กรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ก่อให้เกิดอันตรายแบบใดบ้าง คุณแม่ควรอ่าน

นอกจากระบบเลือด ABO ที่เรารู้คุ้นเคยแล้ว ยังมีระบบเลือดอีกแบบหนึ่งเรียกว่า RH ซึ่งจะบอกว่าเลือดของเราเป็น บวกหรือเป็นลบ อีกด้วย การที่เลือดของแม่เป็นบวกหรือเป็นลบมีผลอย่างไรกับลูกน้อย มาทำความเข้าใจพร้อมกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ก่อให้เกิดอันตรายแบบใดบ้าง

กรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน

หาก คุณแม่มีกรุ๊ปโลหิตที่ไม่ตรงกับกับลูก ส่งผลให้เกิดอะไรบ้างต้องเช็กอย่างไร วันนี้มีคำตอบ

ปกติที่เราตรวจกรุ๊ปเลือด เราก็จะรู้ว่า กรุ๊ปเลือดของเราคือ กรุ๊ป A, AB, B หรือ O เช่นนี้เรียกว่า ระบบเลือด ABO แต่มีระบบเลือดอีกแบบหนึ่ง คือ ระบบเลือด RH

หากกรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน จะส่งผลอะไรบ้าง

การจำแนกหมู่เลือดระบบ Rh จะตรวจสอบจากสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen-D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่เลือดระบบ Rh(D)  แบ่งออกเป็น 2 หมู่คือ

  1. กรุ๊ปเลือด Rh บวก (Rh positive) ได้แก่ A+, B+, AB+ และ O+ คือ กรุ๊ปเลือดที่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยมีกรุ๊ปเลือด Rh (D) บวกประมาณ 99.7 %
  2. กรุ๊ปเลือด Rh ลบ (Rh negative) ได้แก่ A-, B-, AB- และ O- คือ กรุ๊ปเลือดที่ไม่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยพบว่า มีกรุ๊ปเลือดนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น จึงเรียกว่า "กรุ๊ปเลือดหายาก " หรือ " กรุ๊ปเลือดพิเศษ " นั่นเอง แต่ในชาวยุโรปผิวขาวจะพบ Rh negative ถึง 15%

ถ้ากรุ๊ปโลหิตของแม่กับลูกไม่ตรงกัน คุณแม่ต้องรีบตรวจด่วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อแม่มีกรุ๊ปเลือด RH Negative?

ในกรณีที่แม่มีกรุ๊ปเลือด RH Negative แต่พ่อมีกรุ๊ปเลือด RH Positive ทำให้ลูกมีโอกาสมีกรุ๊ปเลือด RH Positive ซึ่งจะมีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในขณะที่แม่ไม่มี ดังนั้นร่างกายของแม่ก็จะตรวจจับ แอนติเจน-ดี (Antigen-D) ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม และสร้างภูมิต้านทานต่อเม็ดเลือดแดงของลูกขึ้นมา เนื่องจากกรุ๊ปโลหิตของลูกและแม่ไม่ตรงกัน

คุณแม่ต้องเช็กด่วน หากมีกรุ๊ปเลือดกับลูกไม่เข้ากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ร่างกายของแม่จะค่อย ๆ ใช้เวลาในการสร้างภูมิต้านทาน จนในที่สุดจะมีปริมาณภูมิต้านทานต่อแอนติเจน-ดี เกิดขึ้นอย่างมากในกระแสเลือดแม่ แต่ยังไม่พอที่จะทำลายแอนติเจน-ดีได้ เนื่องจากทารกอยู่ในครรภ์แม่เพียง 9 เดือน ลูกคนแรกจึงคลอดออกมาปกติ

แต่หากคุณแม่มีลูกคนที่สองเป็น Rh positive อีก เลือดของแม่ก็จะสร้างภูมิต้านทานต่อเม็ดเลือดแดงของลูกซึ่งมีแอนติเจนขึ้นมาอีก ภูมิต้านทานนี้จะผ่านรกเข้าไปยังกระแสเลือดของลูกทำให้ทารกในครรภ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงของทารกตกตะกอน ลูกคนที่สองจะเป็นโรค Erythroblastosis Fetalis ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางรุนแรง บางรายเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายแล้วแท้ง บางรายที่คลอดออกมาได้ก็จะเป็นโรคโลหิตจางและดีซ่านแล้วเสียชีวิตในภายหลัง ภาวะนี้เรียกว่าการไม่เข้ากันของกรุ๊ปเลือด Rh  (Rh incompatibility)

อันตรายที่เกิดจาก กรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่สามารถป้องกันภาวะกรุ๊ปเลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากันได้หรือไม่?

การป้องกันที่ดีที่สุด คือการไปฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ  หากตรวจพบว่าคุณแม่มี Rh negative คุณหมอจะยาฉีดลดการสร้างภูมิต้านทานต่อเลือดของลูกให้เมื่อตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์หรือหลังคลอดภายใน 72 ชั่วโมง ยานี้มีชื่อว่า Rh immunoglobulin (Rhig) จะทำหน้าที่จับกับแอนติเจน-ดี บนเม็ดเลือดแดงลูก ทำให้ร่างกายแม่ไม่สามารถตรวจจับแอนติเจน-ดี ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมได้ ร่างกายแม่จึงไม่สร้างภูมิต้านทาน ก็จะไม่เกิดอาการกับลูกในครรภ์ต่อๆ มาค่ะ

ที่มา https://pregnancy-pun.blogspot.com/


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

 

เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายต่อแม่และลูกอย่างไร

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

ก่อนผ่าคลอด ต้องทําอะไรบ้าง เตรียมตัวยังไง? รู้ไว้ก็ดีก่อนเข้าห้องผ่าคลอด

การไม่เข้ากันของกรุ๊ปเลือด แม่และลูกในท้องคนละกรุ๊ปเลือด ส่งผลอย่างคาดไม่ถึง

โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา