ท้องแล้วหลุดบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง รู้ก่อนลูกหลุดอีกรอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไม ท้องแล้วหลุดบ่อย มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร คุณแม่ต้องรับมือแบบไหน และพฤติกรรมไหนที่ควรเลี่ยง โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่มีบุตรยาก วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากเรียบร้อยแล้วค่ะ เพื่อป้องกันภาวะทารกหลุดบ่อย จะมีอะไรบ้างที่ควรระวัง ตามเข้าไปอ่านต่อด้านล่างได้เลยค่ะ

 

ภาวะแท้งซ้ำคืออะไร

ภาวะแท้งซ้ำ หมายถึง การแท้งบุตร ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ อย่างน้อย 3 ครั้งติดต่อกัน ไม่นับรวมถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ไข่ปลาอุก แต่สำหรับทางสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ภาวะแท้งซ้ำ หมายถึง การแท้งบุตรมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งติดกัน เพื่อที่จะได้ค้นหาสาเหตุหรือให้ความสำคัญเร็วขึ้น โดยทำการประเมินหาสาเหตุบางส่วนภายหลังการแท้งบุตรแต่ละครั้ง และหาสาเหตุอย่างละเอียดภายหลังการแท้งบุตรครั้งที่สองหรือมากกว่า

ภาวะแท้งซ้ำ อาจเกิดขึ้นในผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรืออาจเกิดขึ้นในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้ว ซึ่งแบบนี้จะมีโอกาสได้ลูกที่สมบูรณ์ แข็งแรงมากกว่าแบบแรก

 

 

ใครบ้างที่เสี่ยง ท้องแล้วหลุดบ่อย

สำหรับอัตราการแท้งลูกโดยทั่วไปแล้วจะมีประมาณ 15% และจะมี 1% เท่านั้น ที่มีการแท้งลูกถึงสามครั้งติดต่อกัน ภาวะแท้งซ้ำจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับอายุของคุณแม่ที่สูงขึ้น และถ้าอายุครรภ์ของทารกยิ่งมาก โอกาสเกิดภาวะแท้งซ้ำก็จะน้อยลงค่ะ

ในหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงอาจจะมีการแท้งเพียงครั้งเดียวในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุทุกอย่าง เพราะอาจเป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้น ไม่ได้มีสาเหตุที่แน่นอน การแท้งก่อน 20 สัปดาห์นี้พบได้ประมาณ 10-15% ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : แท้งแล้วจะกลับมีลูกได้ตอนไหน ขูดมดลูกแล้วมีลูกได้ไหม ใช้เวลานานเท่าไหร่

 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ ท้องแล้วหลุดบ่อย

1. สาเหตุด้านพันธุกรรม

เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทั้งจำนวนที่ผิดปกติ รวมถึงโครงสร้างที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการแท้งในช่วงแรก ประมาณ 60% และยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแท้งซ้ำจะเพิ่มขึ้น ถ้ามีญาติสายตรงที่เคยมีประวัติภาวะแท้งซ้ำที่ไม่ทราบสาเหตุมาก่อนค่ะ ความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนครั้งของการแท้ง ยิ่งคุณแม่แท้งหลายครั้ง โอกาสที่จะมีโครโมโซมผิดปกติจะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

 

2. สาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก

แบ่งเป็น 2 แบบคือ ชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง รวมแล้วสามารถส่งผลต่อการเกิดภาวะแท้งซ้ำได้ 10-50%

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก เป็นความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น การมีแผ่นกั้นบาง ๆ ขวางโพรงมดลูก มดลูกลักษณะเป็นรูปหัวใจ หรือมีมดลูกแบ่งตัวเป็น 2 ใบ จึงทำให้แท้ง หรือไม่ก็อาจเกิดจากความผิดปกติในการขยายตัวของมดลูกเมื่อทารกโตขึ้น หรือมีปัญหาในการฝังตัวเนื่องจากไม่มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณผนังกั้นมดลูก
  • ภาวะมดลูกมีแผ่นกั้น เป็นสาเหตุของภาวะแท้งซ้ำที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบมากที่สุด มีอัตราการแท้งบุตรสูงถึง 60% แผ่นกั้นยิ่งยาวจะยิ่งมีพยากรณ์โรคแย่ขึ้น

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง

  • เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูกที่อยู่ใต้ต่อเยื่อบุโพรงมดลูก หรือยื่นเข้ามาภายในโพรงมดลูก ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้
  • ติ่งเนื้องอกโพรงมดลูก ข้อมูลยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นสาเหตุของการแท้งซ้ำ
  • เกิดจากการขูดมดลูก ซึ่งเยื่อพังผืดที่เชื่อมติดกันภายในโพรงมดลูกเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแท้งลูก เนื่องจากโพรงมดลูกเต็มไปด้วยพังผืดจนไม่เหลือเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่จะประคับประคองการฝังตัวของตัวอ่อนและรก อาการที่พบได้ในกรณีนี้คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนผิดปกติ การปวดท้องน้อยเป็นรอบ ภาวะมีบุตรยาก และภาวะแท้งซ้ำ
  • ภาวะปากมดลูกบางไม่แข็งแรง มักเป็นสาเหตุการแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ไม่ส่งผลต่อการแท้งในช่วงแรก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. สาเหตุจากโรคต่อมไร้ท่อ

  • เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการฝังตัวของตัวอ่อน และช่วยประคับประคองให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป ดังนั้น โรคที่ส่งผลทำให้การผลิตโปรเจสเตอโรนลดลง ย่อมส่งผลต่อการตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน
  • โรคเบาหวาน มีหลาย ๆ การศึกษาพบว่าระดับ HbA1C ที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดการแท้งและความพิการแต่กำเนิดของทารกมากขึ้น แต่ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี โอกาสเกิดการแท้งซ้ำจะไม่เพิ่มสูงขึ้น
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) กลไกการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเป็นเพราะการมีระดับฮอร์โมนบางตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การตกไข่ผิดปกติ การทำงานของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ
  • โรคต่อมไทรอยด์ ผู้หญิงที่มีระดับไทรอยด์แอนติบอดีสูง จะพบอัตราการแท้งบุตรสูง ถึงแม้ว่าจะมีการทำงานของต่อมไทรอยด์ปกติ ส่วนในรายที่มีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ พบว่าการควบคุมภาวะไทรอยด์ต่ำ หรือสูงผิดปกติได้ไม่ดี จะสัมพันธ์กับการเกิดภาวะมีบุตรยากและการแท้ง
  • ภาวะฮอร์โมนโพรแลกตินในเลือดสูง ในกรณีที่มีภาวะนี้ การรักษาให้ระดับโพรแลกตินในเลือดลดลงจะมีอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงกว่า

 

 

4. ปัจจัยจากภูมิคุ้มกัน

5-15% ของผู้ป่วยที่มีภาวะแท้งซ้ำอาจมีโรค Antiphospholipid syndrome แฝงอยู่ โดย Antiphospholipid antibody จะส่งผลต่อการเจริญของตัวรก การฝังตัว การเกาะติดของรก ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแท้งได้

5. สาเหตุด้านการแข็งตัวของเลือด

การเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดแดง จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณรกไม่เพียงพอ ทำให้ตัวอ่อนเสียชีวิต, ทารกโตช้าในครรภ์, รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือครรภ์เป็นพิษได้

6. สาเหตุอื่น ๆ

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาวะแท้งซ้ำกับสิ่งแวดล้อม หรือความเครียด ในส่วนของสารเคมีที่ส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้ เช่น ไนตรัสออกไซด์ สารหนู สีย้อมผ้า เบนซีน เอทิลีนออกไซด์ ฟอร์มาลิน ยาฆ่าแมลง ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น

ไม่อยากท้องแล้วหลุดบ่อยต้องทำยังไง

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เช่น การงดบุหรี่ แอลกอฮอล์ กาแฟ รวมทั้งการลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก จากการศึกษา พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะช่วยเพิ่มภาวการณ์เจริญพันธุ์ได้
  2. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  มีการศึกษาที่พบว่าการให้โปรเจสเตอโรนในผู้ป่วยที่มีภาวะแท้งซ้ำที่ไม่ทราบสาเหตุมีประโยชน์กว่าการให้ยาหลอกหรือไม่ให้ยาเลย
  3. Aspirin with or without heparin จากการศึกษาพบว่าทั้งการให้แอสไพรินเพียงอย่างเดียวและการให้ทั้งแอสไพรินร่วมกับเฮปพาริน สามารถเพิ่มอัตราทารกที่คลอดปกติ ในคู่สมรสที่มีภาวะแท้งซ้ำได้
  4. ทำเด็กหลอดแก้วและคัดเลือกตัวอ่อน เป็นการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ก่อนที่จะนำตัวอ่อนที่ปกตินั้นย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้ทำการฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารกที่สมบูรณ์ปกติต่อไป
  5. การอุ้มบุญ ผู้ป่วยที่มีภาวะแท้งซ้ำ ๆ ที่มีปัญหาภายในโพรงมดลูก หรือมีความล้มเหลวในการฝังตัวอ่อนเด็กหลอดแก้ว การใช้วิธีย้ายตัวอ่อนให้ผู้อื่นท้องให้แทนเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
  6. การรับบริจาคไข่ เป็นทางเลือกหนึ่งในกรณีที่คู่สมรสที่อยากมีลูกแล้วเกิดภาวะแท้งซ้ำ ทำให้ไข่ไม่สมบูรณ์ อายุเยอะ หรือมีโครโมโซมที่ผิดปกติแฝงตัวอยู่ การรับบริจาคไข่ เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ และช่วยเพิ่มอัตราการคลอดทารกปกติมากขึ้นด้วยค่ะ
  7. รักษาแบบผสมผสาน มีการศึกษา พบว่าผู้ที่ได้รับยา เพรดนิโซโลน โปรเจสเตอโรน แอสไพริน และโฟเลต ก่อนและขณะตั้งครรภ์ มีอัตราการแท้งในไตรมาสแรกน้อยกว่า และมีอัตราคลอดทารกมีชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ให้การรักษาอะไรเลย

 

หากใครที่เคยท้องแล้วหลุด แนะนำให้ตรวจสุขภาพก่อนการตัดสินใจตั้งครรภ์ในครั้งถัดไป หากมีความผิดปกติบางอย่างที่สามารถรักษาได้ ไม่ว่าจะด้วยการใช้ยาหรือผ่าตัด ก็เป็นวิธีการแก้ไขที่จะทำให้ท้องต่อไปของคุณแม่เป็นการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

60 คำปลอบใจสำหรับคุณแม่แท้งลูก เพียงแค่ได้อ่านก็รู้สึกดีขึ้นมาเลย!

3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร

ติดกรรมแท้งลูก ลูกหลุดขณะท้อง หรือทำแท้ง แก้กรรมแท้งลูกได้อย่างไร

ที่มา : pradeepninan, ibabyfertility

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา