โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมะเร็ง โรคที่ขึ้นชื่อว่าคร่าชีวิตคนมากที่สุด และในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ในทุก ๆ ปี จะมีการวินิจฉัย พบผู้ป่วยโรคมะเร็งใหม่ มากกว่า 9 ล้านคนต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นอีกโรคหนึ่ง สร้างความสูญเวีย ให้กับชีวิตคนเราเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เราควรศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง เพื่อป้องกัน และรู้เท่าทัน ลดโอกาสการเสียชีวิตได้

 

โรคมะเร็ง คืออะไร?

โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ และร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์เหล่านี้จึงเกิดการเจริญลุกลาม แพร่กระจายทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ปกติในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของเรา ล้มเหลว และไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ

 

ปัจจุบันนี้ มีการพบมะเร็งมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ในเรื่องของความรุนแรง ที่มีผลต่อโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื้องอกคืออะไร?

เนื้องอก คือ ตุ่ม หรือก้อน ที่ปรากฎขึ้นมา เนื่องจากเซลล์ หรือ เนื้อเยื่อในร่างกาย เกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกร้าย หรือที่คนเรียกกันว่า มะเร็ง นั่นเอง

 

ความแตกต่างระหว่าง มะเร็ง และ เนื้องอก

มะเร็ง คือโรคที่มีก้อนเนื้อ หรือ แผล ซึ่งจะโตไว และลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่กระจาย ไปสู่อวัยวะข้างเคียงต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น กระแสเลือด หลอดเลือด กระแสน้ำเหลือง หลอดน้ำเหลือง ซึ่งจะไหลไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทุกส่วนในร่างกาย โดยส่วนมากจะมีการแพร่ เข้าสู่ ปอด ตับ ไขกระดูก กระดูก สมอง เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคมะเร็ง

ในปัจจุบัน แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า โรคมะเร็ง มีสาเหตุมาจากอะไร เพราะมะเร็งในแต่ละบุคคล อาจมาจากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

ปัจจัยส่วนบุคคล

  1. อายุเพิ่มขึ้น เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น
  2. การสูบบุหรี่ เป็นบ่อเกิดของโรคหลายชนิด โรคมะเร็ง ก็เช่นกัน ซึ่งโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  3. การดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการเกิดของมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งเต้านม มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ เป็นต้น
  4. กรรมพันธุ์ มะเร็งบางชนิด มีความเกี่ยวข้องกับ ยีน และพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้ครอบครัว มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง
  5. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น 
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาจทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงมดลูก และ มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
  • ความอ้วน อาจทำให้เกิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และมะเร็งโพรงมดลูก เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ มาสำรวจตัวเองกัน ว่าคุณมี “พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง” หรือไม่?

 

สารเคมี และรังสี

  • สารเคมีในควันบุหรี่
  • สารเคมีในควันจากรถยนต์
  • สารพิษจากเชื้อรา
  • สารพิษ ที่เกิดจากควัน เช่น ควันปิ้ง ย่าง รมควัน หรือ ทอด
  • สีย้อมผ้า
  • สารเคมีจากการอุตสาหกรรม
  • รังสี UV
  • รังสีอื่น ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การติดเชื้อเรื้อรัง

  • ไวรัสตับอักเสบบี อาจทำให้เกิดมะเร็งตับ
  • ฮิวแมน แพพิโลมา ไวรักส (HPV) อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ 
  • เอบไสตน์ บาร์ ไวรัส (Epstein Barr Virus) อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ มะเร็งโพรงหลังจมูก
  • เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลรัย (Helicobacter Pylori) อาจทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 

มะเร็งมีกี่ระยะ?

ระยะของโรคมะเร็ง เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรค และแพทย์จะใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ ในการให้การรักษา โดยทั่วไป มะเร็งจะมีทั้งหมด 4 ระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 1-4 ซึ่งในแต่ละระยะ จะแบ่งย่อยได้อีก เป็น เอ บี ซี หรือ 1 2 แต่มะเร็งระยะ 0 ยังไม่จัดเป็นมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะยังไม่มีการรุกราน

มะเร็งระยะที่ 0 : มะเร็งระยะต้น ๆ ที่อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติ และยังไม่มีการแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อ ซึ่งสามารถตรวจพบเซลล์ผิดปกติบริเวณผิวนอก แต่ยังไม่เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง 

มะเร็งระยะที่ 1 : ตรวจพบเนื้องอก หรือ แผลมะเร็งขนาดเล็ก ที่มีขนาด 3-5 เซนติเมตร แต่ยังไม่มีการลุกลาม

มะเร็งระยะที่ 2 : เนื้องอก หรือ แผลมะเร็ง มีขนาดเริ่มใหญ่ขึ้น และเริ่มมีการลุกลาม แพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือ ต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งระยะที่ 3 : มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง อาจแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองไกล ๆ ได้

มะเร็งระยะที่ 4 : เป็นระยะการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ที่ออกไปสู่อวัยวะอื่นอย่างสมบูรณ์ มักแพร่ออกไปยังช่องท้อง ลำไส้ ตับ ปอด กระดูก ไขกระดูก ซึ่งสามารถเติบโต ลุกลามโดยเข้ากระแสเลือด และต่อมน้ำเหลือง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการบ่งชี้โรคมะเร็ง

  1. ตรวจพบสิ่งผิดปกติบริเวณร่างกาย เช่น คลำพบก้อนเนื้อ หรือ ตรวจพบการหนาตัวของผิวหนัง
  2. เจ็บปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย หรือ ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง
  3. มีไฝเกิดใหม่ หรือ ไฝที่ร่างกายมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ แตก กลายเป็นแผล หรือ มีเลือดออก
  4. ไอเรื้อรัง เสียงแหบ คออักเสบ
  5. การขับถ่ายผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะปนเลือด อุจจาระมีมูกเลือด อุดจาระมีเลือดปน ปวดหน่วงทวารหนักเมื่อขับถ่าย เป็นต้น
  6. การรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก กลืนแล้วมีอาการเจ็บ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  7. น้ำหนักลดลงผิดปกติ ลดลงกว่า 10% ของน้ำหนักตัว ในระยะเวลา 6 เดือน
  8. มีสารคัดหลังออกมาผิดปกติ เช่น ตกขาวปนเลือด เลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวผิดปกติ เป็นต้น

 

การรักษามะเร็ง

  1. การผ่าตัด เพื่อนำเนื้องอกร้ายออกไป
  2. การฉายรังสี เป็นการใช้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  3. เคมีบำบัด เป็นการให้ยาเคมี เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  4. ฮอร์โมนบำบัด เป็นการใช้ฮอร์โมนเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  5. การรักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษาด้วยวิธีหลากหลาย แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษา

 

 

เกณฑ์การพิจารณาการรักษา

  • ระยะของโรค
  • ชนิดของมะเร็ง
  • บริเวณของมะเร็ง
  • สามารถผ่าตัดได้หรือไม่
  • ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อ หลังผ่าตัดเป็นอย่างไร
  • อายุของผู้ป่วย
  • สุขภาพของผู้ป่วย

 

โอกาสรอดที่ 5 ปี ภายหลังทำการรักษา ของโรคมะเร็ง

มะเร็งระยะที่ 0 คือ 90-95%

มะเร็งระยะที่ 1 คือ 70-90%

มะเร็งระยะที่ 2 คือ 70-80%

มะเร็งระยะที่ 3 คือ 20-60%

มะเร็งระยะที่ 4 คือ 0-15%

 

การป้องกันโรคมะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็ง คือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือ ตรวจสุขภาพประจำปี
  • หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่าง ๆ

 

การตรวจคัดกรองมะเร็ง

การตรวจคัดกรองมะเร็ง คือ การตรวจหาเชื้อมะเร็ง ตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ เพราะโรคมะเร็งมีอัตราการรักษาให้หายได้ในช่วงระยะแรก (ระยะที่ 0 หรือ 1) ซึ่งการตรวจคัดกรองมะเร็ง ควรทำเป็นประจำ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ

 

โรคมะเร็ง แม้ฟังดูเป็นโรคที่อันตราย ร้ายแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่หากเรามีการตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ จะทำให้เรารู้ทัน และทำการรักษาได้ตั้งแต่มะเร็งระดับแรก ๆ ทำให้มีโอกาสหายสูงนั่นเอง

 

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต , โรงพยาบาลมะเร็งกรุงทพ วัฒโนสถ

บทความที่เกี่ยวข้อง :

มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง

10 สัญญาณโรคมะเร็งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้

เช็คด่วนก่อนจะสาย! 5 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่หญิงไทยต้องรู้

 

บทความโดย

Waristha Chaithongdee