คนท้องสงสัย คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม อันตรายหรือเปล่า ไขข้อข้องใจกัน

กระท่อม หรือน้ำกระท่อมได้รับความนิยมมากขึ้น หลังจากปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชายาเสพติด คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม เช็คเลย

ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา “กระท่อม” ถูกจัดให้เป็นพืชที่สามารถ ปลูก ซื้อ ขาย ต้นกระท่อมได้ไม่ผิดกฏหมาย เพราะ พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ได้ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชายาเสพติด ประเภท 5 ประชาชนจึงสามารถนำไปปลูก ซื้อขายได้ แต่ยังไม่สามารถทำออกมาเป็นสำเร็จรูปแบบอย่างเครื่องดื่ม หรือห้ามนำไปผสมสารเสพติดต่าง ๆ เพราะจะถือว่าผิดกฏหมาย ซึ่งทำให้ปัจจุบันหลายคนนิยมกระท่อมมากเพราะราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย แต่สำหรับคุณแม่ท้อง และแม่ให้นมลูกนั้นสามารถกินน้ำกระท่อมได้ไหม เป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า วันนี้ theAsianparent รวบรวมประเด็นที่คนท้องสงสัย คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม อันตรายหรือเปล่า ไขข้อข้องใจกัน

 

คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม? เป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า?

 

คนท้องกินน้ำกระท่อมได้ไหม

 

คนท้องไม่สามารถกินน้ำกระท่อมได้นะคะ ย้ำจะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งแม่ และเด็กเพราะจส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งแม่ และเด็กโดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระท่อมจริง ๆ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน

 

โดย Anti-Fake News Center Thailand ได้โพสต์เตือนข่าวปลอมว่า ตามที่เห็นในโลกโซเชียล มีเดีย (Social Media) เกี่ยวกับประเด็นเรื่องที่คนท้องดื่มน้ำกระท่อมได้ ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง หรือลูกในครรภ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธาณสุขได้เผยว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ทางกรมการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกชี้แจ้งว่า ปัจจุบันการใช้ใบกระท่อมหลายรูปแบบ เช่น บดเป็นผง ละลายน้ำดื่ม เคี้ยวใบสด สำหรับสารเสพติดที่พบในใบกระท่อม คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) โดยตัวไมทราไจนีน เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) คล้ายกันกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า

 

จากการวิจัยศึกษาพบว่าแม่ และทารกที่ได้รับน้ำกระท่อมก่อนคลอด โดยศึกษาจากกลุ่มแม่ที่ใช้กระท่อมระหว่างตั้งครรภ์ช่วงอายุ 37 ถึง 39 ปี โดยเหตุผลในการใช้น้ำกระท่อมมีแตกต่างกันออกไป เช่นใช้เพื่อการลดอาการปวด ลดอาการวิตกกังวล ผลวิเคราะห์พบว่า 6 กรณีศึกษาที่ได้รับน้ำกระท่อมก่อนคลอด จะทำให้ลูกที่เกิดมามีอาการขาดยา (Neonatal Abstinence Syndrome : NAS) ซึ่งจะมีอาการหลายรูปแบบ เช่น หายใจเร็ว อาการหอบ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ตัวสั่นกระตุกดังนั้นจึงคาดว่า ลูกที่เกิดจากแม่ที่ใช้กระท่อมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดอาการขาดยา (Neonatal Abstinence Syndrome : NAS)

 

อย่างไรก็ตามมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความซับซ้อนของกระท่อมต่ออาการถอนยาในทารก (NAS) และปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลศึกษาในการใช้น้ำกระท่อมที่แน่ชัด เพราะฉะนั้นหากแม่ท้องคนไหนมีความประสงค์ในการใช้น้ำกระท่อมควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยของแม่ และทารก

นอกจากนี้สารเสพติดในน้ำกระท่อมยังสามารถเข้าสู่ตัวเด็กผ่านทางน้ำนมได้ เพราะฉะนั้นสำหรับแม่ที่ให้นมลูกก็ไม่ควรที่จะดื่มน้ำกระท่อม เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับตัวเด็กได้หลายรูปแบบ เช่น เด็กอาจจะเกิดพัฒนาการช้า สมองเล็ก หายใจผิดปกติ และอาจจะเกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจและพัฒนาการของเด็กในระยะยาวได้อีกด้วย

 

รู้จักพืชกระท่อมกันดีกว่า

น้ำกระท่อม

 

