เช็คลิสต์ 10 ข้อ ของซิงเกิลมัม/เเด๊ด ก่อนจะมีสามี/ภรรยาใหม่
เช็คลิสต์ 10 ข้อ ของซิงเกิลมัม/เเด๊ด มีลูกเเล้วยิ่งต้องเลือกคนที่จะเข้ามาใช้ชีวิตคู่ด้วยนะคะ เพราะเขาหรือเธอไม่ได้เข้ามาเป็นเเค่เป็นคู่ชีวิตของเราเท่านั้น
เพื่อชีวิตครอบครัวที่มีความสุข เราควรประเมินก่อนว่าเขาเป็นคนอย่างไร ต้องปรับทัศนคติเพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้นอย่างไรบ้าง หวังว่าจะเป็นตัวช่วย ให้การเลือกคู่ชีวิตอีกครั้งหนึ่งของคุณนั้น เป็นไปได้อย่างราบรื่นเเละไม่เสียเวลาค่ะ
1.ระวังพวกชอบเด็ก
ส่วนใหญ่พวกที่ชอบเด็ก (โลลิค่อน) จะเข้าทางซิงเกิลมัม เเต่ผู้หญิงที่ชอบเด็กก็เข้าทางซิงเกิลเเด๊ดเช่นกัน เเละไม่จำกัดว่าลูกคุณต้องเป็นเด็กผู้หญิงเท่านั้น เเต่เด็กผู้ชายก็ต้องระวังเช่นเดียวกัน ภัยสังคมประเภทนี้ส่วนใหญ่เเล้วจะดูภายนอกไม่ออกเลยกรีนดังนั้นความวิตกกังวลเเละการคัดกรองไว้ก่อนไม่ใช่เรื่องที่ดูเวอร์วัง จ้างนักสืบสักคนสืบประวัติอีกฝ่าย รวมไปถึงประวัติอาชญากรรม เเละประวัติทางการเเพทย์ด้วยหากเป็นไปได้ค่ะ เพราะหน้าที่สำคัญอันดับหนึ่งคือการปกป้องคุ้มครองลูกให้ห่างจากคนเหล่านี้
2.ช่วงอายุของลูก
ระหว่างที่คุณจะตัดสินใจคบใครอีกคนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ช่วงอายุของลูกก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องใส่ใจค่ะ เพราะมีข้อดีข้อเสียที่เเตกต่างกันออกไป หากตัดสินใจจริงจังเเล้วเริ่มคบคนใหม่ระหว่างที่ลูกยังเล็ก ลูกจะเข้าใจง่ายกว่าโดยไม่มีปัญหาหรือการต่อต้าน เเละข้อเสียก็คือหากคุณต้องเลิกรากันไป ก็เหมือนการที่ลูกต้องเสียพ่อไปอีกครั้ง เเละในครั้งนี้เขาจำได้เเล้วด้วย อีกข้อเสียนึงหากคุณเจอพวกชอบเด็ก เเน่นอนว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับลูก เขายังบอกคุณไม่ได้ เเละปกป้องตัวเองไม่ได้ เเต่หากคุณมั่นใจเเล้วว่าเริ่มในช่วงนี้ดีกว่าเเต่ยังอยากระวังตัวอยู่ ที่สำคัญคืออย่าปล่อยอีกฝ่ายกับลูกคุณให้อยู่ตามลำพัง เเละคอยสังเกตุลูกให้ละเอียดถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
3.การควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆ
เรื่องการควบคุมอารมณ์เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญในการสังเกตคนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ก่อนที่จะเเนะนำคนของคุณให้ลูกรู้จัก สังเกตก่อนว่าเวลาที่มีปัญหาหรือเกิดเหตุการณ์ที่น่าปรี๊ด คนของคุณมีการควบคุมอารมณ์ได้เเค่ไหนหรือมีวิธีการในการควบคุมอารมณ์อย่างไรบ้าง เพราะเอาเข้าจริงเหตุที่เกิดตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ คือผลของการบันดาลโทสะทั้งสิ้นค่ะ วิธีที่ไม่เอาตัวเข้าไปเสี่ยงในเหตุการณ์นั้นคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล เเละวิเคราะห์ในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยนะคะ
4.ทัศนคติในการใช้ชีวิต
ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การเลี้ยงลูก เเผนต่างๆ ที่วางไว้ ไม่จำเป็นต้องตรงกัน ข้อนี้หลายคนคงเเปลกใจว่าถ้าตรงกันจะคุยกันง่ายขนรึเปล่า เเต่ทฤษฎีเรื่องขั่วบวกกับขั่วลบนั้นยังใช่้ได้อยู่ค่ะ เพียงเเต่ว่าถ้าคุณเเละเขาหาสิ่งที่อยู๋ตรงกลางระหว่างกันได้ก็จะดีค่ะ เพียงเเต่ว่าเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะขนาดคู่เเต่งงานที่ยังไม่มีลูกบางทียังทำไม่ได้เลยนะคะ พูดคุยกับอีกฝ่ายให้ชัดเจนในเรื่องทัศนคติของคุณในเรื่องที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เเต่เรื่องที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ของเเต่ละคนก็มีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามอย่าลืมเรื่องสำคัญๆ ที่กระทบต่อลูกของคุณโดยตรง อย่างเรื่อง รสนิยมทางเพศ(ที่ลูกอาจจะอยากเลือกเอง) เรื่องความคาดหวังในอาชีพ
5.ลูกของฉัน ลูกของเธอ
เมื่อซิงเกิลมัม เเละซิงเกิลเเด๊ดโคจรมาเจอกัน ความเเตกต่างทางการเลี้ยงดูย่อมมีอย่างเเน่นอน รวมไปถึงการลงโทษต่างๆ ที่เเตกต่างกันด้วย การคุยกับลูกๆ ทั้งสองฝ่าย หาจุดกึ่งกลาง รวมกันคือเรื่องที่ควรทำเป็นอันดับเเรก เพราะจากนี้ไปจะไม่มีคำว่าลูกของฉัน ลูกของเธอ มีเเต่ลูกของเรา รวมไปถึงวิธีการของฉันหรือวิธีการของเธอ เเต่ต้องเป็นวิธีการของเรา ทั้งนี้หากลูกโตพอที่จะเเสดงความคิดเห็นได้เเล้ว อย่าลืมถามความเห็นของลูกเป็นสิ่งเเรกก่อนนะคะ
6.อย่าหาคนอีกคนเพื่อมาเติมเต็มอะไรสักอย่าง
ทั้งเรื่องการเงิน เรื่องทางกายเเละใจ เเน่นอนว่าทุกคนต้องการใครสักคนเป็นที่พึ่ง เเต่นั่นไม่ใช่เหตุผลในการรับใครสักคนเข้ามาในชีวิต เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะคุณจะเอาอารมณ์เเละเหตุผลนี้นำหน้าในการตัดสินใจ กลายเป็นคุณเเละลูกต้องพึ่งอีกฝ่ายมากเกินไป จนมองข้ามการกระทำที่ไม่ดี หรือเเม้เเต่ข้อเสียของเขาที่จะส่งผลถึงลูกคุณได้ยังไงละคะ อย่าลืมว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียว เเละการเปิดรับของเด็กๆ นั้นมันกว้างกว่าที่คิดมากๆ คุณจำเป็นต้องเป็นตัวกรองให้ลูก ในระหว่างที่ลูกยังไม่อยู่ในวัยที่จะคัดกรองเรื่องเหล่านี้ได้
7.การยอมรับของครอบครัว
หากพ่อแม่อีกฝ่ายหรือครอบครัวของอีกฝ่ายไม่เห็นด้วย อย่าพยายามเดินต่อหรือดื้อดึงที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเขาค่ะ เพราะนอกจากคุณต้องพยายามอย่างหนักที่จะทำให้ครอบครัวของเขาเปิดใจเเล้ว ลูกของคุณก็ยากที่จะได้รับความเอ็นดูหรือเปิดใจไปด้วย ซึ่งนั่นไม่เป็นผลดีต่อทั้งคุณเเละลูกเลยค่ะ เเต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนของคุณด้วยว่ามีการจัดการเเก้ไขปัญหานี้อย่างไรบ้าง
8.การเงินคืออีกเรื่องที่จะต้องเคลียร์
ไม่ว่าจะตกลงกันอย่างไรหลังจากคุณเเต่งงาน ต้องหาลู่ทางที่มีรายได้เป็นของตัวเองเเม้จะไม่ได้ทำงานก็ตามค่ะ ทั้งนี้ในเรื่องค่าใช้จ่ายของลูกก็เช่นกัน หากเป็นไปได้ให้รับผิดชอบคนเดียวดีที่สุดค่ะ ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เช่นเดียวกัน เเต่อย่าลืมเก็บเงินฉุกเฉินไว้สักก้อนด้วยนะคะ
9.สิ่งไหนที่ไม่อยากให้ลูกคุณทำ อีกฝ่ายต้องไม่ทำด้วย
การสอนไม่ให้ลูกทำ ในสิ่งที่คุณยังทำ หรือคนของคุณยังทำ ไม่ใช่การสอนที่ได้ผลเลยค่ะ เพราะเเม้ลูกคุณจะไม่ทำเพราะคำสั่งของคุณ เเต่เขาจะเกิดคำถามขึ้นมากมายเเละท้ายที่สุดลูกจะทำมันค่ะ หากเปลี่ยนเเปลงในสิ่งที่คนของคุณทำไม่ได้เเม้จะผ่านการคุยกันเเล้ว ก็ต้องลองมาชั่งใจเองว่าหากลูกคุณจะทำมันด้วย คุณจะเเก้ไขปัญหานี้อย่างไร ที่ทำให้ลูกเข้าใจ เเละไม่ตั้งคำถามว่าคุณมีสองมาตรฐาน
10.อย่ารุมเวลาลูกทำความผิด
เเน่นอนว่าการเปลี่ยนเเปลงนั้นทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง หากเขาจะทำผิดไปบ้างในช่วงนี้ ควรทำโทษด้วยวิธีปกติ เเต่ควรเพิ่มการคุยกันระหว่างคุณกับลูกให้มากขึ้น หรือถ้ายังหาคำตอบด้วยตัวเองไม่ได้ อย่าลังเลที่จะหาตัวช่วย ทั้งลูกเเละคุณไปคุยกับนักจิตวิทยาได้นะคะ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติเเต่อย่างใดค่ะ
ทั้งนี้คุณ ซิงเกิลมัมเเละเเด๊ดทั้งหลาย การเห็นคุณค่าในตัวเองคือสิ่งที่สำคัญที่สุด การทนุถนอมเวลาที่มีระหว่างลูกเเละคุณคือช่วงเวลาที่ไม่ย้อนหวนมาอีกเเล้วนะคะ คุณไม่ใช่เป็นฝ่ายที่ถูกเลือกอย่างเดียว คุณไม่ใช่เเก้วที่มีตำหนิ ไม่ใช่สินค้าเกรดบี ไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีรอยด่างพร้อย ดังนั้นอย่าลังเลที่จะเดินออกมาหากเห็นสัญญาณว่าคนที่คุณเลือกนั้นคุณมองผิดไป เพราะคุณคือคนที่ต้องรับผิดชอบอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ คือโลกทั้งใบของลูกตัวน้อย เชิดหน้าภูมิใจเเล้วเดินต่อไปตามเส้นทางของคุณค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
10 ปฏิญาณรับปี 2017 ฉบับคุณเเม่ที่มีลูกวัยซน
เรื่องจริงของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เกิดจากปัญหาชีวิตคู่ล้มเหลว
40 คำคมของ แม่เลี้ยงเดี่ยว ให้กำลังใจคุณแม่ซิงเกิ้ลมัม มีชีวิตอยู่ สู้เพื่อลูก