ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ํา หมอไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ สุดท้ายคุณย่าบอกความจริง

ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ำ เพราะอะไร คุณแม่ชาวจีนท่านหนึ่ง สงสัยถึงความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับลูกชายวัย 2 ขวบ ทั้งที่เคยชอบอาบน้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งแต่มีลูก คนเป็นพ่อแม่จะสนใจทุกเรื่องที่เกี่ยวกับลูก และมักจะไวต่อสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เว็บไซต์ Sohu รายงานว่า ฟางฟาง คุณแม่ชาวจีนท่านหนึ่ง สงสัยถึงความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับลูกชายวัย 2 ขวบของเธอ ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ํา ทั้งๆ ที่เคยชอบอาบน้ำมาก

ฟางฟางเล่าว่า ลูกชายของเธอเคยชอบอาบน้ำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ เขากลับร้องไห้ทุกครั้งเมื่อถึงเวลาอาบน้ำ ซึ่งทำให้เธอกังวลมาก หลังจากผ่านไปกว่าครึ่งเดือน ฟางฟางตัดสินใจพาลูกชายของเธอไปตรวจที่โรงพยาบาล

หลังจากการตรวจหลายครั้ง แพทย์พบว่าร่างกายของเด็กไม่มีปัญหาใดๆ หมอถามฟางฟางว่าเด็กมีประสบการณ์ที่น่ากลัวเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ถึงตอนนี้แม่สามีของเธอที่เพิ่งเดินทางมาจากบ้านเกิดได้ยินคําถามของแพทย์จึงยอมเผยความจริง

ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ํา หมอไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ สุดท้ายคุณย่าบอกความจริง

เนื่องจากฟางฟางต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อทำธุรกิจ จึงฝากให้คุณย่าช่วยดูแลหลานช่วงที่เธอไม่อยู่ และในขณะที่คุณย่ากำลังอาบน้ำให้หลาน ก็มีคนมาเคาะประตู

คุณย่าเห็นว่า น้ำในอ่างอาบน้ำไม่ลึก เธอจึงไม่คิดมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณย่าไปเปิดประตูและพูดคุยกับเพื่อนบ้าน ไม่นานนักเธอก็ได้ยินเสียงดังจากในห้องน้ำ จึงรีบวิ่งไปดู และพบว่าหลานชายหน้าคว่ำอยู่ในน้ำ กำลังร้องไห้ดิ้นรน คุณย่ารีบเข้าไปช่วยไว้ได้ทัน เนื่องจากหลานดูไม่ได้รับบาดเจ็บอะไร เธอจึงไม่ได้บอกความจริง เพราะกลังว่าฟางฟางและสามีจะเป็นกังวล

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กจะไม่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายแต่เมื่อ ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ำ แสดงว่าประสบการณ์ได้ทิ้งบางแผลฝังลึกในจิตใจไว้ให้กับเด็ก ซึ่งทําให้เริ่มเขากลัวการอาบน้ํา แพทย์แนะนําว่า พ่อแม่ควรให้คำแนะนำแก่ลูกด้วยความอดทน จึงจะช่วยให้ลูกชายค่อยๆ ก้าวผ่านความกลัวได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่ต้องใส่ใจเมื่ออาบน้ําให้เด็ก

ไม่มีใครคาดคิดว่า สิ่งที่ดูเป็นเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจําวันอย่างการอาบน้ํา อาจกลายเป็นฝันร้ายของเด็ก และพ่อแม่ไปตลอดชีวิต ดังนั้น ผู้ปกครองควรใส่ใจรายละเอียดด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

1. อาบน้ำให้ลูกด้วยอุณหภูมิเหมาะสม

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับน้ำอาบลูก คือประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ลูกรู้สึกอุ่นสบาย ไม่ร้อนเกินไปจนลวกผิวลูก และเย็นเกินไปจนทำให้ลูกเป็นหวัด โดยใช้หลังมือหรือเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำก่อนเสมอ และไม่ควรอาบน้ำให้ลูกนานเกินไป ประมาณ 5-10 นาทีก็เพียงพอ

2. ผู้ปกครองไม่ควรละสายตา

ขณะอาบน้ําให้ลูกในอ่างอาบน้ำเด็ก หรือให้ลูกนั่งเล่นในอ่างอาบน้ำ พ่อแม่ต้องจดจ่อตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากการละสายตาไปจากเด็ก เพราะระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว หรือระดับตาตุ่ม ก็สามารถทำให้เด็กจมน้ำได้ เด็กอาจลื่นจมลงไปในน้ำ หรือหน้าคว่ำไปในน้ำ แล้วยันตัวขึ้นมาไม่ได้ ถ้าไม่มีใครมาช่วยทันเวลา อาจเกิดความสูญเสียแก้วตาดวงใจไปตลอดกาล

 

