มาสำรวจตัวเองกัน ว่าคุณมี “พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง” หรือไม่?
องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากล กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ รณรงค์ให้รู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งและตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้ เนื่องจากขณะนี้โรคมะเร็งกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรงระดับโลก เป็นภัยเงียบคุกคามชีวิตประชาชนวัยแรงงานและผู้สูงอายุมากที่สุด
กินปลาน้ำจืดชนิดเกล็ดแบบดิบ ๆ
การกินปลาน้ำจืดชนิดที่มีเกล็ดแบบดิบ ๆ เช่นปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาเกล็ดขาว อาจทำให้เป็นมะเร็งตับได้ เนื่องจากในปลาดิบเหล่านี้มีพยาธิใบไม้ตับอยู่ ดังนั้นสำหรับคนที่ชอบกินปลาดิบอย่างซูชิอาจจะไม่ต้องกังวลใจ เพราะปลาที่ทำซูชิเป็นปลาทะเล
สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดถึงร้อยละ 80 และเป็นสาเหตุหลังของการเสียชีวิตของประชากรไทยวัยแรงงานและผู้สูงอายุมากที่สุด ปัจจุบันในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 10,000 คน ดังนั้นหากหยุดสูบบุหรี่จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60-70
ดื่มสุรา
ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่าวันละ 3 แก้ว จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง 9 เท่าของคนที่ไม่ดื่มสุรา และหากดื่มมากกว่าวันละ 3 แก้วและสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 20 มวนก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเป็น 50 เท่าตัว
เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย
ตากแดด
สำหรับคนที่ชอบตากแดดและนอนอาบแดดจะก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าปกคลุมผิวหนังจากแสงแดด
อาการที่บ่งบอกว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่เป็นมะเร็ง จึงไม่เหมือนอาการที่ผู้ใหญ่เป็นมะเร็งค่ะ ซึ่งการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นมะเร็งก็ทำได้ยาก เพราะสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ เพียงแค่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างเช่น ข้อบกพร่องทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส ที่อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้การรักษายังมีขั้นตอนที่มากกว่าและต้องรักษานานกว่าด้วยนะคะ
หากลูกมีอาการเหล่านี้เพียง 1 อาการ หรือมากกว่านั้น ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงค่ะ ลองเกริ่นกับคุณหมอถึงโรคมะเร็งด้วย แต่หากยังหาสาเหตุไม่เจอ การหาคุณหมอมากกว่า 1 ท่าน ก็เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องลองพิจารณาดูค่ะ
- น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ
- เจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อต่อต่างๆ ขณะที่เคลื่อนไหว เล่นเกมส์ หรือทำกิจกรรม
- ปวดหัวและอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้า
- คลำพบก้อนเนื้อ บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ และหน้าท้อง
- พุงป่อง หน้าท้องขยาย
- มีจุดสีแดงเล็กๆ (Petechia) ที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกจากเส้นเลือดและเส้นเลือดฝอย
- มีจุดหรือบริเวณสีม่วงตามผิวหนัง (Hematoma)
- บริเวณจอม่านตามีสีขาว เมื่อแสงมากระทบ
- มีอาการเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และมีภาวะซีดเรื้อรัง (โรคโลหิตจาง)
- ไข้ขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุเป็นระยะเวลานาน
- ติดเชื้อบ่อย จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง
1. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
เซลล์มะเร็งจะทำร้ายระบบน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย อวัยวะทุกอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
2. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
เซลล์มะเร็งที่มีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว จะส่งผลต่อไขกระดูก มะเร็งชนิดนี้มีอัตราเกิดสูงถึง 30% เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 1
3. เนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS tumor)
หากร่างกายมีเนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้ไปขัดขวางการไหลของของเหลวในสมอง ทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ทำให้ปวดหัวและอาเจียนค่ะ เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวค่ะ
4. มะเร็งต่อมหมวกไต (Neuroblastoma)
พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่งผลต่อระบบประสาท สังเกตอาการได้จากการคลำเจอก้อนในช่องท้อง คอ กระดูกเชิงกราน
5. มะเร็งไต (Wilms tumor)
พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-4 ปี
6. มะเร็งจอตา (Retinoblastoma)
หากเด็กเป็นแต่ไม่พาไปตรวจไม่ได้รักษะอาจจะเสียชีวิตได้ค่ะ
7. มะเร็งกระดูก (Osteosarcoma)
พบได้ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี บริเวณที่พบได้มากคือ อาการปวดรอบๆ หัวเข่า และอาจจะแพร่กระจายไปยังปอดได้ด้วยค่ะ
8. มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue sarcoma)
มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่รักษาหายได้ถึง 70%
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา familyshare
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิจัยเผย การให้นมลูก ช่วยลดความเสี่ยง เป็นมะเร็งรังไข่ ข้อดีการให้นมลูก!
10 อาหารที่ไม่ควรอุ่นในไมโครเวฟ อุ่นแล้วกลายเป็นสารก่อมะเร็ง
โรคมะเร็งในเด็ก เป็นได้ตั้งแต่เกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดี ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นมะเร็ง