คุณแม่อัพไซส์ เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม น้ำนมจะน้อยหรือเปล่า

เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม แล้วน้ำนมจะน้อยจริงหรือเปล่า คุณแม่อัพไซส์ตามมาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาว ๆ หลายคนต้องการเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ด้วยการผ่าตัดเสริมหน้าอกเพื่อเพิ่มขนาด สร้างความกระชับและความสวยงามของรูปร่าง ซึ่งบางกรณีที่หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกมาแล้วได้วางแผนแต่งงาน และมีลูกน้อย ทำให้ คุณแม่อัพไซส์ หลายคนอาจมีความกังวลและเกิดคำถามในใจว่า เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม น้ำนมจะน้อยหรือเปล่า การเสริมหน้าอกจะส่งผลข้างเคียงอะไรต่อการให้นมลูกน้อยบ้าง เราจะชวนมาไขข้อข้องใจและคลี่คลายปัญหากันค่ะ

กระบวนการผลิตน้ำนมที่คุณแม่อัพไซส์ควรรู้ 

เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม ก่อนอื่นอยากชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนมกันก่อนค่ะ ซึ่งกรณีของคุณแม่ที่เสริมหน้าอกมานั้นไม่มีกระบวนการใด ๆ ที่แตกต่างไปจากคุณแม่ที่ไม่ได้อัพไซส์เลย คือ โดยปกติแล้วน้ำนมจะถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์ที่อยู่ภายในกระเปาะเล็ก ๆ ในเนื้อเต้านม เป็นเซลล์ที่ถูกหล่อเลี้ยงจากเส้นเลือดบริเวณหน้าอก น้ำนมที่ถูกผลิตขึ้นจะถูกเก็บไว้ตามกระเปาะภายใน กระทั่งเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่จะให้นมลูก น้ำนมจึงจะถูกดูดออกมาผ่านทางท่อน้ำนมและไหลออกมาจากหัวนม

ส่วนการเสริมหน้าอกเป็นการผ่าตัดโดยใส่ซิลิโคนเข้าไปในเต้านม เพื่อเพิ่มขนาดและปรับรูปทรงให้สวยงามขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อหน้าอก หรือใต้เนื้อเยื่อเต้านม ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความต้องการของแต่ละบุคคล โดยศัลยแพทย์จะไม่มีการตัดท่อน้ำนม และไม่ทำการใด ๆ ที่เป็นการเข้าไปยุ่งกับส่วนของต่อมน้ำนมเลย


เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม

ความกังวลของคุณแม่ในเรื่องของการเสริมหน้าอก ว่าจะส่งผลต่อการให้นมลูกหรือไม่ สามารถให้นมลูกน้อยได้ตามปกติหรือเปล่า ขอตอบว่า โดยทั่วไปแล้ว การเสริมหน้าอกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นมลูกโดยตรง หากทำการผ่าตัดและเลือกวิธีการใส่ซิลิโคนอย่างเหมาะสม นั่นหมายถึงความเสี่ยงใด ๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัดและตำแหน่งที่วางซิลิโคนค่ะ ซึ่งวิธีการผ่าตัดเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนนั้น มีรูปแบบหลัก ๆ อยู่ 2 วิธี คือ

  • การใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อหน้าอก

เป็นการเสริมหน้าอกโดยการสอดถุงซิลิโคนหรือถุงน้ำเกลือเข้าไปที่บริเวณใต้เต้านม ซึ่งแผลผ่าตัดจะซ่อนอยู่ใต้กล้ามเนื้อ และผลลัพธ์ที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น การใส่ซิลิโคนด้วยวิธีนี้มักจะไม่ส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมของคุณแม่มากนัก ดังนั้น คุณแม่ที่อัพไซส์ด้วยวิธีนี้จึงยังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติค่ะ

ทั้งนี้ ในปัจจุบันจะนิยมใช้การสอดซิลิโคนเข้าไปที่บริเวณรักแร้ ใต้ราวนม หรือใต้ลานนม โดยที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการผ่าตัดบริเวณหัวนมเลย ส่วนการวางซิลิโคน ก็มักจะมีการวางหลักอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ ชั้นใต้กล้ามเนื้อ และชั้นเหนือกล้ามเนื้อ ที่ไม่ได้รบกวนบริเวณถุงเก็บน้ำนม จึงไม่มีผลต่อการสร้างน้ำนม

ทำให้หลังเสริมหน้าอกแล้วคุณแม่ยังสามารถให้นมได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีที่มีการศัลยกรรมลดขนาดหน้าอกหรือตัดเต้านมออก อาจจะต้องมีการผ่าตัดบริเวณหัวนม ทำให้มีความเสี่ยงที่อาจจะต้องตัดท่อน้ำนม ต่อมน้ำนม หรือเส้นประสาทบางส่วนที่เกี่ยวกับการให้นมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การใส่ซิลิโคนใต้เนื้อเยื่อเต้านม

หากคุณแม่เป็นคนที่มีเนื้อหน้าอกอยู่บ้างแล้ว การเสริมหน้าอกด้วยวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติมาก และร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายอาจน้อยกว่าด้วยเพราะเป็นการผ่าตัดที่ง่ายกว่า