เช่นเดียวกับลูกชายของฟางฟาง ที่จมน้ำในอ่างอาบน้ําเนื่องจากความประมาทของแม่สามี จากเหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์แก่คุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการอาบน้ําให้เด็กหรือช่วยเด็กเช็ดตัวให้แห้งและใส่เสื้อผ้า อย่าละสายตาจากเด็ก ไม่ว่าจะออกไปเปิดประตู ออกไปรับโทรศัพท์ หรือทิ้งลูกไว้ลำพังเพื่อเดินไปหยิบของเพียงไม่กี่นาที เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้แม้เพียงเสี้ยวนาทีเท่านั้น และแม้ร่างกายจะไม่เป็นอะไรก็ตาม แต่บาดแผลนั้นกลับฝังลึกในจิตใจของเด็กไปแสนนาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง  ระวัง! ปล่อยให้ลูกคลาดสายตา แม้เสี้ยววิ เป็นอันตรายถึงชีวิต!!

 

ลูกกลัวน้ำ พ่อแม่จะช่วยลูกก้าวผ่านความกลัวได้อย่างไร

เมื่อลูกกลัวน้ำ ลูกร้องไห้ทุกครั้งที่อาบน้ำ เราในฐานะพ่อแม่ควรให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของลูกน้อยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ลูกเผชิญกับประสบการณ์เลวร้ายบางอย่าง เพื่อหาทางช่วยเหลือและเยียวยาสภาพจิตใจของลูก โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. เข้าใจความรู้สึกของลูก

เมื่อลูกกลัว พ่อแม่ไม่ควรเพิกเฉยต่อความรู้สึกกลัวของลูก เพราะจะทําให้ลูกยิ่งกลัวมากขึ้น ควรสร้างบรรยากาศปลอดภัยให้ลูกได้เปิดใจคุย โดยไม่มีการตัดสินหรือบังคับให้ลืมเรื่องที่เกิดขึ้น บอกลูกว่า “มันเป็นเรื่องปกติที่รู้สึกแบบนี้หลังจากเกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี” อธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นให้ลูกเข้าใจในระดับภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับวัย เชื่อมโยงความกลัวของลูกกับประสบการณ์อื่นๆ ที่ลูกเคยผ่านมาและเอาชนะได้ เช่น กลัวความมืด แต่ตอนนี้กล้าเข้านอนคนเดียวได้แล้วนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. รับฟังอย่างตั้งใจ

พ่อแม่ควรรับฟังอย่างตั้งใจและให้กำลังใจ เมื่อลูกเล่าถึงความรู้สึกของเขา พ่อแม่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัวของลูกด้วย ไม่ใช่แค่พูดว่า “มันไม่มีอะไรน่ากลัว” คําพูดเช่นนี้มักไม่ได้ช่วยปลอบโยน แต่กลับจะเพิ่มความกลัวของเด็กมากยิ่งขึ้น

3. สร้างความเชื่อมั่น

การช่วยลูกเอาชนะความกลัวต้องใช้เวลาและความอดทน บอกลูกว่า “พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างเสมอ” และเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นว่า การเล่นน้ำเป็นเรื่องสนุก เริ่มจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำในระดับที่ลูกสบายใจ เล่นเกมง่ายๆ เช่น เทน้ำเล่นในแก้วก่อน ฉีดน้ำใส่กัน เลือกของเล่นที่น่าสนใจ เช่น เป็ดน้อย เพื่อดึงดูดความสนใจของลูก 

4. เบี่ยงเบนความสนใจ

เด็กหลายคนมีความรู้สึกพิเศษต่อสิ่งของบางอย่าง เช่น ของเล่นหรือเสื้อผ้าที่พวกเขาชื่นชอบ ซึ่งสามารถทําให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ดังนั้น เมื่อลูกมีความกลัว พ่อแม่สามารถใช้สิ่งของเหล่านี้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และช่วยให้ลูกลดความกลัวได้

5. ให้รางวัล

เมื่อลูกมีความกล้ามากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้รางวัลเพื่อเป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดี เมื่อลูกเริ่มคุ้นเคยกับน้ำแล้ว ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำทีละน้อย อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่บังคับให้ลูกทำอะไรที่เขาไม่พร้อม ก่อนจะไปสู่การเล่นน้ำในอ่างน้ำ หรือเล่นน้ำในสระ

6. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

สังเกตอาการของลูก หากลูกยังคงกลัวน้ำมาก หรือมีอาการวิตกกังวลมากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก หรือครูสอนว่ายน้ำที่มีประสบการณ์ในการสอนเด็กที่มีความกลัว

 

ที่มา : sohu

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 เรื่องอันตราย แม่ต้องระวัง ขณะอาบน้ำให้ลูกน้อย

ล้อเลียน ! ทำร้ายจิตใจเด็ก ! 6 เรื่องที่คุณไม่ควรนำมาล้อเด็ก ๆ ไม่ดี อย่าทำ

3 เรื่องที่คุณพ่อมือใหม่มักทำพลาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา