ลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ จริงไหม? มุมมองทางจิตวิทยาพัฒนาการสมัยใหม่

lead image

บทความนี้จะพาคุณแม่ไปไขข้อข้องใจ พฤติกรรม ลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ จริงไหม เกิดจากอะไรกันแน่ มาทำความเข้าใจจิตใจของเด็กกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ จริงไหม? ความเชื่อหรือประสบการณ์ที่เราคุ้นเคยเหล่านี้ กำลังบอกอะไรเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ขวบ? บทความนี้จะพาคุณแม่ไปไขข้อข้องใจ พฤติกรรมลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ เกิดจากอะไรกันแน่ มาทำความเข้าใจจิตใจของเด็กกันค่ะ

 

ทำความเข้าใจโลกน้อยๆ ของเด็กวัย 2-5 ขวบ

ในช่วงวัย 2-5 ขวบ โลกของเด็กน้อยมีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรงขึ้น สติปัญญาที่เริ่มซับซ้อนขึ้น อารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้น และ พัฒนาการทางสังคมที่กว้างขึ้น 

นอกจากนี้ เด็กจะเริ่มสังเกตและเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง พวกเขาอาจเริ่มระบุว่าตนเองเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง และเริ่มซึมซับความคาดหวังทางสังคมเกี่ยวกับบทบาทของแต่ละเพศ เช่น เด็กผู้ชายเล่นรถ เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตา ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้มักมาจากการสังเกตคนรอบข้าง สื่อต่างๆ รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูด้วย

สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ สายสัมพันธ์ (attachment) ที่แน่นแฟ้นกับผู้ดูแลหลัก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นพ่อแม่ เป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ดีของเด็ก การที่เด็กได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างสม่ำเสมอ ได้รับความรัก ความอบอุ่น และความรู้สึกปลอดภัย จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะสำรวจโลก และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในอนาคต ความผูกพันที่แข็งแกร่งยังเป็นปัจจัยสำคัญในการคลี่คลายปมทางจิตใจต่างๆ ในช่วงวัยนี้ด้วย

 

ทำความเข้าใจปมในใจของลูกชาย และลูกสาว

พฤติกรรม ลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่เบื้องหลังกลับมีแนวคิดทางจิตวิทยาที่น่าสนใจ นั่นคือ “ปมออดิปุส” (Oedipus complex) และ “ปมอิเล็คตร้า” (Electra complex) ของซิกมันด์ ฟรอยด์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ปมออดิปุส : ลูกชายกับความรู้สึกรักใคร่แม่

ตามแนวคิดของนักจิตวิทยาชื่อดัง ซิกมันด์ ฟรอยด์ เขาบอกว่าในช่วงวัยนี้ ลูกชายจะมีความรู้สึกรักใคร่คุณแม่มากๆ เหมือนอยากจะ “เป็นเจ้าของ” คุณแม่คนเดียว และในขณะเดียวกัน เขาก็จะเริ่มรู้สึกว่าคุณพ่อเป็นเหมือนคู่แข่ง ที่มาแย่งความรักของคุณแม่ไปจากเขาค่ะ

พฤติกรรมที่ลูกชายอาจแสดงออก

  • ติดแม่แจ  อยากอยู่ใกล้คุณแม่ตลอดเวลา อ้อนคุณแม่เป็นพิเศษ อยากให้คุณแม่ทำอะไรให้ หรืออยากนอนกับคุณแม่
  • หวงแม่ อาจจะแสดงอาการไม่พอใจ หรือหงุดหงิดเวลาเห็นคุณพ่อใกล้ชิดกับคุณแม่มากเกินไป เหมือนเขาหวงของคุณแม่อยู่
  • เลียนแบบพ่อ ในขณะเดียวกัน ลูกชายก็จะเริ่มสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อ อาจจะอยากทำตัวเหมือนคุณพ่อ เก่งเหมือนคุณพ่อ เพราะลึกๆ แล้วเขาก็อยากจะเป็นเหมือนคุณพ่อ เพื่อที่จะได้รับการยอมรับและความรักจากคุณแม่ด้วยค่ะ

แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามวัย และจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อลูกชายโตขึ้น เขาจะเริ่มตระหนักว่าคุณพ่อก็เป็นคนสำคัญของคุณแม่ และเขาก็ไม่สามารถ “เป็นเจ้าของ” คุณแม่ได้คนเดียว ในที่สุด เขาจะเริ่มมองคุณพ่อเป็นแบบอย่าง อยากเป็นเหมือนคุณพ่อ เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้ชายจากคุณพ่อ และยอมรับว่าตัวเองก็เป็นผู้ชายคนหนึ่งที่มีบทบาทแตกต่างจากคุณแม่

กระบวนการนี้จะค่อยๆ ทำให้ความรู้สึกอยาก “แข่งขัน” กับคุณพ่อลดลง และลูกชายจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งคุณพ่อและคุณแม่ได้อย่างเหมาะสมค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ปมอิเล็คตร้า : ลูกสาวกับความรู้สึกรักใคร่พ่อ

ในช่วงเดียวกัน ลูกสาวก็จะเริ่มรู้สึกผูกพันและรักคุณพ่อมากเป็นพิเศษ มองว่าคุณพ่อเป็นฮีโร่ เป็นคนเก่งที่สุด และอยากจะใกล้ชิดคุณพ่อมากๆ ค่ะ ตามทฤษฎีของฟรอยด์ บอกว่า ลูกสาวในช่วงนี้จะมีความรู้สึกรักใคร่คุณพ่อ อยากจะ “เป็นเจ้าของ” คุณพ่อคนเดียว และในขณะเดียวกัน ก็อาจจะมีความรู้สึกเหมือน “แข่งขัน” กับคุณแม่ ที่เป็นผู้หญิงเหมือนกัน และเป็นคนใกล้ชิดคุณพ่อที่สุดค่ะ

พฤติกรรมที่ลูกสาวอาจแสดงออก ก็คล้ายกับที่ลูกชายแสดงต่อแม่เลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ติดพ่อหนึบ ลูกสาวจะอยากอยู่กับคุณพ่อ อยากให้คุณพ่อเล่นด้วย อุ้ม หรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกันเป็นพิเศษ อาจจะอ้อนคุณพ่อมากกว่าคุณแม่
  • หวงพ่อ อาจจะแสดงอาการน้อยใจ หรือไม่พอใจเวลาเห็นคุณแม่แสดงความรักกับคุณพ่อ หรือเมื่อคุณพ่อให้ความสนใจคุณแม่อย่างใกล้ชิด เหมือนเขาหวงคุณพ่อ
  • เลียนแบบแม่ ในขณะเดียวกัน ลูกสาวก็จะเริ่มสังเกตและเลียนแบบท่าทาง คำพูด หรือกิจกรรมที่คุณแม่ทำ อาจจะอยากช่วยคุณแม่ทำงานบ้าน แต่งตัวสวยๆ เหมือนคุณแม่ เพราะลึกๆ แล้วเธอก็ต้องการที่จะเติบโตเป็นผู้หญิงที่น่ารักและได้รับการยอมรับจากคุณพ่อด้วยค่ะ

 

และเมื่อลูกสาวโตขึ้นจะค่อยๆ เข้าใจว่าคุณพ่อก็เป็นคนสำคัญของคุณแม่ และเธอเองก็ไม่สามารถ “เป็นเจ้าของ” คุณพ่อได้คนเดียว ในที่สุด ลูกสาวจะเริ่มมองคุณแม่เป็นแบบอย่าง เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้หญิงจากคุณแม่ และยอมรับว่าตัวเองก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีบทบาทและความสำคัญแตกต่างจากคุณพ่อ

กระบวนการนี้จะค่อยๆ ทำให้ความรู้สึกอยาก “แข่งขัน” กับคุณแม่ลดลง และลูกสาวจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งคุณพ่อและคุณแม่ได้อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกัน

 

มุมมองทางจิตวิทยาพัฒนาการสมัยใหม่

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน นักจิตวิทยาพัฒนาการหลายท่านมองว่า เรื่องความผูกพันของลูกไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีของฟรอยด์เป๊ะๆ อย่างเดียวแล้วค่ะ โดยจิตวิทยาพัฒนาการสมัยใหม่ได้มีมุมมองใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