“ใบกระท่อม” เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่กลับมารู้จักในสังคมไทยอีกครั้ง หลังจากโดนควบคุม และขึ้นบัญชีเป็นยาเสพติด และให้โทษประเภทที่ 5 มานานกว่าครึ่งศตวรรษ กระท่อมเป็นพืชที่พบกระจายทั่วประเทศไทย แต่จะพบเจอบ่อยในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และตะวันตก โดยแต่ละภาคก็จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป ด้วยความเป็นพืชพื้นถิ่นเช่นนี้ คนไทยหลายคนก็จะรู้จักกระท่อมมาตั้งแต่อดีต โดยในแง่การรักษาโรค นั้นกระท่อมจะช่วยลด และคลายอาการป่วยเมื่อย และเพิ่มกำลังในการทำงาน โดยชาวไร่ชาวสวนสมัยก่อน จะนิยมเอากระท่อมมาเคี้ยวเพื่อให้มีแรงทำงาน

 

เพราะเชื่อว่าใบกระท่อมจะช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น และยังให้มีการทนแดดมากขึ้น และตัวใบกระท่อมจะมีสรรพคุณทางยาช่วยการท้องเสีย คลายกังวล คลายเครียดได้อีกด้วย นอกจากนี้ ในงานของกลุ่มคนที่เล่น วัวชน ไก่ชน กลุ่มนักแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น หนังตะลุง ก็นิยมใช้ใบกระท่อมเพื่อไม่ให้ง่วง และมีอารมณ์ร่วมในการเล่นเพลง การแสดงต่าง ๆ อีกด้วย

 

และในการแพทย์พื้นบ้าน หมอพื้นบ้านจะนิยมใช้กระท่อมเอามาทำเป็นยาสมุนไพร ทั้งในรูปแบบเดี่ยว หรือเป็นตำรับยาพื้นบ้าน โดยจะใช้รักษาโรค และอาการต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด บิด ปวดเมื่อย แก้ไอ ลดความดันโลหิต เบาหวาน กระเพาะอาหาร และเสริมสมรรถภาพทางเพศ และใช้ทดแทน หรือบำบัดอาการถอนยาเสพติด เช่น ฝิ่น เฮโรอีน เป็นต้น

 

เราจะเห็นว่ากระท่อมนั้นมีประโยชน์มากมาย แต่ถึงแม้พืชกระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติดทางกฏหมาย แต่การนำพืชกระท่อมไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ต้องศึกษาให้ดี เพราะการทำผลิตภัณฑ์บางอย่างกับกระท่อมอาจเข้าข่ายการผลิตยาเสพติดได้ และถ้าหากจะแปรรูปกระท่อมเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยา อาหาร เครื่องดื่ จะต้องขออนุญาต อย. หรือ สำนักงานสาธรณสุขจังหวัด (สจจ.) ก่อน

 

สารอันตรายในใบกระท่อม

 

น้ำกระท่อม

 

ใบกระท่อมไม่ได้มีแค่ประโยชน์เพียงแค่ด้านเดียว แต่ในโทษของใบกระท่อมก็มีมากมาย โดยตัวกระท่อมจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ที่ช่วยออกฤทธิ์คล้ายแอมแฟตามีน โดยหากใช้มากเกินไป หรือใช้อย่างต่อเนื่องก็สามารถเกิดอาการผิดปกติได้หลายรูปแบบ เช่น

  • เกิดอาการเบื่ออาหาร
  • ปากแห้ง
  • มีอาการหนาวสั่น
  • ปัสสาวะบ่อยเกินไป
  • ทำให้ท้องผูก
  • มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน
  • เกิดอาการนอนไม่หลับ
  • เริ่มหวาดระแวง
  • เห็นภาพหลอน

จากบทความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าน้ำกระท่อมนั้นยังเป็นอันตรายต่อแม่ท้อง รวมถึงแม่ที่ให้นมลูกอยู่ ถึงจะไม่มีวิจัยออกมาชัดเจนแต่ก็ควรป้องกันไว้ก่อนนะคะ แต่ถ้าหากคุณแม่คนไหนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำกระท่อมจริง ๆ ทางเราก็ขอแนะนำให้มีการปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยเพื่อที่จะให้เกิดความปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ และลูกนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!

กินทุเรียนตอนท้องได้ไหม คนท้องกินทุเรียน ดีต่อทารกหรือเปล่า?

บทสวดมนต์คนท้อง ทำให้ลูกคลอดง่าย ปลอดภัย บทสวดมนต์สำหรับคุณแม่

 

ที่มา : ไทยรัฐ, Chulalongkorn University, Fascino

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!