ลูกติดแม่มาก ? ลูกงอแงเมื่อเห็นว่าคุณกำลังจะออกไปทำงาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกเกือบทุกคนล้วนเจอกับความวิตกกังวลจากการแยกจาก และเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก ๆ ที่เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์แบบนี้ อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกเริ่มเข้าใจว่ามีสิ่งต่าง ๆ และผู้คนที่มีตัวตนอยู่แม้กระทั่งเมื่อสิ่งเหล่านี้ และคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่รอบ ๆ ตัวทารกแล้วก็ตาม เด็กทารกที่กำลังอยู่ในช่วงนี้จะมีอาการกระวนกระวายกับการต้องแยกจากพ่อแม่ จนเป็นคำเรียกว่า "ลูกติดแม่มาก" ลูกจะเริ่ม “เชื่อมโยง” การแยกจากกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เมื่อคุณใส่รองเท้า ลูกจะเข้าใจว่าหมายถึงคุณกำลังจะออกจากบ้าน และจากลูกไป ลูกจะมีปฏิกิริยาติดพ่อแม่ขึ้นมา อาการของความวิตกกังวลจากการแยกจากมักพบได้มากที่สุดเมื่อลูกมีอายุระหว่าง 9 ถึง 18 เดือน

 

ทำไมลูกจึงติดแม่มาก ?

  • ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงลูกมากเกินไป จนส่งผลกับเด็ก เช่น ห่วงความปลอดภัยในทุกเรื่อง ไม่ยอมปล่อยให้เด็กมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนเด็กเริ่มชิน และเข้าใจไปเองว่าการอยู่ใกล้พ่อแม่ จะทำให้ตนเองปลอดภัย
  • อาจเป็นเพราะนิสัยของเด็กเอง โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก หรือไม่กล้าเจอคนอื่น ๆ ที่ไม่คุ้น ทำให้หลบหลังพ่อแม่ตลอดเวลา หรือพยายามอยู่กับแค่พ่อแม่เท่านั้น
  • เด็กอาจมีประสบการณ์ที่ถูกพ่อแม่ดุอย่างรุนแรง หรือขู่ว่าจะหนีไป ถ้าทำตัวไม่ดีจะไม่รัก จะเอาไปทิ้ง เป็นต้น คำเหล่านี้ส่งผลต่อจิตใจของลูกมาก ทำให้ลูกกลัวว่าตนเองจะต้องอยู่คนเดียว กลัวไม่ได้เจอพ่อแม่อีก
  • ส่วนหนึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม คล้ายกับนิสัยอื่น ๆ เช่น ในตอนวัยเด็กพ่อแม่เองก็อาจเป็นเด็กที่ติดแม่มาก่อนเช่นกัน นิสัยเหล่านี้ก็มีโอกาสถ่ายทอดมาสู่ลูกได้เหมือนกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกจะติดแม่ตอนกี่เดือน ลูกมักจะใช้เวลาอยู่กับแม่ตลอดเวลาเพราะอะไร?

 

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

สร้างความเข้าใจตั้งแต่แรกเกิด แก้ปัญหาลูกติดแม่ได้ดี

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังจะมีลูก และต้องการศึกษาวิธีทำให้ลูกไม่ติดแม่ ไม่ติดพ่อมากเกินไป การแก้ที่ดี คือ การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็ก เปิดโอกาสให้ลูกได้กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อลูกทำผิดไม่ควรทำโทษด้วยการดุด่าอย่างรุนแรง ไม่ควรขู่ให้ลูกกลัว และสนับสนุนลูกในสิ่งที่เหมาะสมให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าการห้าม จะช่วยให้เด็กมีความกลัว มีความกังวลน้อยลง และมีนิสัยที่กล้าขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยมีนิสัยติดพ่อแม่น้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้อาย ทำไงดี ไม่กล้าแสดงออกเลย ให้ทำอะไรก็ไม่ทำ มีวิธีแก้ไหม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการช่วยแก้ปัญหา ลูกติดแม่มาก สำหรับเด็กทารก

