน