งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์เรื่องความก้าวร้าวในหมู่พี่น้องที่ไม่ใช่แค่การแย่งของเล่นซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ พบว่าพฤติกรรมอันธพาลในพี่น้องที่ชอบแกล้งคนที่อ่อนแอกว่าอยู่เป็นประจำเป็นการทำร้ายจิตใจเด็กอย่างร้ายแรงพอ ๆ กับเด็กอันธพาลที่ทำร้ายคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดเลย
บทความแนะนำ: สอนให้ลูกรู้จักเห็นใจคนอื่น
ผลงานการศึกษาสด ๆ ร้อน ๆ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Pediatrics พบว่าในอเมริกาเด็กเล็กและวัยรุ่นที่โดนแกล้งให้เจ็บทั้งตัวและใจมองว่าตัวเองเป็นเหมือนขยะที่ไม่มีใครต้องการ ใครจะย่ำยีกดขี่ข่มเหงอย่างไรก็ได้ ประสบการณ์แย่ ๆ ที่เด็กพวกนี้พบเจอและต้องทนทรมานกับความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ทำให้พวกเขามีสภาพจิตแปรปรวน อัดแน่นด้วยความโกรธแค้นและไม่พอใจตัวเอง ทำให้เป็นคนอมทุกข์ ไม่มั่นใจในตัวเอง ผิดกับเด็กคนอื่นที่มีชีวิตปกติที่ดูร่าเริงกระตือรือร้นตามประสาเด็กอย่างเห็นได้ชัด
จากรายงานการศึกษานี้ยังพบอีกว่าผลกระทบของเด็กที่โดนแกล้งทำให้จิตใจบอบช้ำ อับอายไร้ค่าจากการถูกล้อเลียนหรือโดนแย่งของ ความรู้สึกที่เด็กได้รับไม่ว่าจะโดนแกล้งจากญาติพี่น้องหรือจากเพื่อนนั้น แย่พอ ๆ กัน
บทความใกล้เคียง: วิธีจัดการปัญหาเมื่อลูกทะเลาะกัน
พ่อแม่หรือแม้แต่คนทั่วไปมักคิดว่าเป็นเรื่องเล็กที่เด็กบางคนมีนิสัยชอบแกล้งและมักจะปล่อยผ่านไป ทำให้เด็กที่ชอบแกล้งมีพฤติกรรมอันธพาลที่รุนแรง และทำร้ายจิตใจพี่น้องกันเองมากขึ้นโครินนา เจนกินส์ ทักเกอร์ รองศาสตราจารย์ด้านครอบครัวศึกษาในมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ให้ความเห็นเรื่องพฤติกรรมอันธพาลในพี่น้องว่า “พ่อแม่ส่วนใหญ่หรือแม้แต่คนทั่วไปก็มองว่าพฤติกรรมอันธพาลที่ทำร้ายร่างกายและจิตใจในญาติพี่น้องไม่ใช่เรื่องใหญ่โต พ่อแม่บางคนยังมองว่าเป็นการดีเสียอีก ที่เด็กจะได้เรียนรู้การต่อสู้และปกป้องตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก” เป็นอะไรที่น่าตกใจมาก ที่พ่อแม่มองไม่เห็นสัญญาณอันตรายที่ทำให้ลูกตัวเองกลายเป็นคนเก็บกดจากพฤติกรรมอันธพาลในครอบครัวของพี่หรือน้อง ที่ทำร้ายจิตใจให้บอบช้ำจนเกินเยียวยา
แล้วพ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกจะกลายเป็นอันธพาลเมื่อไหร่ตอนที่แย่งของเล่นกันตามประสาเด็ก? จอห์น วี คาฟฟาโร นักจิตวิทยาและผู้ร่วมเขียนหนังสือเรื่อง “ภาวะจิตใจที่บอบช้ำจากพี่น้องอันธพาล” ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ว่า ถ้าพ่อแม่ไม่ห้ามหรือหยุดพฤติกรรมก้าวร้าวอันธพาลของลูก ๆ และชอบแสดงให้เห็นว่าโปรดปรานลูกคนไหนเป็นพิเศษ จากฉายาที่ตั้งขึ้นเองว่า “คนเก่ง” หรือ “คนที่เงียบ ๆ ” การที่พ่อแม่ไม่ห้ามลูกก็เท่ากับยุยงส่งเสริมให้ลูกคนเก่งคนโปรดยกระดับความรุนแรงในการทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่า จนกลายเป็นอันธพาลในครอบครัวในที่สุด
บทความใกล้เคียง: วิธีทำให้พี่รักน้อง
แม้ว่าผลจากรายงานนี้ฟังดูน่าตกใจ แต่ผู้ทำการศึกษาเรื่องอันธพาลในครอบครัวก็ไม่ได้เจาะลึกลงในรายละเอียดหรือยืนยันได้ว่าพฤติกรรมอันธพาลในครอบครัวระหว่างพี่น้องกันเองเป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็กที่โดนทำร้ายมีสุขภาพจิตเสื่อมโทรม อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ทัคเกอร์และผู้ร่วมงานก็ยังตั้งความหวังว่าจากผลงานที่ได้มานี้จะจุดประกายให้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ให้เห็นว่าพฤติกรรมอันธพาลในครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจที่บอบช้ำของเด็กที่โดนทำร้ายอยู่เป็นประจำ
บทความแนะนำ: สอนลูกให้คิดเป็น ด้วยคำถามแบบเปิด