  • ให้ลูกได้รู้จักกับพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแลคนใหม่ : หากคุณตั้งครรภ์อยู่ และคิดว่าจะหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลลูกคนใหม่ ขอให้คุณจ้างพี่เลี้ยงก่อนที่คุณจะมีลูก หรือเมื่อลูกยังแรกเกิดอยู่ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกได้มีเวลามากเพียงพอที่จะคุ้นเคยกับผู้ช่วยของคุณ ซึ่งนั่นหมายความว่าเมื่อลูกโตขึ้น ลูกจะไม่ติดแม่มากเกินไป หรือมีความกระวนกระวายมากเกินไปเมื่อคุณจำเป็นต้องปล่อยให้ลูกอยู่บ้านเพื่อไปทำงาน หรือไปทำธุระ
  • ลดการแยกจากให้เหลือน้อยลงที่สุด : เท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงนี้ หากคุณต้องออกไปข้างนอก คุณควรนำลูกไปด้วยเมื่อเป็นไปได้
  • ฝึกซ้อมที่บ้าน : การจัดการกับการแยกจากคุณจะเป็นเรื่องง่ายกว่าหากลูกเป็นผู้เริ่มต้น ให้ลูกคลานไปที่ห้องอื่น (ที่ปลอดภัย) ด้วยตัวเอง และปล่อยให้ลูกอยู่ที่นั่นสักหนึ่งนาทีเองก่อนที่คุณจะตามลูกไป
  • บอกลาเสมอ : จูบ และกอดลูกเมื่อคุณต้องจากลูกไป และบอกลูกว่าคุณกำลังจะไปไหน และคุณจะกลับมาเมื่อไหร่ แต่อย่าให้การบอกลายืดเยื้อนัก พยายามอย่าแอบหนีออกไปเพราะลูกจะยิ่งใจเสียหากลูกคิดว่าคุณหายตัวไปในอากาศเสียเฉย ๆ

 

วิธีการแก้ปัญหา ลูกติดแม่มาก ที่โตขึ้นมาหน่อย

อาการติดแม่ของเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติต่อความรู้สึกกลัว หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับอะไรสักอย่าง เด็กมีอาการติดกับอะไรสักอย่างได้เมื่อสิ่งต่าง ๆ อยู่เหนือการคาดเดาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น มีทารกคนใหม่ โรงเรียนใหม่ การหย่า หรือมีคนตายในครอบครัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่ามองข้าม หรือทำโทษเด็กที่มีอาการนี้ เมื่อเด็กมีอาการติดแม่ อาการนี้เป็นสัญญาณแง่ดีที่ว่าลูกรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจที่อยู่ใกล้ ๆ คุณ ลูกรู้ว่ารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่กับคุณเวลาที่ลูกรู้สึกไม่มีความสุข หรือกระวนกระวาย หากคุณลงโทษ หรือละเลยพฤติกรรมนี้ ลูกอาจเลิกเข้าหาคุณเมื่อรู้สึกกลัว หรืออ่อนแอในที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความห่างเหินเมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

 

  • ให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง และเป็นอิสระ : เด็กจะได้ความมั่นใจผ่านการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ต่อคุณ หรือผู้อื่น ดังนั้นให้ลูกทำอะไรง่าย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกมั่นใจในตัวเอง คุณสามารถให้ลูกช่วยคุณทำอาหาร ให้ลูกทำความสะอาดห้องตัวเอง หรือช่วยจัดโต๊ะกินข้าว อย่าลืมชมลูกเมื่อลูกทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ยิ่งลูกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นเท่าไร ลูกก็จะรู้สึกมั่นคงกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น
  • เพิ่มกิจกรรมทางสังคมให้ลูก : การได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกันจะช่วยให้ลูกของคุณสร้างมิตรภาพกับเพื่อน ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกครอบครัวของคุณ ลองจัดให้มีวันเล่นกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน หรือเพื่อนบ้านดูสิ
  • จัดช่วงเวลาอยู่กับลูกโดยไม่ให้ถูกรบกวน : เด็กติดแม่บางคนต้องการความสนใจตลอดเวลาเพราะลูกเป็นกังวลว่าคุณจะให้ความสนใจกับลูกได้เมื่อไร  หรือคุณจะให้ความสนใจกับลูกได้ไหม ดังนั้นจัดเวลาสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงทุกวันเพื่อให้คุณได้ให้ความสนใจกับลูกได้อย่างเต็มที่ คุณอาจใช้ช่วงเวลานี้อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นกับลูก หรือคุยกับลูก แล้วแต่คุณเลย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกติดแม่มาก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูในช่วงเด็กเล็ก ประกอบกับนิสัยของตัวเด็กเองด้วย การแก้ปัญหาจึงสำคัญ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าสังคมได้อย่างปกติ ไม่เป็นอุปสรรคในอนาคต

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี ? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับแม่

ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง ?

10 วิธี การเลี้ยงลูกให้ฉลาด อยากให้ลูกฉลาดเติบโตเป็นคนเก่ง ต้องอ่าน !!

ที่มาข้อมูล : trueplookpanya , brainfit

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team