โรคชิคุนกุนยา โรคร้ายที่มากับยุงลาย วิธีการป้องกัน อาการ และการรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคติดต่อที่มีมากับพาหะอย่างยุงลาย อันตรายหากไม่รีบรักษา ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรค เราควรแก้ไขตั้งแต่ต้นตอของสาเหตุ มาดูว่าโรคชิคุนกุนยา มีอาการเป็นอย่างไร และสามารถป้องกันได้หรือไม่

 

โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่อยู่ในตระกูล Togaviridae ซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท 

 

การระบาดมักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือ บริเวณที่มีน้ำขัง ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก นอกจากนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยายังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้อีกด้วย

 

โรคชิคุนกุนยา มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า อย่างไรก็ตามโรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต่างกันอย่างไร?

โรคชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออก

โรคชิคุนกุนยามีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะไม่มีอาการปวดข้อ ส่วนโรคชิคุนกุนยาก็จะไม่มีพลาสม่า หรือน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อค อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า คุณจะได้รับเชื้อของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในเวลาเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคชิคุนกุนยากับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื่องจากมีอาการปวดข้อที่คล้ายกัน แต่การตรวจเลือดจะสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร

 

โรคชิคุนกุนยา อาการเป็นอย่างไร?

เนื่องจากโรคชิคุนกุนยา และ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน รวมถึงอาการที่แสดง ออกยังคล้ายคลึงกัน จึงอาจพบผู้ป่วยเป็นทั้ง 2 โรคพร้อม ๆ กัน  อย่างไรก็ตาม โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อชิคุนกุนยา จะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออก และระยะเวลาของไข้ก็สั้นกว่าเพียง 2 วันเท่านั้น ขณะที่ไข้เลือดออก จะเป็นไข้นานถึง 4 วัน ส่วนใหญ่ไม่พบว่าผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา เกิดอาการช็อค เพราะเชื้อชิคุนกุนยาไม่ทำให้ พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด ทั้งนี้ยังพบผื่นแดงตามร่างกาย ตาแดง และ ภาวะปวดตามข้อได้มากกว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื้อชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 3-7 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด และเมื่อครบระยะฟักตัว อาการจะแสดงออกดังนี้

  • ไข้สูงเฉียบพลัน และอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น 2-3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ มีภาวะข้ออักเสบ โดยพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่สามารถหายเองได้ใน 2 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปอาจมีภาวะปวดข้อเรื้อรังได้
  • เกิดผื่นแดงตามแขนขาหรือทั่วร่างกาย
  • ตาแดง
  • รับประทานอาหารไม่ได้
  • ปวดศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้
  • อ่อนเพลีย หรืออาจมีอาการท้องเสีย

 

การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

หากสงสัยว่า ผู้ป่วยอาจติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา แพทย์เริ่มต้นด้วยการซักประวัติและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่ามีความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะติดเชื้อหรือไม่ โดยแพทย์จะต้องแยกความแตกต่าง ของการติดเชื้อจากโรคที่โดนยุงกัด หรือมีอาการที่คล้าย ๆ กัน เช่น โรคไข้เลือดออก หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้การเจาะเลือดผู้ป่วยส่งห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันโรค และหาเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุด โดยทราบผลเร็วภายใน 1 – 2 วัน หรือถ้านานอาจทราบใน 1 – 2 สัปดาห์

 

 

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยาโดยเฉพาะ รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน  ดังนั้นการรักษาจึงเป็นไปตามอาการ โดยแพทย์อาจให้ยาลดไข้ แก้ปวด ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

 

การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงไม่ถูกยุงลายกัด ซึ่งสามารถทำได้โดย

  • รักษาความสะอาดของบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
  • ปลูกต้นไม้หรือจัดสวนให้โปร่งโล่ง ให้แสงแดดส่อง
  • นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
  • ช่วงที่มีการระบาดของยุงลาย ควรใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รวมถึงทายากันยุง แม้จะเป็นเวลากลางวันก็ตาม

 

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา

หากโรคนี้เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ หรือมีภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันในเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคหัวใจ โรคเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าเดิม และอาจทำให้เสียชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แม้ โรคชิกุนคุนยา จะไม่อันตรายถึงชีวิต และมีความร้ายแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกก็ตาม แต่โรคภัยไข้เจ็บทุกโรค ย่อมส่งผลเสียให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีความต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็ก และ ผู้สูงอายุ  อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่ยากแก่การรักษา ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงหากมีอาการไข้สูง เบื่ออาหาร ขาดน้ำ ฯลฯ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ

 

ที่มาข้อมูล : sikarin.com , samitivejhospitals.com

บทความที่น่าสนใจ :

แนะนำ 6 ยากันยุงเด็ก ในปี 2021 และข้อแนะนำในการใช้งานที่ควรรู้

ไข้เลือดออก คืออะไร โรคไข้เลือดออกเกิดจากอะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้านหน้าฝนที่ควรระวัง!!

โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ พันธุกรรมในเด็กที่ควรระวัง

บทความโดย

Waristha Chaithongdee