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สูงกว่า เช่น การเคลื่อนที่ของซิลิโคน การเกิดรอยย่น หรือการเปลี่ยนรูปทรงของเต้านม มีโอกาสเป็นไปได้ง่ายกว่าการใส่ใต้กล้ามเนื้อ และผลลัพธ์อาจไม่คงทน เนื่องจากซิลิโคนอยู่ใกล้กับผิวหนังทำให้เกิดแรงกดทับได้ง่าย และอาจทำให้ซิลิโคนเสียรูป

ที่สำคัญคือ อาจส่งผลต่อการให้นมลูก เนื่องจากหากมีการวางซิลิโคนใกล้กับต่อมน้ำนมมากเกินไป เกิดการบีบอัดต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมมากกว่าวิธีแรก อาจส่งผลให้การผลิตน้ำนมลดลง หรือมีปัญหาในการให้นมลูกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เสริมหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม ต้องทิ้งระยะเวลานานแค่ไหน

ปกติแล้วคุณแม่ที่ผ่านการศัลยกรรม เสริมหน้าอกจะให้นมลูกได้โดยใช้ระยะเวลาไม่นานและไม่มีปัญหาอะไรค่ะร่างกายยังสามารถผลิตน้ำนมได้ปกติ ยกเว้นในกรณีที่คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการชาหรือไม่มีความรู้สึกบริเวณลานนม หรือหัวนม ซึ่งอาจใช้เวลาฟื้นฟูประมาณ 6 เดือนถึง 2 ปี อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการให้นมลูกหลังเสริมหน้าอกได้ค่ะ อาทิ

  • ขนาดและชนิดของซิลิโคน โดยซิลิโคนขนาดใหญ่หรือมีรูปทรงที่ไม่เหมาะสม อาจกดทับต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมได้
  • เทคนิคการผ่าตัด การผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลกระทบต่อการให้นมลูก
  • การดูแลหลังการผ่าตัด หากคุณแม่ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาในการให้นมตามมาค่ะ

 

คุณแม่เสริมหน้าอก น้ำนมจะน้อยจริงไหม

ความกังวลของคุณแม่ที่เสริมหน้าอกมาคงไม่ได้หยุดอยู่แค่คำถามว่า เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม แต่อาจขยายไปถึงว่าการเสริมหน้าอกจะทำให้น้ำนมน้อยลง หรือน้ำนมมีสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการาของร่างกายลูกน้อยหรือเปล่า เรื่องนี้คุณแม่สามารถตัดความกังวลใจออกไปได้เลยค่ะ เนื่องจากการใส่ซิลิโคนเสริมหน้าอกจะอยู่ในตำแหน่งใต้เนื้อเต้านมซึ่งเป็นคนละส่วนกับต่อมที่ผลิตน้ำนมรวมไปถึงท่อน้ำนม จึงไม่มีผลกระทบต่อน้ำนมแม่แต่อย่างใด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดูแลตัวเองยังไงเมื่อคุณแม่อัพไซส์ต้องให้นมลูก

น้ำนมของคุณแม่จะมีปริมาณมากหรือน้อย รวมถึงมีคุณภาพของสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง ของคุณแม่ดังต่อไปนี้ค่ะ

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่บำรุงน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง ใบกระเพรา ฟักทอง และอย่าลืมว่าต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ อย่างน้อย 3-4 ลิตรต่อวัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยพยายามหาเวลานอนในช่วงที่ลูกน้อยหลับ
  • ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมอยู่เสมอ หรือปั๊มนมทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อระบายน้ำนม และกระตุ้นน้ำนมให้ไหลเป็นปกติ ไหลแรง ไหลเยอะ ลดความเสี่ยงภาวะท่อน้ำนมอุดตัน
  • เลือกเสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่น และสามารถโอบกระชับเต้านมอย่างพอดี

ที่สำคัญที่สุดคือ คุณแม่ต้องเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า การให้ลูกกินนมแม่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกน้อย เป็นภูมิคุ้มกันชั้นยอด และต้องมั่นใจว่าการเสริมหน้าอกนั้นสามารถให้นมลูกได้อย่างปลอดภัย ตัดความกังวลทุกอย่างออกไป ลดความเครียดที่จะส่งผลต่อการไหลของน้ำนมคุณแม่ได้ค่ะ

 

การเสริมหน้าอกไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการให้นมลูกเสมอไปนะคะ หากคุณแม่มีการวางแผนที่ดีทั้งการเสริมความสวยสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง และวางแผนมีบุตร โดยต้องเข้าใจว่า การผ่าตัดเสริมหน้าอกมีหลากหลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์แต่ละคน ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งใจว่าอยากให้นมลูกด้วยตนเอง แนะนำว่าควรปรึกษาศัลยแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้แน่ใจก่อนรับการผ่าตัดจะดีที่สุดค่ะ

 

ที่มา : www.paolohospital.com , amarasurgery.com , www.drnoithefamily.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 เครื่องดื่มคุณแม่หลังคลอด ฟื้นฟูร่างกาย บำรุงน้ำนมเพื่อลูกน้อย

ปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการ แค่ไหนถึงจะพอดี ?

ให้นมลูกผมร่วง ปัญหาหนักใจของแม่หลังคลอด แก้ไขยังไงดี

บทความโดย

จันทนา ชัยมี