  • ไม่ใช่แค่เรื่องเพศ นักจิตวิทยาสมัยใหม่มองว่า ความผูกพันที่ลูกมีต่อพ่อหรือแม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ว่าลูกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเท่านั้นค่ะ แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากๆ
  • บุคลิกภาพของลูก เด็กแต่ละคนมีนิสัยและความชอบที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะชอบความอ่อนโยนของแม่มากกว่า ในขณะที่บางคนอาจจะสนุกกับการเล่นผาดโผนกับพ่อมากกว่า บุคลิกภาพของลูกเองก็มีส่วนทำให้เขาใกล้ชิดกับพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษได้ค่ะ
  • รูปแบบการเลี้ยงดู ก็สำคัญมากๆ ถ้าพ่อหรือแม่คนไหนที่ให้เวลา เล่นด้วย เอาใจใส่ และเข้าใจลูกมากกว่า ลูกก็จะรู้สึกผูกพันกับคนนั้นมากกว่าเป็นธรรมดาค่ะ การเลี้ยงดูที่อบอุ่นและตอบสนองความต้องการของลูกอย่างสม่ำเสมอ จะสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
  • ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว บรรยากาศในบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่ และการที่ทุกคนในครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ก็มีผลต่อความรู้สึกของลูกค่ะ ถ้าในบ้านมีความรัก ความเข้าใจ และการสนับสนุนกัน ลูกก็จะรู้สึกปลอดภัยและผูกพันกับทุกคนได้ดี

และถึงแม้ว่าในช่วงวัยนี้ลูกอาจจะแสดงความชอบหรือติดคนใดคนหนึ่งมากกว่า แต่คุณพ่อคุณแม่ยังคงต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ปลอดภัยให้กับลูกอย่างสมดุล ดังนี้

  • ให้ความรักและความเอาใจใส่ ไม่ว่าลูกจะติดใครมากกว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงความรักและความเอาใจใส่กับลูกอย่างเท่าเทียมกัน ให้ลูกรู้ว่าเขารักและสำคัญกับทั้งพ่อและแม่
  • ใช้เวลาร่วมกัน พยายามหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกทั้งสองคน ให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่ดีกับทั้งพ่อและแม่ อาจจะเป็นการเล่นเกม อ่านนิทาน ไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมที่ลูกชอบ
  • รับฟังและเข้าใจ ตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด พยายามเข้าใจความรู้สึกของลูก และตอบสนองต่อความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม
  • สนับสนุนความสัมพันธ์ที่ดี สนับสนุนให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งพ่อและแม่ อย่ากีดกัน หรือแสดงความไม่พอใจถ้าลูกใกล้ชิดกับอีกคนหนึ่งมากกว่า 

โดยสรุปแล้ว พฤติกรรม ลูกชายติดแม่ ลูกสาวติดพ่อ อาจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาตามธรรมชาติ ซึ่งทฤษฎีปมออดิปุสและอิเล็คตร้าของฟรอยด์ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มุมมองทางจิตวิทยาพัฒนาการในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า ความผูกพันและความชอบของเด็กมีความซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่หลากหลาย 

คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจว่าลูกจะรักใครมากกว่ากัน แค่ให้ความรักและความเข้าใจกับลูกอย่างเต็มที่ก็เพียงพอแล้วค่ะ เพราะการที่ลูกมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัย จะช่วยให้เขามีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ดี เติบโตขึ้นเป็นเด็กที่มีความมั่นใจ และมีความสุข

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : ดร.กิ่ง เลี้ยงลูกพลังบวก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

9 วิธีสร้างสายสัมพันธ์พ่อลูก เคล็ดลับง่ายๆ ทำได้ทุกวันตั้งแต่ในท้อง

7 วิธีสร้างสายสัมพันธ์แม่ลูก เริ่มตั้งแต่แรกเกิด นำทางลูกไปตลอดชีวิต

พ่อที่ดีเป็นแบบไหน? 10 หน้าที่ของพ่อที่ดี ทำสิ่งนี้เพื่อหนูนะพ่อ!