พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เสริมอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ ทั้งด้าน ร่างกาย สุขภาพ อาหาร ความคิด สติปัญญา และ อารมณ์ มีอะไรที่น่าสนใจ และ พ่อแม่ควรรู้บ้างมาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี 7 เดือน เติบโตแค่ไหน… เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ลูกรักก็เติบโตถึงวัย 6 ขวบ 7 เดือนแล้ว ช่วงวัยนี้ จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง เช็คเลย!

เหตุการณ์สำคัญที่อาจเกิดขึ้น และ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน

และแล้วลูกของคุณก็ก้าวเข้ามาสู่ อายุ 6 ปี 7 เดือน โดยในวัยนี้ผู้เชี่ยวชาญได้เรียกว่า “วัยเด็กกลาง” ช่วงนี้ลูกน้อยจะต้องการความปลอดภัยจากโลกใบกว้างที่ไม่คุ้นเคย เป็นช่วงเวลาที่การเล่นของลูกจะซับซ้อนมากขึ้น 

วิธีการเล่นในช่วงนี้จะนำมาจากในหนังสือ หรือ โทรทัศน์ เช่นตอนเช้าลูกจะเล่นเป็นชินจัง และ ตอนกลางคืนลูกจะเล่นเป็นโดเรมอน อะไรแบบนั้น

และเมื่อพูดถึงเรื่องของอาหาร เด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน ควรได้รับอาหารอย่างน้อย 1,600 แคลอรี่ต่อวัน ลูกน้อยจะใช้พลังงานอย่างมาก ในการทำกิจกรรมสนุกๆ ซึ่งคุณควรจะแน่ใจว่า ลูกแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดี 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน

ในชั่วข้ามคืนลูกในวัย 6 ขวบ 7 เดือนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เร็วมาก อัตราการเติบโตจะเร็วมาก พวกเขาจะมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่ม 3 กิโลกรัม ต่อ ปี

ในช่วงนี้ลูกอาจจะสนุกกับการทดสอบขีดจำกัดทางกายภาพของตัวเอง ทักในรูปแบบการวิ่งซิกแซก การโดดลงบันได รวมถึงการตีลังกา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้พ่อแม่จะเห็นว่า ลูกน้อยจะมีทักษะที่เก่งขึ้นในการเล่นกีฬา ทั้งเตะบอล หรือ กระโดดข้ามเชือก โดยทักษะทางกายภาพเหล่านี้จะเก่งขึ้น โดยขึ้นอยู่ว่าคุณฝึกฝนบ่อยแค่ไหน 

ทักษะทางกายภาพของลูกจะพัฒนาได้อย่างดี โดยในวัย 6 ขวบ 7 เดือน ลูกจะสามารถแปรงฟันได้เอง รวมถึง ทำกิจการด้านสุขอนามัยรายวันได้เอง โดยไม่ขอความช่วยเลหือจากพ่อแม่เลย ลูกสามารถวาดรูปได้ดีขึ้น และ สามารถ เขียนตัวอักษรตรงบรรทัดได้ในสมุดเรียน

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 7 เดือน โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ 7 เดือน

ส่วนสูง : 119.4 เซนติเมตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนัก : 22. กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ 7 เดือน

ส่วนสูง : 119.0 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 21.8 กิโลกรัม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือนที่ทำได้

  • ลูกเริ่มกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง
  • ฟันน้ำนมจะหลุดออกมา
  • สามารถแสดงทักษะทางกายภาพได้หลากหลาย
  • กล้ามเนื้อจะเพิ่มมวลน้ำหนัก
  • อาจจะมีสายตา 20/20
  • จะเริ่มบ้าพลัง
  • เริ่มเข้าใจกฏ กติกา ของเกมส์ หรือ กีฬามากขึ้น

เคล็ดลับด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 7 เดือ

  • ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่เขาสนใจจริงๆ หรือ อยู่กับสิ่งที่เขาชอบ
  • กระตุ้นให้ลูกออกไปเล่นข้างนอก
  • ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายในแบบที่เขาชอบ
  • มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬากับลูก จะได้สร้างเวลารวมกัน
  • พูดคคุยกับลูกในรู้จักการขอความช่วยเหลือ
  • เก็บผลิตภัณฑ์เครื่องมือ อุปกรณ์ ช่าง หรือ ของเป็นที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 7 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกของคุณเริ่มความสามารถในทักษะกายภาพน้อยลง
  • เมื่อลูกแสดงให้เห็นการเจ็บปวดจากการทำกิจกรรม
  • ลูกกลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้ง หากลูกเคยหยุดฉี่รดที่นอนแล้ว แต่กลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้งควรไปพบแพทย์
  • เมื่อลูกมีปัญหาการนอนตอนกลางคืน นอนไม่หลับ 

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน

ลูกในวัย 6 ขวบ 7 เดือน จะรู้สึกถึงความถูกผิด มากเพิ่ม ลูกจะรู้สึกว่าถ้าเจอสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือ เจอสิ่งที่คนรอบข้างทำผิด เขาจะนำไป “บอกต่อ” เพราะรู้สึกไม่ถูกต้อง

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือนที่ทำได้

  • ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ และ ผลกระทบความสัมพันธ์
  • สามารถบอกอายุของพวกเขาได้
  • สามารถนับสิ่งของต่างๆได้ เช่น ช็อคโกแลต 10 ชิ้น
  • แสดงออกด้านคำพูดได้ดี
  • เข้าใจความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล
  • สามารถอ่านและเขียนได้อย่างถูกต้อง
  • เข้าใจแนวคิดของเวลา
  • สามารถบอกเวลาได้

เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน

  • แสดงความรักต่อลูกคุณ
  • แสดงความสำคัญของการสำเร็จเล็กๆน้อยๆของเขา
  • ช่วยให้ลูกพัฒนาความรับผิดชอบได้
  • ให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่ายๆเช่น จัดโต๊ะ อาหาร
  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในโรงเรียน สิ่งที่พวกเขาคาดหวังในอนาคต
  • ช่วยให้ลูกกำหนดเป้าหมายในชีวิต
  • พูดคุยเกี่ยวกับการเคารพผู้อื่น
  • ช่วยให้ลูกพัฒนาความรับผิดชอบ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 7 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ไม่สามารถอ่านหนังสือได้
  • มีสิ่งรบกวนลูกของคุณ เช่น การถูกกลั่นแกล้ง
  • ปัญหาสุขภาพจิต และ ความเครียด
  • ไม่อยากแย่งห่างจากพ่อแม่
  • อยากที่จะสนุก หรือ เล่นคนเดียวมากกว่า
  • ไม่สนุกกับการทำกิจกรรมกับกลุ่มคน

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน

ลูก 6 ขวบ 7 เดือน ยังโฟกัสกับการสร้างมิตรภาพและเข้าใจความสัมพันธ์ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ลูกจะเริ่มเห็นความสัมพันธ์ของมิตรภาพมากในช่วงนี้ เพราะลูกกำลังทำความเข้าใจอารมณ์ หวงเพื่อน และ การะทะเลาะวิวาทในบางครั้ง ซึ่ง สบายใจได้เลย เพราะ เรื่องพวกนี้เป็นหนึ่งในการพัฒนาด้านอารมณ์ของลูก

ลูกของคุณจะยังต้องการ การยอมรับจากคนรอบข้าง เพราะสิ่งเหล่านี้ดึงความมั่นใจ และ ความปลอดภัยจากเขา และลูกกำลังเรียนรู้การแบ่งปันกับคนรอบข้าง

ช่วงวัยนี้ ลูกจะยังยืนยัน และ ต้องการความเป็นอิสระ ลูกจะต้องการทำอะไรบางอย่างที่มีความสุ่มเสี่ยม และ อาจจะดูโลดโผนบ้าง

ด้วยทักษะด้านพารพูดของลูกที่มากขึ้น ลูกจะสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดี พวกเขาจะพูดสิ่งที่รู้สึกได้ดีขึ้น และ สามารถพูดถึงทักษะต่างๆได้ เช่น หนูสามารถกินส้มได้ 10 ลูก

อารมณ์และสังคม พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือนที่ทำได้

  • ให้ความสำคัญกับการยอมรับจากเพื่อน
  • เรียนรู้ที่จะแบ่งปัน
  • ให้ความสนใจกับมิตรภาพและากรทำงานเป็นทีม
  • ต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน
  • โหยหาความสำเร็จ
  • เจรจาต่อรองมากกว่าที่เอาแต่ใจเกี่ยวกับความต้องการ
  • มีแนวโน้มที่เริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบข้าง

เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน

  • ให้ลูกตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรม และ กีฬา ของตัวเอง
  • จำกัดชั่วโมง การเล่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และ โทรทัสศน์
  • ตรวจสอบการนอนพักผ่อนและการใช้เวลาเกี่ยวกับครอบครัว
  • สอนให้ลูกรู้จักภัยจากไฟ
  • ส่งเสริมให้ลูกเรียนว่ายน้ำ
  • สอนให้ลูกโอเคกับการทำผิดพลาด
  • ช่วยใหลูกปรับปรุงในสิ่งที่ผิดพลาด
  • กระตุ้นให้ลูกตระหนักถึง ผลลัพธ์ในการทำ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 7 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • มีการพูดติดอ่าง
  • ลูกไม่ค่อยมีเพื่อน
  • ไม่สามารถทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้
  • ลูกมีการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรง

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน

ลูกในวัย 6 ปี 7 เดือน ลูกสามารถพูดได้สมบูรณ์ในประโยค! พ่อแม่ จะประทับใจกับการพูดคุยของลูก ลูกจะสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ 10 คำต่อวัน 

ลูกสามารถเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันได้อย่างถูกต้อง และ แม่นยำมากขึ้น รวมถึง สามารถที่จะเล่ามุขตลก และ เข้าใจมุขตลกมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 7 เดือนที่ทำได้

  • ทำตามคำสั่งได้ชัดเจนมากขึ้น
  • เข้าใจมุขตลกได้มากขึ้น
  • แสดงการเติบโตด้านความคิด
  • เริ่มอ่านหนังสือที่เหมาะกับอายุ
  • รู้จัก กลางวัน กลางคืน ซ้าย ขวา
  • สามารถบอกเวลาได้
  • เห็นว่าบางคำมีมากกว่าหนึ่งความหมาย
  • สลับตัวอักษรได้บ่อยขึ้น

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน

  • ทำความรู้จักกับครูของลูก
  • สนับสนุนในเรื่องการอ่าน
  • มีส่วนร่วมในการทำการบ้านของลูก ช่วยในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
  • สอนให้ลูกพัฒนาสมาธิและความสนใจขอลูก
  • ชื่นชมเมื่อลูกพูดคำศัพท์ใหม่ๆ
  • คุยกับลูกเรื่องสัตว์เลี้ยงหรือกีฬาที่ลูกชอบ เพราะ จะทำให้ลูกถูกกระตุ้น ให้ฟังและ ตั้งคำถาม

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 7 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ไม่สามารถบอกซ้ายขวาได้
  • ไม่สามารถสะกดคำง่ายๆได้
  • ไม่ชอบที่จะอ่าน
  • แสดงพฤติกรรมที่แย่
  • ไม่สามารถเขียนชื่อตัวเองได้

สุขภาพและสารอาหาร

ลูกในวัย 6 ปี 7 เดือน จะต้องการอย่างน้อย 1,600 ถึง 1,700 แคลอรี่ต่อวัน นี่เป็นช่วงเวลาที่จะสามารถปลูกฝังนิสัยการกินเพื่อสุขภาพของลูกได้ สิ่งนี้มีความสำคัญมาก เพราะ อาหารพวกนี้ช่วยในการเจริญเติบโตของเขา และ การพัฒนาในการเรียนรู้ของเขาด้วย

เนื่องจากลูกของคุณมีความกระฉับ กระเฉง ทางร่างกาย เพราะฉะนั้นการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับพลังงาน จึงเหมาะมาก นอกจากนี้การส่งเสริมการออกกำลังกายลูกของคุณก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายที่โรงเรียน หรือ กับครอบครัว ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของลูกเหมือนกัน

โดยอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และ พัฒนาการของเด็ก คือ ธัญพืช ผัก และ ผลไม้ เพราะฉะนั้นอาหารสำคัญมากๆ ต่อการเติบโต และ บำรุงร่างกายน้ำหนักของเขา

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 7 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่ 

เด็กผู้ชายต้องการ 1,805 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,693 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 7 เดือน

  • ในวันไหนที่มีอาหารประเภทเนื้อ และ โปรตีน แนะนำให้จับคู่กับอาหารที่มีวิตามินซี เพื่อให้ร่างกายลูกสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
  • จำกัดขนาดอาหารของลูกให้เข้ากับน้ำหนักตัว
  • ปล่อยให้ลูกได้ทานขนมบ้าง
  • โยเกิร์ตกรีกไขมันต่ำ
  • เนื้อสันในหมูหรือไก่หั่นเป็นชิ้น
  • เนยถั่วและแซนวิชเยลลี่
  • พาสต้ากับลูกชิ้น
  • เสิร์ฟโยเกิร์ต คู่กับผลไม้
  • ให้ลูกได้ลองช่วยพ่อแม่เข้าครัวเพื่อเสริมทักษะ โดยเป็นทักษะง่ายๆ เช่น ล้างผัก หรือ ผลไม้

อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 7 เดือน

ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว

ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562

 

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่เราควรรู้บ้าง?

10 แอพเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม

จะรู้ได้ยังไงว่าโรงเรียนนี้ดี? คำแนะนำช่วยเลือกโรงเรียนให้ลูก

บทความโดย

bossblink